การบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ


การบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ





การบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ

“น้ำแล้ง”
ฝนหลวง

       ในปี พ.ศ. 2498 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินโดยพระราชพาหนะเครื่องบินพระที่นั่ง เพื่อทรงเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณเทือกเขาภูพาน ทรงเห็นถึงความแห้งแล้งที่ได้ทวีความ รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ โดยน่าจะมีสาเหตุเกิดขึ้นจากการผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ อีกทั้งการตัดไม้ทำลายป่าอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้สภาพอากาศจากพื้นดินถึงระดับฐานเมฆไม่เอื้ออำนวยต่อการกลั่นตัวของไอน้ำที่จะก่อตัวเกิดเป็นเมฆ และทำให้ยากต่อการเหนี่ยวนำให้ฝนตกลงสู่พื้นดินจึงมีฝนตกน้อยกว่าปกติหรือไม่ตกเลย
       พระองค์ทรงสังเกตว่า มีเมฆปริมาณมากปกคลุมเหนือพื้นที่ระหว่างเส้นทางบินแต่ไม่สามารถก่อรวมตัวจนเกิดเป็นฝนตกได้ เป็นเหตุให้เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลายาวนาน ทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน แต่เกิดสภาพความแห้งแล้งทั่วทุกหัวระแหง
       นอกจากนี้ ได้ทรงพบเห็นท้องถิ่นหลายแห่งประสบปัญหาพื้นดินแห้งแล้งหรือการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรมักจะประสบความเดือดร้อนทุกข์ยากมาก เนื่องจากบางครั้งเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงในระยะวิกฤตของพืชผล กล่าวคือหากขาดน้ำในระยะดังกล่าวนี้จะทำให้ผลผลิตต่ำ หรืออาจไม่มีผลผลิตให้เลย รวมทั้งอาจทำให้ผลผลิตที่มีอยู่เสียหายได้ การเช่นนี้เมื่อเกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงในคราใดของแต่ละปี จึงสร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรอย่างใหญ่หลวง
นอกจากนี้ ภาวะความต้องการใช้น้ำของประเทศนับวันจะทวีความต้องการสูงขึ้น ด้วยการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการเพิ่มขึ้นของประชากร ส่งผลให้ปริมาณน้ำจากทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลลดลงอย่างน่าตกใจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานสัมภาษณ์เกี่ยวกับฝนหลวงแก่ข้าราชการสำนักงาน กปร. ประกอบด้วย นายสุเมธ ตันติเวชกุล นายมนูญ มุกข์ประดิษฐ์ และนายพิมลศักดิ์ สุวรรณทัต เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2529 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ความว่า

“...เรื่องฝนเทียมนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2498 แต่ยังไม่ได้ทำอะไรมากมาย
เพราะว่าไปภาคอีสานตอนนั้นหน้าแล้งเดือนพฤศจิกายนที่ไปมีเมฆมาก อีสานก็แล้ง ก็เลยมีความคิด 2 อย่าง
ต้องทำ check dam ตอนนั้นเกิดความคิดจากนครพนม ผ่านสกลนครข้ามไปกาฬสินธุ์
ลงไปสหัสขันธ์ที่เดี๋ยวนี้เป็นอำเภอสมเด็จ ไปจอดที่นั่นไปเยี่ยมราษฎรมันแล้ง มีฝุ่น…”
“....แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ให้ลงมาได้
ก็เคยได้ยินเรื่องทำฝนก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้ มีหนังสือเคยอ่านหนังสือทำได้....”

       นับเป็นต้นกำเนิดแห่งพระราชดำริ “ฝนหลวง” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงค้นพบด้วยพระองค์เองอย่างแท้จริงด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล และพระอัจฉริยภาพของพระองค์ที่ประกอบด้วยคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ จึงทรงสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้นแล้ว จึงได้มีพระราชดำริครั้งแรก ในปีพ.ศ. 2498 แก่ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่าจะทรงค้นหาวิธีการที่จะทำให้เกิด “ฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติ” โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์กับทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดเป็นฝนให้ได้
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสว่า “น้ำ คือ ชีวิต” แม้ว่าประเทศไทยเราได้พยายามอย่างสุดกำลังที่จะทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำของชาติทุกประเภทที่มีอยู่ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าแหล่งทรัพยากรน้ำของประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังอยู่ห่างจากระดับความเพียงพอของความต้องการใช้น้ำของประชากรในประเทศเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีพื้นที่เกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลักใหญ่อยู่อีกถึง 82.6% ดังนั้น จึงทรงคาดการณ์ว่า ก่อนที่จะถึงสภาพที่สุดวิสัยหรือยากเกินกว่าจะแก้ไขได้นั้น ควรจะมีมาตรการหนึ่งที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ จึงพระราชทานพระราชดำริในปี พ.ศ. 2499 แก่ ม.ล.เดช สนิทวงศ์ ว่า “น่าจะมีลู่ทางที่จะคิดค้นหาเทคนิค หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ด้านการดัดแปรสภาพอากาศมาช่วยให้เกิดการก่อและรวมตัวของเมฆให้เกิด ‘ฝน’ ได้”



       การรับสนองพระราชดำริได้ดำเนินการด้วยความร่วมมือระหว่าง ม.ล.เดช สนิทวงศ์ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ และม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ในอันที่จะศึกษาและนำวิธีการทำฝนในต่างประเทศมาประยุกต์ใช้กับสภาพอากาศของเมืองไทย “ฝนหลวง” หรือ “ฝนเทียม” จึงถือกำเนิดขึ้น ภายใต้การพระราชทานข้อแนะนำจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 อย่างใกล้ชิด พร้อมกันนี้ได้มีการจัดตั้งส่วนราชการ “สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง” ขึ้น รับผิดชอบการดำเนินการฝนหลวงในระยะเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน
       ในระยะแรกของการดำเนินการตามพระราชดำรินี้ ข้อมูลหรือหลักฐานที่นำมาทดลองพิสูจน์ยืนยันผลนั้นยังมีน้อยมาก และขาดความเชื่อถือทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยเรายังไม่มีนักวิชาการด้านการดัดแปรสภาพอากาศ หรือนักวิชาการทำฝนอยู่เลย ดังนั้น ในช่วงเริ่มต้นของการทดลองปฏิบัติการฝนหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงได้ทรงติดตามผล วางแผนการทดลองปฏิบัติการ โดยทรงสังเกตจากรายงานแทบทุกครั้งอย่างใกล้ชิด


       วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 นับเป็นประวัติศาสตร์แห่งการทำฝนหลวงของประเทศไทยเพราะเป็นวันปฐมฤกษ์ในการปฏิบัติการทดลองทำฝนเทียมกับเมฆในท้องฟ้าเหนือภาคพื้นดิน บริเวณวนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยการใช้น้ำแข็งแห้ง (dry-ice) โปรยที่ยอดของกลุ่มก้อนเมฆ ปรากฏว่าหลังจากปฏิบัติการประมาณ 15 นาที ก้อนเมฆในบริเวณนั้นเกิดการรวมตัวกันอย่างหนาแน่นจนเห็นได้ชัด สังเกตได้จากสีของฐานเมฆได้เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเทาเข้ม ซึ่งผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ เพียงแต่ยังไม่อาจควบคุมให้ฝนตกในบริเวณที่ต้องการได้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานคำแนะนำเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง อาทิ การเปลี่ยนที่ทดลองไปยังจุดแห้งแล้งอื่น ๆ ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติงานฝนหลวง เมื่อตอนเริ่มต้นต้องพบกับความยากลำบากและอุปสรรคมากมายนานัปการ สิ่งสำคัญคือจะต้องมีสภาพดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการทำฝนทดลอง กล่าวคือ จะต้องดูลักษณะเมฆที่มีศักยภาพที่จะเกิดฝนได้ ซึ่งเมฆในลักษณะเช่นนี้มองเผิน ๆ จะคล้ายขนแกะในท้องฟ้า ถ้าไม่มีก็จำเป็นต้องสร้างให้เกิดเมฆขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความชื้นจะต้องอยู่ในระดับ 70% การปฏิบัติงานจึงจะได้ผล แต่ถ้าความชื้นต่ำลงเท่าใดก็จะยิ่งได้ผลน้อยลงจนไม่คุ้มค่า


       ฉะนั้น การสร้างเมฆก็คือการสร้างความชื้นขึ้นในอากาศนั่นเอง โดยใช้เคมีภัณฑ์หลายชนิดซึ่งได้ทดสอบแล้วว่าได้ผลดี และปลอดภัยต่อมนุษย์มาใช้ในการทำฝนหลวง จากพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เมื่อมีปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการทดลอง จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำแนะนำและมีพระราชดำริเพิ่มเติมในการปรับปรุงหลายประการจนสามารถปฏิบัติการฝนหลวงได้ดี และทรงให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะทรงติดตามการปฏิบัติงานทดลองอย่างใกล้ชิดทุกระยะ และทรงแนะนำฝึกฝนนักวิชาการให้สามารถวางแผนปฏิบัติการอย่างเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของแต่ละท้องถิ่น ในบางครั้งพระองค์ก็ทรงทดลองและควบคุมบัญชาการทำฝนหลวงด้วยพระองค์เอง
ก่อนการทำฝนหลวงแต่ละครั้งจะทรงเตือนให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสภาพอากาศล่วงหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่พืชผลและทรัพย์สินของราษฎร ทรงเร่งให้ปฏิบัติการเมื่อสภาพอากาศอำนวยเพื่อจะได้ปริมาณน้ำฝนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งทรงแนะนำให้ระมัดระวังสารเคมีที่ใช้ปฏิบัติการต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ด้วย จนในที่สุดจากการศึกษาวิจัยเป็นการส่วนพระองค์ในเรื่องเกี่ยวกับกระแสและทิศทางลมในแต่ละพื้นที่แต่ละเวลา มีการทดสอบปรับปรุงหลายประการจนนำไปใช้การได้ดีจนสามารถพระราชทานข้อแนะนำให้ดึงหรือสร้างเมฆได้ ทั้งยังสามารถบังคับเปลี่ยนทิศทางของเมฆให้เกิดฝนตกในบริเวณรับน้ำที่ต้องการ เช่น อ่างเก็บน้ำ ห้วยหนอง คลอง บึง หรือบริเวณใกล้เคียงที่กำหนดไว้
จึงนับว่า “ฝนหลวง” เป็นความสำเร็จที่เกิดจากพระอัจฉริยภาพและความสนพระราชหฤทัยอย่างจริงจังของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยแท้ การพัฒนาค้นคว้าที่เกี่ยวกับฝนหลวงได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้ เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงทำการทดลองวิจัยด้วยพระองค์เอง รวมทั้งได้พระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์เป็นค่าใช้จ่าย เพื่อทำการทดลองปฏิบัติการฝนหลวง ระยะเวลาที่ทรงมานะบากบั่นอดทนด้วยพระวิริยะอุตสาหะนับถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 50 ปี ด้วยพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพที่ทรงสั่งสมจากการทดลองสามารถทำให้กำหนดบังคับฝนให้ตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายได้สำเร็จกลายเป็นหลักแนวทางให้นักวิชาการฝนหลวงในปัจจุบัน ได้ทำการศึกษาวิจัยอย่างมีระเบียบและเป็นระบบวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง





พระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ถึงกลยุทธ์การพัฒนาโครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง”
       1. ทรงเน้นถึงความจำเป็นในด้านพัฒนาการ และการดำเนินการปรับปรุงวิธีการทำฝนในแนวทางของการออกแบบการปฏิบัติการ การติดตามและประเมินผลที่มีลักษณะเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
       2. ทรงย้ำถึงบทบาทของการดัดแปรสภาพอากาศ หรือการทำฝนว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอันหนึ่งในกระบวนการจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำ เช่น การเพิ่มปริมาณน้ำให้แก่แหล่งเก็บกักน้ำต่าง ๆ การบรรเทาปัญหามลภาวะ และการเพิ่มปริมาณน้ำเพื่อสาธารณูปโภค เป็นต้น
       3. ทรงเน้นว่าความร่วมมือประสานงานอย่างเต็มที่ระหว่างหน่วยงานและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ที่จะเป็นกุญแจสำคัญในอันที่จะทำให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้

ดุจสิ่งมหัศจรรย์..... เพาะเมฆให้เกิดฝน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงวิเคราะห์กรรมวิธีที่จะทำการผลิตฝนหลวงว่ามีขั้นตอนที่สามารถเข้าใจกันได้ง่าย 3 ขั้นตอน คือ

• ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน
       โดยการใช้สารเคมีไปกระตุ้นมวลอากาศทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้าหมาย ให้เกิดการลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบนรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเมฆฝน ขั้นตอนแรกนี้เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การทำฝนหลวงในขั้นตอนนี้จึงมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้นอากาศให้เกิดการลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำหรือความชื้นเข้าสู่ระดับการเกิดเมฆ
เมื่อเมฆเริ่มเกิดมีการก่อรวมตัวและเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคายความร้อนโปรยเป็นวงกลมหรือเป็นแนวถัดมาทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้น ๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดก้อนเมฆเป็นกลุ่มแกนร่วมในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติการ สำหรับใช้เป็นแกนกลางในการสร้างกลุ่มเมฆฝนในระยะต่อมาการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวงในขั้นแรกนี้ก่อนดำเนินการจะต้องทำการศึกษา ข้อมูลสภาพอากาศ และกำหนดพื้นที่เป้าหมายในแต่ละวันโดยใช้ทิศทางและความเร็วของลมเป็นตัวกำหนดบริเวณหรือแนวพิกัดที่จะโปรยสารเคมี

       การทำฝนหลวง ซึ่งจะต้องกระทำด้วยความชำนาญควบคู่ไปกับการคำนึงถึงระดับความสูงผนวกกับอัตราการโปรยสารเคมี รวมถึงลักษณะของแนวโปรยสารเคมีด้วย หากแต่ละวันมีลักษณะข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป ก็ย่อมทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติงานแต่ละครั้งด้วย

• ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน
       เป็นขั้นตอนสำคัญมากในการปฏิบัติการฝนหลวง เนื่องจากเป็นระยะที่เมฆกำลังก่อตัวเจริญเติบโต จึงใช้ความรู้ทางเทคโนโลยี และประสบการณ์ผสมผสานกลยุทธ์ในเชิงศิลปะแห่งการทำฝนหลวงควบคู่ไปพร้อมกัน เพื่อตัดสินใจโปรยสารเคมีฝนหลวงที่ทรงค้นคว้าขึ้นมา โดยไม่มีสารอันเป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติงานต้องพิจารณาอย่างถ่องแท้ว่าจะใช้สารเคมีชนิดใดและอัตราใดจึงจะเหมาะสม ในการตัดสินใจโปรยสารเคมีฝนหลวง ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ เพื่อให้สัมฤทธิผลที่จะทำให้ก้อนเมฆขยายตัวหรืออ้วนขึ้น และป้องกันไม่ให้ก้อนเมฆสลายตัวให้จงได้ การวางแผนปฏิบัติการในขั้นตอนนี้จำต้องอาศัยข้อมูล และความต่อเนื่องจากขั้นตอนที่หนึ่งประกอบการพิจารณา ด้วยการสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพเมฆที่เกิดขึ้น

• ขั้นตอนที่ 3 โจมตี
       เมื่อกลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ โดยภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย สังเกตได้ถ้าหากเครื่องบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้แล้ว จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีกและกระจังหน้าของเครื่องบิน ดังนั้นขั้นตอนสุดท้ายจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดเพราะจะต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์เป็นอย่างมาก เหนือสิ่งอื่นใดต้องรู้จักใช้เทคนิคในการทำฝนหลวงซึ่งพระองค์ท่านทรงให้ข้อคิดว่าจะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวงด้วยว่า ในการทำฝนหลวงของแต่ละพื้นที่นั้นต้องตอบสนองความต้องการอันแท้จริงของราษฎรใน 2 ประเด็น คือ
       - เพื่อเพิ่มปริมาณฝนตกให้กับพื้นที่ (Rain Enhancement)
       - เพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain Distribution)

       ซึ่งทั้ง 2 วัตถุประสงค์นี้ได้เป็นแนวทางในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของพสกนิกรให้คลายความเดือดร้อนยามขาดแคลนน้ำเรื่อยมาตราบเท่าทุกวันนี้เพราะความต้องการน้ำของมนุษยชาตินับวันแต่จะทวีขึ้นอย่างเกินคาด สืบเนื่องมาจากผลกระทบที่เกิดจากปฏิกิริยาเรือนกระจกของโลก (Greenhouse Effect) ทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลดังเช่นเคย
       ในอดีตฝนหลวงกับการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนหลังจากที่ทรงประสบผลสำเร็จ และมีการยอมรับจากทั้งภายใน และต่างประเทศแล้วนั้น ปริมาณความต้องการฝนหลวงเพื่อช่วยพื้นที่เกษตรกรรมและการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคได้รับการร้องเรียนขอความช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้น เห็นได้ชัดในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2520-2534 มีการร้องเรียนขอฝนหลวงเฉลี่ยถึงปีละ 44 จังหวัด ซึ่งทรงพระเมตตาอนุเคราะห์ช่วยเหลือเกษตรกรไทยในการบรรเทาการสูญเสียทางเศรษฐกิจให้ประสบความเสียหายน้อยที่สุด
       นอกจากนี้ประโยชน์สำคัญที่ควบคู่ไปกับการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเกษตรกรรม และการอุปโภคบริโภค ก็คือ เป็นการช่วยเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้แก่อ่างและเขื่อนกักเก็บน้ำเพื่อการชลประทานและผลิตกระแสไฟฟ้า แหล่งน้ำและต้นน้ำลำธารธรรมชาติอีกทั้งยังเป็นการช่วยทำนุบำรุงป่าไม้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ความชุ่มชื้นที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากฝนหลวงจะช่วยลดการเกิดไฟป่าได้เป็นอย่างมาก ฝนหลวงได้เข้ามามีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในการบรรเทามลภาวะที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของเราหลายประการ อาทิ ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในแม่น้ำลำคลอง โรคระบาด อหิวาตกโรค และการระบาดของศัตรูพืชบางชนิด เป็นต้น






บทบาท “ฝนหลวง” วันนี้
       เริ่มจากแก้ไข “ภัยแล้ง” ก้าวไปสู่การบรรเทา “สาธารณภัย” และเพิ่มพูน “เศรษฐกิจ” กล่าวคือ “ฝนหลวง” มีส่วนช่วยเหลือการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยหลายประการดังนี้

1. ด้านการเกษตร
       มีการร้องขอฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงยาวนานซึ่งมีผลกระทบต่อแหล่งผลิตทางการเกษตรที่กำลังให้ผลผลิต เช่น แถบจังหวัดจันทบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เป็นจำนวนมากหลายราย ซึ่งได้พระราชทานความช่วยเหลือเสมอมา

2. เพื่อการอุปโภค บริโภค
       ช่วยในการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำภายใต้พื้นดินของภาคอีสานมีแหล่งหินเกลือเป็นจำนวนมากและครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ดังนั้น อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กและขนาดกลางที่ไม่มีทางระบายออก หากมีปริมาณน้ำเหลือน้อย น้ำจะกร่อยหรือเค็มได้ เพราะหินเกลือที่อยู่ด้านล่างเกิดมีการละลายแล้วลอยตัวเคลื่อนที่ขึ้นมาบนผิวดิน

3. เสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำ
       ระดับน้ำในแม่น้ำลดต่ำลง บางแห่งตื้นเขินจนไม่สามารถสัญจรไปมาทางเรือได้ เช่น ทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบางตอน ในปัจจุบันการทำฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้กับบริเวณดังกล่าวจึงนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะการขนส่งสินค้าทางน้ำเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าทางอื่น และการจราจรทางบกนับวันจะมีปัญหารุนแรงมากขึ้นทุกขณะ

4. ป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม
       ขยะมูลฝอยที่ผู้คนทิ้งลงในสายน้ำกันอย่างมากมายนั้น ปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะช่วยผลักดันออกสู่ท้องทะเล ทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลดลง ซึ่งสังเกตเห็นได้ชัดเจนมากจากขยะมูลฝอย และกระแสน้ำเสียต่างสีในบริเวณปากน้ำจนถึงเกาะล้านเมืองพัทยา

5. เพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
       ฝนหลวงได้มีส่วนในการเพิ่มปริมาณน้ำให้เพียงพอต่อการใช้พลังน้ำ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ามิให้การพัฒนาด้านต่าง ๆ เกิดการสะดุดหยุดชะงักลงและสามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่นมั่นคง สามารถเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลได้ถึง 5,275.63 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยที่ปริมาณน้ำก่อนปฏิบัติการฝนหลวงเหลือเพียง 4,033.30 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งนับว่าทำให้กำลังผลิตสำรองกระแสไฟฟ้าที่ใช้ได้ในปีนี้อยู่ในเกณฑ์ที่เพียงพอ

ฝนหลวงในอนาคต
       การทำฝนหลวงในปัจจุบันโดยใช้วิธีการโปรยสารเคมีจากเครื่องบินเพื่อเร่งหรือเสริมการก่อตัวและการเจริญเติบโตของเมฆ และโจมตีกลุ่มเมฆฝนให้เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายที่ต้องการนั้นบางครั้งก็ประสบปัญหาที่ไม่สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนกรรมวิธีให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น ในขั้นโจมตีให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายไม่สามารถกระทำได้
       เนื่องจากฝนตกปกคลุมสนามบินเกิดลมพายุปั่นป่วนและรุนแรง เครื่องบินไม่สามารถขึ้นปฏิบัติการได้ทำให้กลุ่มเมฆเคลื่อนที่พันพื้นที่เป้าหมาย จากปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จึงได้มีการค้นคว้าวิจัยทดลองกรรมวิธีทำฝนขึ้นเพื่อพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาพระราชทานแนวความคิดในการวิจัยพัฒนาฝนหลวงเพื่อเกษตรกรหลายประการ คือ

       ประการแรก สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมีจากพื้นดินเข้าสู่เมฆ หรือยิงจากเครื่องบินซึ่งได้มีการทดลองแล้วมีความก้าวหน้าขึ้นมาเป็นลำดับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาพระราชทานแนวความคิดในการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาในการใช้เครื่องบินทำฝนหลวง ด้วยการให้ทำการวิจัยสร้างจรวดบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดินเข้าสู่ก้อนเมฆหรือยิงจากเครื่องบิน

       ประการที่สอง คือ การใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรงกำลังสูงจากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ตามปกติมักลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่นจนเกิดฝนตกลงสู่บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา

       ประการสุดท้าย คือ การทำฝนในเมฆเย็นจัด (Supercooled Cloud) โดยใช้สารที่ทำให้เกิดฝนในกลุ่มเมฆเย็นจัด (ที่อยู่สูงเกินกว่า 18,000 ฟุต) ให้สารนี้เป็นตัวเกิดหรือเร่งเร้ากระตุ้นกลไกของการเกิดผลึกน้ำแข็งในก้อนหรือกลุ่มเมฆนั้น การวิจัยนี้อยู่ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศประยุกต์ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือของรัฐบาลไทยและอเมริกาตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา

“ฝนหลวง” จึงนับว่าเป็นที่พึ่งของเกษตรกรยามเกิดภัยแล้งได้อย่างแท้จริง และได้ก้าวเข้ามามีส่วนช่วยเหลือประเทศชาตินานาประการจนมิอาจกล่าวได้หมดสิ้น

“ฝนหลวง” กับรางวัลแห่งพระอัจฉริยภาพ
       ในงานบรัสเซลส์ ยูเรกา 2001 พระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตานานาประเทศอีกครั้ง โดย “ผลงานประดิษฐ์คิดค้นโครงการฝนหลวง” ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล D’Un Concept Nouveau de Development de la Thailande พร้อมถ้วยรางวัลทำด้วยเงิน มอบแก่ผลงานที่เกิดจากแนวคิดใหม่ในการพัฒนาประเทศไทย รางวัล Gold medal with mention หรือรางวัลสรรเสริญพระอัจฉริยภาพแห่งการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมประกาศเกียรติคุณเทิดพระเกียรติ และถ้วยรางวัล SPECIAL PRIX for His Majesty The King of Thailand พร้อมประกาศนียบัตร




“น้ำท่วม”
แก้มลิง

       ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตมรสุม มีฝนตก และปริมาณน้ำฝนสูง ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมอยู่ในหลายพื้นที่เกือบทุกภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงห่วงใยในปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้ทรงวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม และได้ทรงคำนึงถึงการเลือกใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแต่ละท้องที่ รวมไปถึงสมรรถนะกำลังของเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ ตลอดจนไปถึงงบประมาณค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย

วิธีการต่าง ๆ ที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม คือ
1. การก่อสร้างคันกั้นน้ำ
       เพื่อป้องกันน้ำท่วมซึ่งเป็นวิธีการดั้งเดิมแต่ครั้งโบราณโดยการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำขนาดที่เหมาะสมขนานไปตามลำน้ำห่างจากขอบตลิ่งพอสมควร เพื่อป้องกันมิให้น้ำล้นตลิ่งไปท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ ด้านใน

2. การก่อสร้างทางผันน้ำ
       เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งท่วมท้นเข้ามาให้ออกไป โดยการก่อสร้างทางผันน้ำหรือขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับลำน้ำที่มีปัญหาน้ำท่วมโดยให้น้ำไหลไปตามทางผันน้ำที่ขุดขึ้นใหม่ไปลงลำน้ำสายอื่นระบายออกสู่ทะเลตามความเหมาะสม

3. การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ
       เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไปตามลำน้ำได้สะดวกอันเป็นการช่วยให้กระแสน้ำไหลเร็วยิ่งขึ้นบรรเทาความเสียหายจากน้ำท่วมขังได้

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามพระราชดำริ “แก้มลิง”
       จากสภาพธรรมชาติดั้งเดิมของกรุงเทพมหานครมีลักษณะลุ่มต่ำทำให้มีการระบายน้ำยามเกิดภาวะน้ำท่วมให้ออกจากพื้นที่เป็นไปอย่างล่าช้า คูคลองจำนวนมากมีความลาดเทน้อยอีกทั้งมีจำนวนหลายคลองที่ลำน้ำตื้นเขิน มีวัชพืชปกคลุมกีดขวางทางน้ำไหล ทำให้เกิดเป็นสาเหตุในหลายปัจจัยของการเกิดน้ำท่วมขังในกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑลเป็นระยะเวลายาวนานในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานแนวพระราชดำริให้มีระบบการบริหารจัดการด้านน้ำท่วม ในวิธีการที่ตรัสว่า “แก้มลิง” ซึ่งได้พระราชทานพระราชอรรถาธิบายว่า

“...ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน
ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อยๆ นำออกมาเคี้ยว และกลืนกินภายหลัง...”

(พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงอธิบายแนวพระราชดำริแก้มลิง
ซึ่งใช้แก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ เมื่อพุทธศักราช 2538)

เปรียบเทียบได้กับเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองต่าง ๆ เพื่อชักแม่น้ำให้มารวมกันแล้วนำมาเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำอันเปรียบได้กับแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเลเมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง

ประเภทและขนาดของแก้มลิง
1. แก้มลิงขนาดใหญ่ ( Retarding Basin) คือ
       สระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ ที่รวบรวมน้ำฝนจากพื้นที่บริเวณนั้น ๆ โดยจะกักเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะระบายลงสู่ลำน้ำ พื้นที่เก็บกักน้ำจะมีหลายประเภท คือ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝาย ทุ่งเกษตรกรรม เป็นต้น

2. แก้มลิงขนาดกลาง
       เป็นพื้นที่ชะลอน้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ได้มีการก่อสร้างในระดับลุ่มน้ำ ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ธรรมชาติ เช่น หนอง บึง คลอง เป็นต้น

3. แก้มลิงขนาดเล็ก (Regulating Reservoir) คือ
       แก้มลิงที่มีขนาดเล็กกว่า อาจเป็นพื้นที่สาธารณะ สนามเด็กเล่น ลานจอดรถ หรือสนามในบ้าน ซึ่งต่อเข้ากับระบบระบายน้ำหรือคลอง แก้มลิงที่อยู่ในพื้นที่เอกชน เรียกว่า “แก้มลิงเอกชน” ส่วนที่อยู่ในพื้นที่ของราชการและรัฐวิสาหกิจจะเรียกว่า “แก้มลิงสาธารณะ”

ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง
       1. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออกซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ แก้มลิง ต่อไป
       2. เมื่อระดับน้ำทะเลลดลงต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ให้ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
       3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ “แก้มลิง” นี้ ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อย ๆ ไหลมาเองตลอดเวลาส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
       4. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลอง ให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำย้อนกลับ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว (One Way Flow)

หลักการ 3 ประเด็น ที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือ
       1. การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพัก และวิธีการชักน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
       2. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
       3. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง

       จากหลักการข้างต้น การสนองพระราชดำริจึงดำเนินการพิจารณาจากการใช้ลำคลองหนองบึงธรรมชาติ หรือพื้นที่ว่างเปล่านำมาใช้เป็นบ่อพักน้ำแหล่งน้ำที่จะนำน้ำเข้าบ่อพัก และระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ซึ่งผลการดำเนินการศึกษาและพิจารณากำหนดรูปแบบของโครงการแล้วสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ

1. โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ทำการรับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา นับตั้งแต่จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานครมาตามคลองสายต่าง ๆ โดยใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือรับน้ำ

2. โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพมหานคร และสมุทรสาคร ไปลงคลองมหาชัย สนามชัย และแม่น้ำท่าจีน เพื่อระบายออกสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร

โครงการแก้มลิง “แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง” จะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ 3 โครงการ ด้วยกัน คือ
       1. โครงการแก้มลิง “แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง”
       2. โครงการแก้มลิง “คลองมหาชัย-คลองสนามชัย”
       3. โครงการแก้มลิง “คลองสุนัขหอน”

โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตรหมายอันเป็นสิ่งที่ชาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจากทุกข์ภัย ที่นำความเดือดร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย ซึ่งแนวพระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า

“... ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป
เพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่…”




ประโยชน์ของโครงการแก้มลิง
       แก้มลิง เป็นโครงการอเนกประสงค์สำคัญยิ่ง เพราะไม่เพียงแต่ช่วยบรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเท่านั้น แต่ยังช่วยระบายน้ำจากภาคเหนือลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกและการสูบน้ำที่เหมาะสม ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำตามคูคลองธรรมชาติในช่วงฤดูฝนอีกด้วย
       นอกจากนี้โครงการแก้มลิงยังช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มในช่วงฤดูแล้ง ไม่ให้น้ำเค็มจากทะเลไหลเข้าสู่แม่น้ำลำคลองและพื้นที่การเกษตร รวมทั้งแก้มลิงยังสามารถเก็บกักน้ำจืดไว้ด้านเหนือปรตูระบายน้ำ ประชาชนจึงสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภคอีกด้วย ที่สำคัญโครงการแก้มลิงยั่งมีส่วนสำคัญในการช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ในแก้มลิงต่าง ๆ เมื่อถูกระบายสู่คูคลอง จะไปช่วยขจัดน้ำเน่าเสียให้เจือจางลง กระทั่งผลักดันให้น้ำเน่าเสียเดิมที่มีอยู่ ถูกระบายออกไปได้ในที่สุดด้วยพระปรีชาญาณ และพระหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ “โครงการแก้มลิง” จึงเกิดขึ้น ช่วยบรรเทาวิกฤต และความเดือดร้อนจากน้ำท่วมรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้เบาบางลงไปได้ โดยอาศัยเพียงแค่วิธีการทางธรรมชาติ

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ กับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ

       ตลอดระยะเวลา 70 ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติ พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ และครอบคลุมการพัฒนาเกือบทุกแขนง ทั้งในด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ โครงการทางด้านการเกษตร โครงการทางด้านพลังงาน ฯลฯ หลายพันโครงการ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาแหล่งน้ำนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สนพระราชหฤทัยทัยและทรงเชี่ยวชาญเรื่องการบริหารจัดการน้ำเป็นอย่างมาก
       อย่างไรก็ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเหล่านี้นับตั้งแต่เริ่มแรกก็เป็นการดำเนินการที่ควบคู่ไปกับรัฐบาล โดยระมัดระวังไม่ให้ซ้ำซ้อนกับงานพัฒนาของรัฐบาล ซึ่งในประเด็นนี้พลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์ ได้เสนอความเห็นโดยสรุปว่า “เกิดจากการที่พระองค์ได้ทรงงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และเริ่มทรงงานจากโครงการขนาดเล็ก อันเป็นการช่วยเสริมช่องว่างของรัฐบาลด้วย” หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จนิวัติประเทศไทยแล้ว พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรดูแลทุกข์สุขเพื่อทรงทราบถึงต้นเหตุแห่งปัญหา จึงได้เสด็จฯไปตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ

       การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินหรือแปรพระราชฐานไปตามจังหวัดต่าง ๆ นั้น หม่อมราชวงศ์ศึกฤทธิ์ ปราโมช เคยกล่าวไว้ว่า “พระองค์ท่านไปตั้งออฟฟิศเล็ก ๆ เพื่อทรงดูแลประชาชนรอบ ๆ ที่ประทับ พระราชกรณียกิจในช่วงเริ่มแรกพระองค์ไม่ได้สนพระราชหฤทัยในเรื่องใหญ่โตมากนัก แต่ทรงมองว่าตรงจุดไหนมีเรื่องให้พระองค์ทรงช่วย พระองค์ก็จะทรงช่วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีวิธีของพระองค์เอง ทรงทอดพระเนตร ทรงศึกษา และสอบถามจากชาวบ้าน ตรวจสอบแผนที่ เรียกเจ้าหน้าที่มาถาม แล้วจึงทรงคิดออกมาเป็นแผนงาน จากนั้นจะทรงเรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาดู เมื่อเห็นว่าสามารถทำโครงการพัฒนาเหล่านั้นได้ จึงทรงตัดสินพระทัยที่จะทำ สภาพัฒน์ฯ จะคอยถวายรายงานว่า โครงการพัฒนาที่จะทรงทำนั้น เป็นโครงการที่ตรงกับรัฐบาลหรือไม่ ถ้ารัฐบาลทำจะทรงเลี่ยงมาทำเรื่องเล็ก ๆ ที่ไม่ซ้ำซ้อนกัน”
       แต่หากเป็นเรื่องใหญ่ หรือเป็นโครงการที่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก พระองค์จะทรงให้สภาพัฒน์ฯ ไปเสนอต่อรัฐบาล เพราะฉะนั้นแต่ละโครงการจึงไม่ซ้ำกัน เรียกได้ว่าพระองค์ทรงทำงานของพระองค์ รัฐบาลก็ทำงานของรัฐบาล นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังทรงระวังพระองค์เองว่า โครงการพัฒนาต่าง ๆ ตามพระราชดำรินั้นต้องไม่ใช่เป็นการไปแย่งงานของรัฐบาล แต่เป็นการช่วยเสริมช่องว่าง
       เดิมทีโครงการตามพระราชดำริต่าง ๆ เหล่านี้ใช้งานจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ต่อมาจึงมีการจัดตั้ง “มูลนิธิชัยพัฒนา” ขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่าเงินของราชการนั้นเป็นเงินงบประมาณ ซึ่งจะหมดในปลายปี เมื่อรัฐไม่มีค่าใช้จ่ายในการทำงานต่าง ๆ มูลนิธิจึงจะเข้ามาช่วยเหลือด้วยการให้ยืมเงินไปทำงานก่อน หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 นั้นจะทรงถือหน้าที่เป็นสำคัญ ไม่ได้ถือเรื่องตำแหน่งหรือยศของคนทำงาน การทรงงานของพระองค์นั้นเปรียบได้กับเรือลำหนึ่งที่มีเรือเอกเป็นกัปตัน แต่ถ้าเรือลำนั้นใช้เครื่องยนต์ปรมาณู คนที่รู้เรื่องเครื่องยนต์อาจเป็นจ่า แต่ก็ต้องฟังเรือเอกว่าจะให้เลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา จะหยุดหรือยิงอย่างไร เป็นการทำงานด้วยหน้าที่ พระองค์จะทรงละเอียดอ่อนเรื่องนี้ ซึ่งทำให้สามารถดำเนินพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาได้อย่างราบรื่น





เขื่อน
แนวพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและเขื่อน

       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 “พระองค์ทรงเริ่มโครงการพัฒนาจากการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทั่วประเทศ ทรงรับทราบปัญหาสำคัญเรื่องการขาดแคลน “แหล่งน้ำ” ของพสกนิกรส่วนใหญ่ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้น การแปรพระราชฐานไปที่ใดก็ตามพระองค์จะสนใจแต่เรื่องน้ำเป็นหลัก เพื่อหาทางให้มีการชลประทานไปสู่พื้นที่ที่ราษฎรเพาะปลูก และหากพบว่ามีแหล่งน้ำที่ใด พระองค์ก็จะทรงส่งเสริมให้มีการสร้างฝาย สร้างเขื่อน และด้วยเหตุนี้พระองค์จึงให้ความสนพระทัยในเรื่องเขื่อนด้วย ทรงสนพระทัยว่าเขื่อนขนาดนี้ สูงเท่านี้ ควรจะมีเครื่องผลิตไฟฟ้าและจ่ายไฟอย่างไร ทรงเข้าพระทัยดีแม้กระทั่งว่าพื้นที่อ่างน้ำขนาดเท่านี้จะโดนแดดส่งลงมาน้ำระเหยไปเท่าไร ทรงเคยรับสั่งว่า โครงการทฤษฎีใหม่ที่ว่าให้มีการขุดบ่อน้ำ พื้นที่เท่านี้มีน้ำเท่านี้ ถ้าราษฎรไม่ใช้น้ำในอ่างภายในเวลาเท่าไร น้ำจะระเหยไปหมด เพราะฉะนั้นตอนน้ำเต็มอ่างก็ควรใช้ประโยชน์เสียก่อนที่น้ำจะระเหยไปในอากาศหมด
       อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงไม่ได้เจาะจงเรื่องการใช้น้ำเพียงอย่างเดียว ทรงเข้าใจระบบของการไฟฟ้าอย่างดีไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอนการผลิตไฟฟ้า เรื่องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และยังทรงรู้ลึกไปกว่านั้น คือการพระราชทานแนวพระราชดำริในการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในการผลิตไฟฟ้าด้วย
       อีกทั้งในการก่อสร้างเขื่อนแต่ละครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จะทรงให้ความสำคัญกับเรื่องการย้ายชาวบ้าน ทรงกำชับว่าต้องหางบประมาณเพื่อจ่ายค่าตอบแทนชาวบ้านอย่างเป็นธรรม ประชาชนที่จะต่อต้าน พอรู้ว่าเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ก็ยอมทำตามพระราชประสงค์ ยกตัวอย่างเช่น การสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หากให้ทางราชการเป็นผู้สร้าง เชื่อว่าอีก 100 ปีก็อาจยังคงไม่ได้สร้าง เพราะผู้ที่อยู่อาศัยคงไม่ยอมย้ายออก แต่เมื่อเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของกโครงการ ทุกคนจึงเชื่อและรับสนองพระราชดำริ ไม่แต่เฉพาะเรื่องเขื่อนเท่านั้น เรื่องอื่น ๆ ประชาชนชาวไทยก็อาศัยพระบารมีของพระองค์เช่นกัน เรียกว่าด้วยพระบารมีสามารถเปลี่ยนเรื่องใหญ่ให้จบลงได้ในวันเดียว

ต้นกำเนิดของเขื่อน..สำหรับผลิตไฟฟ้า
       เดิมทีประเทศไทยมีโรงงานผลิตไฟฟ้าวัดเลียบ และโรงไฟฟ้าสามเสน ใช้ฟืนและแกลบเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เมื่อครั้งสงครามที่ข้าวเปลือกขายไม่ได้ราคา ก็เคยใช้ข้าวเปลือกเหล่านี้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้ามาแล้ว แต่ไฟฟ้าก็ยังไม่พอใช้ ต้องดับไฟเป็นเขต ๆ ทุกวัน เมื่อมีพระราชบัญญัติการไฟฟ้ายันฮีในปี พ.ศ. 2500 จึงก่อให้เกิดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตขึ้น มีการก่อสร้าง “เขื่อนภูมิพล” หรือชื่อเดิมว่า “เขื่อนยันฮี” ซึ่งเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และแทบจะใหญ่ที่สุดในเอเชียในเวลานั้น ซึ่งในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงครองราชย์มาได้ 11 ปี จึงเรียกได้ว่าพัฒนาการของเขื่อนผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยนั้นมีระยะเวลาที่เท่า ๆ กับการครองราชย์ของพระองค์
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังทรงสนพระทัยเรื่องเขื่อนภูมิพลเสมอ เคยรับสั่งด้วยความเป็นห่วงว่า “วันหนึ่งถ้าตะกอนจะเต็มแล้วจะทำอย่างไร” กฟผ.ก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน แม้ตามหลักวิชาการแล้วไม่น่าจะเต็ม ตรัสว่า “ถ้าไม่คิดไว้ก่อน บอกว่ายังไม่ถึงเวลาคิด ถ้าถึงเวลาแล้วจะคิดออกไหม” เมื่อกราบบังคมทูลไปว่าคิดออก พระองค์ท่านก็ตรัสว่า “ถ้าคิดออกให้เขียนไว้ในกกระดาษ แล้วเอาไปใส่ในไหไปฝังไว้เป็นลายแทง เผื่อว่าอีก 400 ปีจะมีใครมาขุดเอาไปใช้ เพราะว่าเขื่อนมันเต็ม” ซึ่งในความเป็นจริง คำว่าเต็มนี้ไม่ได้หมายถึงต้องเต็มตัวเขื่อน แค่เต็มที่ระยะ 230 เมตร ในระดับ ELEVATION เป็นระดับปากท่อที่จะปล่อยน้ำลงปั่นเครื่องปั่นไฟ ซึ่งน้ำก็จะไม่เข้าท่อแล้ว เพราะฉะนั้นอายุของเขื่อนก็จะหมดตรงนั้น กฟผ. จึงได้ไปทำการวิจัยว่าตะกอนที่ตกมาแล้ว ตกตรงไหนบ้าง ปรากฏว่าว่ามันยังตกมาไม่ถึงตัวเขื่อน ก็ไปกราบทูลให้ทรงทราบ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นห่วงอยู่เสมอ ไม่ใช่ว่าทำเสร็จแล้วก็ปล่อยไป

หลักในการจัดทำโครงการพัฒนา
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จะทรงคำนึงถึงประโยชน์สุขของราษฎรเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นเพียงคนกลุ่มเล็ก ๆ หรือมีจำนวนน้อยแค่ไหน เช่น เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ไปเปิด “เขื่อนจุฬาภรณ์” ซึ่งก็เป็นที่ประหลาดว่า ไม่ว่าฝนจะตกฟ้าจะร้อง ถ้าพระองค์เสด็จฯ มาถึง ฟ้าจะเปิดทุกที คืนนั้นหลังจากทรงเปิดเขื่อนแล้ว ได้ทรงประทับแรมที่เขื่อนด้วยทรงมีรับสั่งว่า หมู่บ้านใต้เขื่อนจุฬาภรณ์ไม่มีน้ำ ให้ กฟผ. ไปดูว่าสามารถช่วยอะไรชาวบ้านได้บ้าง
ซึ่งที่มาที่ไปดังกล่าวพลอากาศตรี กำธน กล่าวว่า “ในการสร้างเขื่อนจุฬาภรณ์นั้น ชาวบ้านหลายคนเชื่อว่า กฟผ. เก็บน้ำของชาวบ้านเอาไว้ ทั้งที่จริง ๆ แล้วเขื่อนเก็บน้ำส่วนเกินในหน้าฝน” พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้ไปสร้างเขื่อนอีกแห่งเพื่อให้ชาวบ้านมีน้ำไว้ใช้ กฟผ. รับสนองพระราชประสงค์ โดยสร้างเขื่อน “ห้วยกุ่ม” สร้างเสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ก็เสด็จฯ พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิด ผู้ว่าการ กฟผ. ในเวลานั้นกราบบังคมทูลว่า ‘เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่เสด็จฯ มาเปิดเขื่อนเล็ก ๆ’ พระองค์ท่านเหลียวกลับมาบอกว่า “นี่เขื่อนใหญ่ที่สุดของฉันแล้ว”

ในหลวง รัชกาลที่ 9 กับ 7 เขื่อน โครงการพระราชดำริ
1. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
       เป็นเขื่อนกักเก็บน้ำที่ใหญ่ ยาว ลึก ที่สุดในประเทศไทย ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในลุ่มแม่น้ำป่าสัก และลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 2 ธันวาคม 2537 โดยกรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบ สืบเนื่องจากปัญหาการเกิดน้ำท่วมในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักในฤดูน้ำหลาก และขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน อันเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงพระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมถึงการสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และในวันที่ 7 ตุลาคม 2541 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามเขื่อนแห่งนี้ว่า “เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อันหมายถึง เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
       ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทำพิธีเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542

2. เขื่อนขุนด่านปราการชล
       ชื่อเดิมเรียกว่า “เขื่อนคลองท่าด่าน” เป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัดยาวที่สุดในประเทศไทยและในโลก ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก กั้นแม่น้ำนครนายก สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อเก็บกักน้ำในช่วงหน้าฝนไว้ในหน้าแล้ง และควบคุมไม่ให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร ไร่นาและพื้นที่การเกษตรในหน้าฝน โดยสร้างครอบฝายท่าด่านเดิม
       ตัวเขื่อนขุนด่านปราการชลประกอบด้วยเขื่อนหลักและเขื่อนรองสร้างด้วยคอนกรีตบดอัด ปัจจุบันเป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัดที่มีความยาวที่สุดในโลก มีความยาวรวม 2,720 เมตร ความสูง (สูงสุด) 93 เมตร รับน้ำที่ไหลจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ผ่านน้ำตกเหวนรกลงสู่อ่างเก็บน้ำ มีความจุ 224 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยทำให้มีน้ำในการทำเกษตรกรรม การอุปโภคบริโภค แก้ปัญหาดินเปรี้ยว เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา และบรรเทาอุทกภัย เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของนครนายก

3. เขื่อนรัชชประภา
       ชื่อเรียกดั้งเดิมว่า “เขื่อนเชี่ยวหลาน” เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของภาคใต้ อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อก่อนสร้างแล้วเสร็จได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “เขื่อนรัชชประภา มีความหมายว่า แสงสว่างแห่งราชอาณาจักร”
เขื่อนรัชชประภา เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคใต้ ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ระบบไฟฟ้า และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศชาติ นอกจากนี้ยังเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ในปี 2530 และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ในปี 2531

4. เขื่อนเจ้าพระยา
       เขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่บริเวณคุ้งบางกระเบียน หมู่ที่ 4 ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดเขื่อนเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2500 ทัศนียภาพรอบเขื่อนสวยงาม ช่วงเดือนมกราคมในบริเวณแม่น้ำเหนือเขื่อนจะมีฝูงนกเป็ดน้ำนับหมื่นมาอาศัยหากิน เขื่อนนี้ใช้ประโยชน์ด้านการชลประทาน การทดน้ำเพื่อการเกษตร โดยระบายน้ำจากแม่น้ำในภาคเหนือสู่ภาคกลางและอ่าวไทย ส่งน้ำไปในพื้นที่เพาะปลูกภาคกลางเข้าคลองส่งน้ำสายใหญ่รวม 5 สาย คือ แม่น้ำน้อย แม่น้ำท่าจีน คลองมะขามเฒ่า - อู่ทอง คลองชัยนาท - ป่าสัก และคลองชัยนาท - อยุธยา และยังใช้ผลิตไฟฟ้าสำหรับจ่ายภายในจังหวัด

5. เขื่อนแม่กวงอุดมธารา
       ลำน้ำแม่กวง เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำปิง มีต้นน้ำอยู่บริเวณเทือกเขาในเขตอำเภอดอยสะเก็ด ไหลผ่านอำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันทราย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอบ้านธิ อำเภอเมืองลำพูน และอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ในอดีตน้ำในลำน้ำกวงไหลเอ่อท่วมพื้นที่ของราษฎรได้รับความเสียหาย จนในปี 2472 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ทรงวางแผนจะสร้างฝายทดน้ำพร้อมเหมืองส่งน้ำ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ดและอำเภอสันกำแพง แต่เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณจึงต้องล้มเลิกไป
       เขื่อนแม่กวงอุดมธารา สร้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2519 โดยกรมชลประทานเริ่มสำรวจออกแบบและก่อสร้างในปี 2520 พร้อมทั้งขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการศึกษาความเหมาะสมของโครงการเพื่อขอใช้เงินกู้จากต่างประเทศ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเขื่อนว่า เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2538
       เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เป็นเขื่อนดินเก็บกักน้ำ ปิดกั้นลำน้ำแม่กวง ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เขื่อนหลัก เขื่อนฝั่งขวา และเขื่อนฝั่งซ้าย ระดับสันเขื่อนสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 390 เมตร มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำที่ระดับกักเก็บ 15 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง 204 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตร 148,400 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันทราย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอบ้านธิ และอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

6. เขื่อนภูมิพล
       แนวคิดสร้างเขื่อนแห่งนี้เกิดจากการที่ หม่อมหลวงชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประธาน เดินทางไปดูงานชลประทานที่สหรัฐฯ และเห็นความเป็นไปได้ที่จะสร้างเขื่อนขนาดใหญ่บนแม่น้ำปิง หม่อมหลวงชูชาติเสนอความเป็นไปได้ต่อรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อปี 2492 คณะรัฐมนตรีอนุมัติการสำรวจศึกษาโครงการ จนได้ข้อสรุปว่าที่เหมาะสม คือ บริเวณตำบลยันฮี จังหวัดตาก เมื่อหน่วยงานของสหรัฐฯ รับรองว่าสภาพพื้นที่ดังกล่าวสามารถสร้างเขื่อนได้ รัฐบาลเริ่มทุ่มงบประมาณตัดถนนจากถนนพหลโยธินเข้ามาถึงบริเวณที่ก่อสร้าง และเริ่มกระบวนการเจรจากู้เงินจากธนาคารโลก
       คณะรัฐมนตรีอนุมัติการก่อสร้าง เมื่อปี 2496 แรกเริ่มใช้ชื่อว่า “เขื่อนยันฮี” การเวนคืนเริ่มขึ้นในปี 2499 การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อปี 2500 โดยว่าจ้างบริษัทผู้รับเหมาจากสหรัฐฯ และมีบริษัทอื่นจาก 14 ประเทศร่วมเป็นที่ปรึกษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นเขื่อนว่า “เขื่อนภูมิพล” เมื่อเดือนกรกฎาคม 2501 ศิลาฤกษ์วางเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2504 การก่อสร้างแล้วเสร็จและทำรัฐพิธีเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2507
       เขื่อนภูมิพลสร้างปิดกั้นแม่น้ำปิง ที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง 154 เมตร ยาว 486 เมตร ความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อแรกก่อสร้างเสร็จถือเป็นเขื่อนรูปโค้งที่ใหญ่เป็นอันดับเจ็ดของโลก ใช้เงินในการก่อสร้างทั้งสิ้นราว 2,250 ล้านบาท เกือบครึ่งหนึ่งกู้จากธนาคารโลกเป็นเงิน 66 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

7. เขื่อนอุบลรัตน์
       เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของประเทศไทย ซึ่งสร้างขึ้นถัดจาก “เขื่อนภูมิพล” และเป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น และตำบลโนนสัง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ปิดกั้นแม่น้ำพองสาขาย่อยของแม่น้ำชี ตัวเขื่อนเป็นหินถมแกนดินเหนียว ยาว 885 เมตร สูง 32 เมตร สันเขื่อนกว้าง 6 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุ 2,263 ล้านลูกบาศก์เมตร ผลิตไฟฟ้าได้ 55 ล้านกิโลวัตต์ - ชั่วโมง
       การสร้างเขื่อนริเริ่มขึ้นในชื่อ “โครงการน้ำพอง” เมื่อปี 2503 โดยได้รับความร่วมมือจากกองทุนพิเศษแห่งสหประชาชาติ ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2507 ดำเนินการสร้างแล้วเสร็จในปี 2508 และเนื่องจากบริเวณที่สร้างเขื่อน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านช่องเขาทั้งสอง ซึ่งแม่น้ำพองดูเหมือนถูกหนีบ ชาวบ้านจึงเรียกเขื่อนนี้ว่า “เขื่อนพองหนีบ” ตามชื่อดั้งเดิมของบริเวณนี้ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2509 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน พระราชทานชื่อเขื่อนนี้ว่า “เขื่อนอุบลรัตน์”

โครงการฝายชะลอน้ำหรือแม้ว
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการอยู่รอดของป่าไม้เป็นอย่างยิ่ง ทรงเสนออุปกรณ์อันเป็นเครื่องมือที่จะใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ที่ได้ผลดียิ่ง กล่าวคือ ปัญหาสำคัญที่เป็นตัวแปรแห่งความอยู่รอดของป่าไม้นั้น “น้ำ” คือสิ่งที่ขาดไม่ได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงแนะนำให้ใช้ “ฝายกั้นน้ำหรือเรียกว่า Check Dam หรืออาจเรียกขานกันว่าฝายชะลอความชุ่มชื้นก็ได้เช่นกัน”
       Check Dam คือสิ่งที่ก่อสร้างขวางกั้นทางเดินของลำน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นห้วยลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำหรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ทำให้พืชสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลงและกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปในบริเวณลุ่มน้ำตอนล่าง นับเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีการหนึ่ง

ประเภทของ Check Dam นั้น ทรงจำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังพระราชดำรัสคือ
“...Check Dam มี 2 อย่าง ชนิดหนึ่งสำหรับให้มีความชุ่มชื้น รักษาความชุ่มชื้น อีกอย่างสำหรับป้องกันไม่ให้ทรายลงในอ่างใหญ่...”

ประเภทแรก คือ ฝายต้นน้ำลำธารหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น
ประเภทที่สอง คือ ฝายดักตะกอนนั่นเอง
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพิจารณาสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นขึ้น เพื่อสร้างระบบวงจรน้ำแก่ป่าไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือให้ดำเนินการสำรวจทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูงที่ใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝายดังกล่าวจำเป็นจะต้องออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ปริมาณมากพอสมควรเป็นเวลานาน 2 เดือน การเก็บรักษาน้ำสำรองได้นานหลังจากฤดูฝนผ่านไปแล้ว จะทำให้มีปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงและประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่แข็งแรงและโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้งอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยการจ่ายน้ำออกไปรอบ ๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้

ประเภทของฝายชะลอน้ำหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น แบ่งได้ 2 ประเภท
1. ฝายต้นน้ำลำธาร หรือฝายชะลอความชุ่มชื้น
       เป็นฝายที่กักเก็บน้ำให้ไหลช้าลง และสามารถซึมลงใต้ผิวดิน เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นบริเวณนั้น

2. ฝายดักตะกอนดิน ทราย
       เป็นฝายที่ดักตะกอนดินและทราย ไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่าง

รูปแบบของฝายสามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ
1. แบบท้องถิ่นเบื้องต้น หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ฝายแม้ว”
       เป็นการก่อสร้างด้วยวัสดุมีอยู่ตามธรรมชาติที่ เช่น กิ่งไม้ ท่อนไม้ ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่างๆ ในลำห้วย หรือร่องน้ำ โดยจะสามารถดักตะกอน ชะลอการไหลของน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่บริเวณพื้นที่รอบ ๆ ฝายได้

2. แบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร
       เป็นการก่อสร้างด้วยการเรียงหินเป็นผนังกั้นน้ำ ก่อสร้างบริเวณตอนกลางและตอนล่างของลำห้วยหรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอน และเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งได้บางส่วน

3. แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก
       เป็นการก่อสร้างแบบถาวร ส่วนมากจะดำเนินการในบริเวณตอนปลายของลำห้วยหรือร่องน้ำ ทำให้สามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี ค่าก่อสร้างขึ้นอยู่กับขนาดของลำห้วย ซึ่งควรมีความกว้างไม่เกิน 4 เมตร

ประโยชน์ของฝายชะลอน้ำ
       1. ช่วยเก็บกักน้ำ
       2. ช่วยลดความรุนแรงของการเกิดไฟป่า
       3. ช่วยลดการพังทลายของหน้าดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย
       4. ช่วยกักเก็บตะกอนและวัสดุต่างๆ ที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วย
       5. ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
       6. เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค

Check Dam จึงนับเป็นพระราชดำริที่เป็นทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้ที่ยังประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติทั้งมวล

ขอบคุณข้อมูลจาก : เล่าเรื่องพ่อ ร.9, พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย

คำที่ควรรู้
*ค.ส.ล. : คอนกรีตที่ใช้เหล็กเส้นหรือตะแกรงเหล็กเสริมภายในเพื่อเพิ่มความแข็งแรง.
*สัมฤทธิผล : ประสิทธิ์, การบรรลุผล, ความสำเร็จ, ความเสร็จสิ้น, การบรรลุเป้าหมาย.
*นานัปการ : มากมาย, มีหลายอย่าง, นานาประการ ก็ว่า.




การบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ

“น้ำแล้ง”
ฝนหลวง

       ในปี พ.ศ. 2498 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินโดยพระราชพาหนะเครื่องบินพระที่นั่ง เพื่อทรงเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณเทือกเขาภูพาน ทรงเห็นถึงความแห้งแล้งที่ได้ทวีความ รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ โดยน่าจะมีสาเหตุเกิดขึ้นจากการผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ อีกทั้งการตัดไม้ทำลายป่าอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้สภาพอากาศจากพื้นดินถึงระดับฐานเมฆไม่เอื้ออำนวยต่อการกลั่นตัวของไอน้ำที่จะก่อตัวเกิดเป็นเมฆ และทำให้ยากต่อการเหนี่ยวนำให้ฝนตกลงสู่พื้นดินจึงมีฝนตกน้อยกว่าปกติหรือไม่ตกเลย
       พระองค์ทรงสังเกตว่า มีเมฆปริมาณมากปกคลุมเหนือพื้นที่ระหว่างเส้นทางบินแต่ไม่สามารถก่อรวมตัวจนเกิดเป็นฝนตกได้ เป็นเหตุให้เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลายาวนาน ทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน แต่เกิดสภาพความแห้งแล้งทั่วทุกหัวระแหง
       นอกจากนี้ ได้ทรงพบเห็นท้องถิ่นหลายแห่งประสบปัญหาพื้นดินแห้งแล้งหรือการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรมักจะประสบความเดือดร้อนทุกข์ยากมาก เนื่องจากบางครั้งเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงในระยะวิกฤตของพืชผล กล่าวคือหากขาดน้ำในระยะดังกล่าวนี้จะทำให้ผลผลิตต่ำ หรืออาจไม่มีผลผลิตให้เลย รวมทั้งอาจทำให้ผลผลิตที่มีอยู่เสียหายได้ การเช่นนี้เมื่อเกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงในคราใดของแต่ละปี จึงสร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรอย่างใหญ่หลวง
นอกจากนี้ ภาวะความต้องการใช้น้ำของประเทศนับวันจะทวีความต้องการสูงขึ้น ด้วยการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการเพิ่มขึ้นของประชากร ส่งผลให้ปริมาณน้ำจากทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลลดลงอย่างน่าตกใจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานสัมภาษณ์เกี่ยวกับฝนหลวงแก่ข้าราชการสำนักงาน กปร. ประกอบด้วย นายสุเมธ ตันติเวชกุล นายมนูญ มุกข์ประดิษฐ์ และนายพิมลศักดิ์ สุวรรณทัต เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2529 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ความว่า

“...เรื่องฝนเทียมนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2498 แต่ยังไม่ได้ทำอะไรมากมาย
เพราะว่าไปภาคอีสานตอนนั้นหน้าแล้งเดือนพฤศจิกายนที่ไปมีเมฆมาก อีสานก็แล้ง ก็เลยมีความคิด 2 อย่าง
ต้องทำ check dam ตอนนั้นเกิดความคิดจากนครพนม ผ่านสกลนครข้ามไปกาฬสินธุ์
ลงไปสหัสขันธ์ที่เดี๋ยวนี้เป็นอำเภอสมเด็จ ไปจอดที่นั่นไปเยี่ยมราษฎรมันแล้ง มีฝุ่น…”
“....แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ให้ลงมาได้
ก็เคยได้ยินเรื่องทำฝนก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้ มีหนังสือเคยอ่านหนังสือทำได้....”

       นับเป็นต้นกำเนิดแห่งพระราชดำริ “ฝนหลวง” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงค้นพบด้วยพระองค์เองอย่างแท้จริงด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล และพระอัจฉริยภาพของพระองค์ที่ประกอบด้วยคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ จึงทรงสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้นแล้ว จึงได้มีพระราชดำริครั้งแรก ในปีพ.ศ. 2498 แก่ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่าจะทรงค้นหาวิธีการที่จะทำให้เกิด “ฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติ” โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์กับทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดเป็นฝนให้ได้
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสว่า “น้ำ คือ ชีวิต” แม้ว่าประเทศไทยเราได้พยายามอย่างสุดกำลังที่จะทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำของชาติทุกประเภทที่มีอยู่ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าแหล่งทรัพยากรน้ำของประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังอยู่ห่างจากระดับความเพียงพอของความต้องการใช้น้ำของประชากรในประเทศเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีพื้นที่เกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลักใหญ่อยู่อีกถึง 82.6% ดังนั้น จึงทรงคาดการณ์ว่า ก่อนที่จะถึงสภาพที่สุดวิสัยหรือยากเกินกว่าจะแก้ไขได้นั้น ควรจะมีมาตรการหนึ่งที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ จึงพระราชทานพระราชดำริในปี พ.ศ. 2499 แก่ ม.ล.เดช สนิทวงศ์ ว่า “น่าจะมีลู่ทางที่จะคิดค้นหาเทคนิค หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ด้านการดัดแปรสภาพอากาศมาช่วยให้เกิดการก่อและรวมตัวของเมฆให้เกิด ‘ฝน’ ได้”



       การรับสนองพระราชดำริได้ดำเนินการด้วยความร่วมมือระหว่าง ม.ล.เดช สนิทวงศ์ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ และม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ในอันที่จะศึกษาและนำวิธีการทำฝนในต่างประเทศมาประยุกต์ใช้กับสภาพอากาศของเมืองไทย “ฝนหลวง” หรือ “ฝนเทียม” จึงถือกำเนิดขึ้น ภายใต้การพระราชทานข้อแนะนำจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 อย่างใกล้ชิด พร้อมกันนี้ได้มีการจัดตั้งส่วนราชการ “สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง” ขึ้น รับผิดชอบการดำเนินการฝนหลวงในระยะเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน
       ในระยะแรกของการดำเนินการตามพระราชดำรินี้ ข้อมูลหรือหลักฐานที่นำมาทดลองพิสูจน์ยืนยันผลนั้นยังมีน้อยมาก และขาดความเชื่อถือทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยเรายังไม่มีนักวิชาการด้านการดัดแปรสภาพอากาศ หรือนักวิชาการทำฝนอยู่เลย ดังนั้น ในช่วงเริ่มต้นของการทดลองปฏิบัติการฝนหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงได้ทรงติดตามผล วางแผนการทดลองปฏิบัติการ โดยทรงสังเกตจากรายงานแทบทุกครั้งอย่างใกล้ชิด


       วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 นับเป็นประวัติศาสตร์แห่งการทำฝนหลวงของประเทศไทยเพราะเป็นวันปฐมฤกษ์ในการปฏิบัติการทดลองทำฝนเทียมกับเมฆในท้องฟ้าเหนือภาคพื้นดิน บริเวณวนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยการใช้น้ำแข็งแห้ง (dry-ice) โปรยที่ยอดของกลุ่มก้อนเมฆ ปรากฏว่าหลังจากปฏิบัติการประมาณ 15 นาที ก้อนเมฆในบริเวณนั้นเกิดการรวมตัวกันอย่างหนาแน่นจนเห็นได้ชัด สังเกตได้จากสีของฐานเมฆได้เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเทาเข้ม ซึ่งผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ เพียงแต่ยังไม่อาจควบคุมให้ฝนตกในบริเวณที่ต้องการได้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานคำแนะนำเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง อาทิ การเปลี่ยนที่ทดลองไปยังจุดแห้งแล้งอื่น ๆ ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติงานฝนหลวง เมื่อตอนเริ่มต้นต้องพบกับความยากลำบากและอุปสรรคมากมายนานัปการ สิ่งสำคัญคือจะต้องมีสภาพดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการทำฝนทดลอง กล่าวคือ จะต้องดูลักษณะเมฆที่มีศักยภาพที่จะเกิดฝนได้ ซึ่งเมฆในลักษณะเช่นนี้มองเผิน ๆ จะคล้ายขนแกะในท้องฟ้า ถ้าไม่มีก็จำเป็นต้องสร้างให้เกิดเมฆขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความชื้นจะต้องอยู่ในระดับ 70% การปฏิบัติงานจึงจะได้ผล แต่ถ้าความชื้นต่ำลงเท่าใดก็จะยิ่งได้ผลน้อยลงจนไม่คุ้มค่า


       ฉะนั้น การสร้างเมฆก็คือการสร้างความชื้นขึ้นในอากาศนั่นเอง โดยใช้เคมีภัณฑ์หลายชนิดซึ่งได้ทดสอบแล้วว่าได้ผลดี และปลอดภัยต่อมนุษย์มาใช้ในการทำฝนหลวง จากพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เมื่อมีปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการทดลอง จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำแนะนำและมีพระราชดำริเพิ่มเติมในการปรับปรุงหลายประการจนสามารถปฏิบัติการฝนหลวงได้ดี และทรงให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะทรงติดตามการปฏิบัติงานทดลองอย่างใกล้ชิดทุกระยะ และทรงแนะนำฝึกฝนนักวิชาการให้สามารถวางแผนปฏิบัติการอย่างเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของแต่ละท้องถิ่น ในบางครั้งพระองค์ก็ทรงทดลองและควบคุมบัญชาการทำฝนหลวงด้วยพระองค์เอง
ก่อนการทำฝนหลวงแต่ละครั้งจะทรงเตือนให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสภาพอากาศล่วงหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่พืชผลและทรัพย์สินของราษฎร ทรงเร่งให้ปฏิบัติการเมื่อสภาพอากาศอำนวยเพื่อจะได้ปริมาณน้ำฝนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งทรงแนะนำให้ระมัดระวังสารเคมีที่ใช้ปฏิบัติการต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ด้วย จนในที่สุดจากการศึกษาวิจัยเป็นการส่วนพระองค์ในเรื่องเกี่ยวกับกระแสและทิศทางลมในแต่ละพื้นที่แต่ละเวลา มีการทดสอบปรับปรุงหลายประการจนนำไปใช้การได้ดีจนสามารถพระราชทานข้อแนะนำให้ดึงหรือสร้างเมฆได้ ทั้งยังสามารถบังคับเปลี่ยนทิศทางของเมฆให้เกิดฝนตกในบริเวณรับน้ำที่ต้องการ เช่น อ่างเก็บน้ำ ห้วยหนอง คลอง บึง หรือบริเวณใกล้เคียงที่กำหนดไว้
จึงนับว่า “ฝนหลวง” เป็นความสำเร็จที่เกิดจากพระอัจฉริยภาพและความสนพระราชหฤทัยอย่างจริงจังของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยแท้ การพัฒนาค้นคว้าที่เกี่ยวกับฝนหลวงได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้ เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงทำการทดลองวิจัยด้วยพระองค์เอง รวมทั้งได้พระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์เป็นค่าใช้จ่าย เพื่อทำการทดลองปฏิบัติการฝนหลวง ระยะเวลาที่ทรงมานะบากบั่นอดทนด้วยพระวิริยะอุตสาหะนับถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 50 ปี ด้วยพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพที่ทรงสั่งสมจากการทดลองสามารถทำให้กำหนดบังคับฝนให้ตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายได้สำเร็จกลายเป็นหลักแนวทางให้นักวิชาการฝนหลวงในปัจจุบัน ได้ทำการศึกษาวิจัยอย่างมีระเบียบและเป็นระบบวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง





พระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ถึงกลยุทธ์การพัฒนาโครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง”
       1. ทรงเน้นถึงความจำเป็นในด้านพัฒนาการ และการดำเนินการปรับปรุงวิธีการทำฝนในแนวทางของการออกแบบการปฏิบัติการ การติดตามและประเมินผลที่มีลักษณะเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
       2. ทรงย้ำถึงบทบาทของการดัดแปรสภาพอากาศ หรือการทำฝนว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอันหนึ่งในกระบวนการจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำ เช่น การเพิ่มปริมาณน้ำให้แก่แหล่งเก็บกักน้ำต่าง ๆ การบรรเทาปัญหามลภาวะ และการเพิ่มปริมาณน้ำเพื่อสาธารณูปโภค เป็นต้น
       3. ทรงเน้นว่าความร่วมมือประสานงานอย่างเต็มที่ระหว่างหน่วยงานและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ที่จะเป็นกุญแจสำคัญในอันที่จะทำให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้

ดุจสิ่งมหัศจรรย์..... เพาะเมฆให้เกิดฝน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงวิเคราะห์กรรมวิธีที่จะทำการผลิตฝนหลวงว่ามีขั้นตอนที่สามารถเข้าใจกันได้ง่าย 3 ขั้นตอน คือ

• ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน
       โดยการใช้สารเคมีไปกระตุ้นมวลอากาศทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้าหมาย ให้เกิดการลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบนรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเมฆฝน ขั้นตอนแรกนี้เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การทำฝนหลวงในขั้นตอนนี้จึงมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้นอากาศให้เกิดการลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำหรือความชื้นเข้าสู่ระดับการเกิดเมฆ
เมื่อเมฆเริ่มเกิดมีการก่อรวมตัวและเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคายความร้อนโปรยเป็นวงกลมหรือเป็นแนวถัดมาทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้น ๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดก้อนเมฆเป็นกลุ่มแกนร่วมในบริเวณพื้นที่ปฏิบัติการ สำหรับใช้เป็นแกนกลางในการสร้างกลุ่มเมฆฝนในระยะต่อมาการวางแผนปฏิบัติการฝนหลวงในขั้นแรกนี้ก่อนดำเนินการจะต้องทำการศึกษา ข้อมูลสภาพอากาศ และกำหนดพื้นที่เป้าหมายในแต่ละวันโดยใช้ทิศทางและความเร็วของลมเป็นตัวกำหนดบริเวณหรือแนวพิกัดที่จะโปรยสารเคมี

       การทำฝนหลวง ซึ่งจะต้องกระทำด้วยความชำนาญควบคู่ไปกับการคำนึงถึงระดับความสูงผนวกกับอัตราการโปรยสารเคมี รวมถึงลักษณะของแนวโปรยสารเคมีด้วย หากแต่ละวันมีลักษณะข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป ก็ย่อมทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติงานแต่ละครั้งด้วย

• ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน
       เป็นขั้นตอนสำคัญมากในการปฏิบัติการฝนหลวง เนื่องจากเป็นระยะที่เมฆกำลังก่อตัวเจริญเติบโต จึงใช้ความรู้ทางเทคโนโลยี และประสบการณ์ผสมผสานกลยุทธ์ในเชิงศิลปะแห่งการทำฝนหลวงควบคู่ไปพร้อมกัน เพื่อตัดสินใจโปรยสารเคมีฝนหลวงที่ทรงค้นคว้าขึ้นมา โดยไม่มีสารอันเป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติงานต้องพิจารณาอย่างถ่องแท้ว่าจะใช้สารเคมีชนิดใดและอัตราใดจึงจะเหมาะสม ในการตัดสินใจโปรยสารเคมีฝนหลวง ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ เพื่อให้สัมฤทธิผลที่จะทำให้ก้อนเมฆขยายตัวหรืออ้วนขึ้น และป้องกันไม่ให้ก้อนเมฆสลายตัวให้จงได้ การวางแผนปฏิบัติการในขั้นตอนนี้จำต้องอาศัยข้อมูล และความต่อเนื่องจากขั้นตอนที่หนึ่งประกอบการพิจารณา ด้วยการสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพเมฆที่เกิดขึ้น

• ขั้นตอนที่ 3 โจมตี
       เมื่อกลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ โดยภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย สังเกตได้ถ้าหากเครื่องบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้แล้ว จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีกและกระจังหน้าของเครื่องบิน ดังนั้นขั้นตอนสุดท้ายจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดเพราะจะต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์เป็นอย่างมาก เหนือสิ่งอื่นใดต้องรู้จักใช้เทคนิคในการทำฝนหลวงซึ่งพระองค์ท่านทรงให้ข้อคิดว่าจะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวงด้วยว่า ในการทำฝนหลวงของแต่ละพื้นที่นั้นต้องตอบสนองความต้องการอันแท้จริงของราษฎรใน 2 ประเด็น คือ
       - เพื่อเพิ่มปริมาณฝนตกให้กับพื้นที่ (Rain Enhancement)
       - เพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain Distribution)

       ซึ่งทั้ง 2 วัตถุประสงค์นี้ได้เป็นแนวทางในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของพสกนิกรให้คลายความเดือดร้อนยามขาดแคลนน้ำเรื่อยมาตราบเท่าทุกวันนี้เพราะความต้องการน้ำของมนุษยชาตินับวันแต่จะทวีขึ้นอย่างเกินคาด สืบเนื่องมาจากผลกระทบที่เกิดจากปฏิกิริยาเรือนกระจกของโลก (Greenhouse Effect) ทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลดังเช่นเคย
       ในอดีตฝนหลวงกับการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนหลังจากที่ทรงประสบผลสำเร็จ และมีการยอมรับจากทั้งภายใน และต่างประเทศแล้วนั้น ปริมาณความต้องการฝนหลวงเพื่อช่วยพื้นที่เกษตรกรรมและการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคได้รับการร้องเรียนขอความช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้น เห็นได้ชัดในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2520-2534 มีการร้องเรียนขอฝนหลวงเฉลี่ยถึงปีละ 44 จังหวัด ซึ่งทรงพระเมตตาอนุเคราะห์ช่วยเหลือเกษตรกรไทยในการบรรเทาการสูญเสียทางเศรษฐกิจให้ประสบความเสียหายน้อยที่สุด
       นอกจากนี้ประโยชน์สำคัญที่ควบคู่ไปกับการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเกษตรกรรม และการอุปโภคบริโภค ก็คือ เป็นการช่วยเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้แก่อ่างและเขื่อนกักเก็บน้ำเพื่อการชลประทานและผลิตกระแสไฟฟ้า แหล่งน้ำและต้นน้ำลำธารธรรมชาติอีกทั้งยังเป็นการช่วยทำนุบำรุงป่าไม้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ความชุ่มชื้นที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากฝนหลวงจะช่วยลดการเกิดไฟป่าได้เป็นอย่างมาก ฝนหลวงได้เข้ามามีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในการบรรเทามลภาวะที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของเราหลายประการ อาทิ ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในแม่น้ำลำคลอง โรคระบาด อหิวาตกโรค และการระบาดของศัตรูพืชบางชนิด เป็นต้น






บทบาท “ฝนหลวง” วันนี้
       เริ่มจากแก้ไข “ภัยแล้ง” ก้าวไปสู่การบรรเทา “สาธารณภัย” และเพิ่มพูน “เศรษฐกิจ” กล่าวคือ “ฝนหลวง” มีส่วนช่วยเหลือการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยหลายประการดังนี้

1. ด้านการเกษตร
       มีการร้องขอฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงยาวนานซึ่งมีผลกระทบต่อแหล่งผลิตทางการเกษตรที่กำลังให้ผลผลิต เช่น แถบจังหวัดจันทบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เป็นจำนวนมากหลายราย ซึ่งได้พระราชทานความช่วยเหลือเสมอมา

2. เพื่อการอุปโภค บริโภค
       ช่วยในการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำภายใต้พื้นดินของภาคอีสานมีแหล่งหินเกลือเป็นจำนวนมากและครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ดังนั้น อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กและขนาดกลางที่ไม่มีทางระบายออก หากมีปริมาณน้ำเหลือน้อย น้ำจะกร่อยหรือเค็มได้ เพราะหินเกลือที่อยู่ด้านล่างเกิดมีการละลายแล้วลอยตัวเคลื่อนที่ขึ้นมาบนผิวดิน

3. เสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำ
       ระดับน้ำในแม่น้ำลดต่ำลง บางแห่งตื้นเขินจนไม่สามารถสัญจรไปมาทางเรือได้ เช่น ทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบางตอน ในปัจจุบันการทำฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้กับบริเวณดังกล่าวจึงนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะการขนส่งสินค้าทางน้ำเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าทางอื่น และการจราจรทางบกนับวันจะมีปัญหารุนแรงมากขึ้นทุกขณะ

4. ป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม
       ขยะมูลฝอยที่ผู้คนทิ้งลงในสายน้ำกันอย่างมากมายนั้น ปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะช่วยผลักดันออกสู่ท้องทะเล ทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลดลง ซึ่งสังเกตเห็นได้ชัดเจนมากจากขยะมูลฝอย และกระแสน้ำเสียต่างสีในบริเวณปากน้ำจนถึงเกาะล้านเมืองพัทยา

5. เพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
       ฝนหลวงได้มีส่วนในการเพิ่มปริมาณน้ำให้เพียงพอต่อการใช้พลังน้ำ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ามิให้การพัฒนาด้านต่าง ๆ เกิดการสะดุดหยุดชะงักลงและสามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่นมั่นคง สามารถเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลได้ถึง 5,275.63 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยที่ปริมาณน้ำก่อนปฏิบัติการฝนหลวงเหลือเพียง 4,033.30 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งนับว่าทำให้กำลังผลิตสำรองกระแสไฟฟ้าที่ใช้ได้ในปีนี้อยู่ในเกณฑ์ที่เพียงพอ

ฝนหลวงในอนาคต
       การทำฝนหลวงในปัจจุบันโดยใช้วิธีการโปรยสารเคมีจากเครื่องบินเพื่อเร่งหรือเสริมการก่อตัวและการเจริญเติบโตของเมฆ และโจมตีกลุ่มเมฆฝนให้เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายที่ต้องการนั้นบางครั้งก็ประสบปัญหาที่ไม่สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนกรรมวิธีให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น ในขั้นโจมตีให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายไม่สามารถกระทำได้
       เนื่องจากฝนตกปกคลุมสนามบินเกิดลมพายุปั่นป่วนและรุนแรง เครื่องบินไม่สามารถขึ้นปฏิบัติการได้ทำให้กลุ่มเมฆเคลื่อนที่พันพื้นที่เป้าหมาย จากปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จึงได้มีการค้นคว้าวิจัยทดลองกรรมวิธีทำฝนขึ้นเพื่อพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาพระราชทานแนวความคิดในการวิจัยพัฒนาฝนหลวงเพื่อเกษตรกรหลายประการ คือ

       ประการแรก สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมีจากพื้นดินเข้าสู่เมฆ หรือยิงจากเครื่องบินซึ่งได้มีการทดลองแล้วมีความก้าวหน้าขึ้นมาเป็นลำดับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาพระราชทานแนวความคิดในการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาในการใช้เครื่องบินทำฝนหลวง ด้วยการให้ทำการวิจัยสร้างจรวดบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดินเข้าสู่ก้อนเมฆหรือยิงจากเครื่องบิน

       ประการที่สอง คือ การใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรงกำลังสูงจากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ตามปกติมักลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่นจนเกิดฝนตกลงสู่บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา

       ประการสุดท้าย คือ การทำฝนในเมฆเย็นจัด (Supercooled Cloud) โดยใช้สารที่ทำให้เกิดฝนในกลุ่มเมฆเย็นจัด (ที่อยู่สูงเกินกว่า 18,000 ฟุต) ให้สารนี้เป็นตัวเกิดหรือเร่งเร้ากระตุ้นกลไกของการเกิดผลึกน้ำแข็งในก้อนหรือกลุ่มเมฆนั้น การวิจัยนี้อยู่ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศประยุกต์ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือของรัฐบาลไทยและอเมริกาตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา

“ฝนหลวง” จึงนับว่าเป็นที่พึ่งของเกษตรกรยามเกิดภัยแล้งได้อย่างแท้จริง และได้ก้าวเข้ามามีส่วนช่วยเหลือประเทศชาตินานาประการจนมิอาจกล่าวได้หมดสิ้น

“ฝนหลวง” กับรางวัลแห่งพระอัจฉริยภาพ
       ในงานบรัสเซลส์ ยูเรกา 2001 พระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตานานาประเทศอีกครั้ง โดย “ผลงานประดิษฐ์คิดค้นโครงการฝนหลวง” ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล D’Un Concept Nouveau de Development de la Thailande พร้อมถ้วยรางวัลทำด้วยเงิน มอบแก่ผลงานที่เกิดจากแนวคิดใหม่ในการพัฒนาประเทศไทย รางวัล Gold medal with mention หรือรางวัลสรรเสริญพระอัจฉริยภาพแห่งการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมประกาศเกียรติคุณเทิดพระเกียรติ และถ้วยรางวัล SPECIAL PRIX for His Majesty The King of Thailand พร้อมประกาศนียบัตร




“น้ำท่วม”
แก้มลิง

       ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตมรสุม มีฝนตก และปริมาณน้ำฝนสูง ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมอยู่ในหลายพื้นที่เกือบทุกภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงห่วงใยในปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้ทรงวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม และได้ทรงคำนึงถึงการเลือกใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแต่ละท้องที่ รวมไปถึงสมรรถนะกำลังของเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ ตลอดจนไปถึงงบประมาณค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย

วิธีการต่าง ๆ ที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม คือ
1. การก่อสร้างคันกั้นน้ำ
       เพื่อป้องกันน้ำท่วมซึ่งเป็นวิธีการดั้งเดิมแต่ครั้งโบราณโดยการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำขนาดที่เหมาะสมขนานไปตามลำน้ำห่างจากขอบตลิ่งพอสมควร เพื่อป้องกันมิให้น้ำล้นตลิ่งไปท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ ด้านใน

2. การก่อสร้างทางผันน้ำ
       เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งท่วมท้นเข้ามาให้ออกไป โดยการก่อสร้างทางผันน้ำหรือขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับลำน้ำที่มีปัญหาน้ำท่วมโดยให้น้ำไหลไปตามทางผันน้ำที่ขุดขึ้นใหม่ไปลงลำน้ำสายอื่นระบายออกสู่ทะเลตามความเหมาะสม

3. การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ
       เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไปตามลำน้ำได้สะดวกอันเป็นการช่วยให้กระแสน้ำไหลเร็วยิ่งขึ้นบรรเทาความเสียหายจากน้ำท่วมขังได้

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามพระราชดำริ “แก้มลิง”
       จากสภาพธรรมชาติดั้งเดิมของกรุงเทพมหานครมีลักษณะลุ่มต่ำทำให้มีการระบายน้ำยามเกิดภาวะน้ำท่วมให้ออกจากพื้นที่เป็นไปอย่างล่าช้า คูคลองจำนวนมากมีความลาดเทน้อยอีกทั้งมีจำนวนหลายคลองที่ลำน้ำตื้นเขิน มีวัชพืชปกคลุมกีดขวางทางน้ำไหล ทำให้เกิดเป็นสาเหตุในหลายปัจจัยของการเกิดน้ำท่วมขังในกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑลเป็นระยะเวลายาวนานในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานแนวพระราชดำริให้มีระบบการบริหารจัดการด้านน้ำท่วม ในวิธีการที่ตรัสว่า “แก้มลิง” ซึ่งได้พระราชทานพระราชอรรถาธิบายว่า

“...ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน
ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อยๆ นำออกมาเคี้ยว และกลืนกินภายหลัง...”

(พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงอธิบายแนวพระราชดำริแก้มลิง
ซึ่งใช้แก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ เมื่อพุทธศักราช 2538)

เปรียบเทียบได้กับเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองต่าง ๆ เพื่อชักแม่น้ำให้มารวมกันแล้วนำมาเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำอันเปรียบได้กับแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเลเมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง

ประเภทและขนาดของแก้มลิง
1. แก้มลิงขนาดใหญ่ ( Retarding Basin) คือ
       สระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ ที่รวบรวมน้ำฝนจากพื้นที่บริเวณนั้น ๆ โดยจะกักเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะระบายลงสู่ลำน้ำ พื้นที่เก็บกักน้ำจะมีหลายประเภท คือ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝาย ทุ่งเกษตรกรรม เป็นต้น

2. แก้มลิงขนาดกลาง
       เป็นพื้นที่ชะลอน้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ได้มีการก่อสร้างในระดับลุ่มน้ำ ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ธรรมชาติ เช่น หนอง บึง คลอง เป็นต้น

3. แก้มลิงขนาดเล็ก (Regulating Reservoir) คือ
       แก้มลิงที่มีขนาดเล็กกว่า อาจเป็นพื้นที่สาธารณะ สนามเด็กเล่น ลานจอดรถ หรือสนามในบ้าน ซึ่งต่อเข้ากับระบบระบายน้ำหรือคลอง แก้มลิงที่อยู่ในพื้นที่เอกชน เรียกว่า “แก้มลิงเอกชน” ส่วนที่อยู่ในพื้นที่ของราชการและรัฐวิสาหกิจจะเรียกว่า “แก้มลิงสาธารณะ”

ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง
       1. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออกซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ แก้มลิง ต่อไป
       2. เมื่อระดับน้ำทะเลลดลงต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ให้ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
       3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ “แก้มลิง” นี้ ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อย ๆ ไหลมาเองตลอดเวลาส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
       4. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลอง ให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำย้อนกลับ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว (One Way Flow)

หลักการ 3 ประเด็น ที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือ
       1. การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพัก และวิธีการชักน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
       2. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
       3. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง

       จากหลักการข้างต้น การสนองพระราชดำริจึงดำเนินการพิจารณาจากการใช้ลำคลองหนองบึงธรรมชาติ หรือพื้นที่ว่างเปล่านำมาใช้เป็นบ่อพักน้ำแหล่งน้ำที่จะนำน้ำเข้าบ่อพัก และระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ซึ่งผลการดำเนินการศึกษาและพิจารณากำหนดรูปแบบของโครงการแล้วสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ

1. โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ทำการรับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา นับตั้งแต่จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานครมาตามคลองสายต่าง ๆ โดยใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือรับน้ำ

2. โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพมหานคร และสมุทรสาคร ไปลงคลองมหาชัย สนามชัย และแม่น้ำท่าจีน เพื่อระบายออกสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร

โครงการแก้มลิง “แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง” จะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ 3 โครงการ ด้วยกัน คือ
       1. โครงการแก้มลิง “แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง”
       2. โครงการแก้มลิง “คลองมหาชัย-คลองสนามชัย”
       3. โครงการแก้มลิง “คลองสุนัขหอน”

โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตรหมายอันเป็นสิ่งที่ชาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจากทุกข์ภัย ที่นำความเดือดร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย ซึ่งแนวพระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า

“... ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป
เพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่…”




ประโยชน์ของโครงการแก้มลิง
       แก้มลิง เป็นโครงการอเนกประสงค์สำคัญยิ่ง เพราะไม่เพียงแต่ช่วยบรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเท่านั้น แต่ยังช่วยระบายน้ำจากภาคเหนือลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกและการสูบน้ำที่เหมาะสม ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำตามคูคลองธรรมชาติในช่วงฤดูฝนอีกด้วย
       นอกจากนี้โครงการแก้มลิงยังช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มในช่วงฤดูแล้ง ไม่ให้น้ำเค็มจากทะเลไหลเข้าสู่แม่น้ำลำคลองและพื้นที่การเกษตร รวมทั้งแก้มลิงยังสามารถเก็บกักน้ำจืดไว้ด้านเหนือปรตูระบายน้ำ ประชาชนจึงสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการอุปโภคบริโภคอีกด้วย ที่สำคัญโครงการแก้มลิงยั่งมีส่วนสำคัญในการช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ในแก้มลิงต่าง ๆ เมื่อถูกระบายสู่คูคลอง จะไปช่วยขจัดน้ำเน่าเสียให้เจือจางลง กระทั่งผลักดันให้น้ำเน่าเสียเดิมที่มีอยู่ ถูกระบายออกไปได้ในที่สุดด้วยพระปรีชาญาณ และพระหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ “โครงการแก้มลิง” จึงเกิดขึ้น ช่วยบรรเทาวิกฤต และความเดือดร้อนจากน้ำท่วมรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้เบาบางลงไปได้ โดยอาศัยเพียงแค่วิธีการทางธรรมชาติ

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ กับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ

       ตลอดระยะเวลา 70 ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติ พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ และครอบคลุมการพัฒนาเกือบทุกแขนง ทั้งในด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ โครงการทางด้านการเกษตร โครงการทางด้านพลังงาน ฯลฯ หลายพันโครงการ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาแหล่งน้ำนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สนพระราชหฤทัยทัยและทรงเชี่ยวชาญเรื่องการบริหารจัดการน้ำเป็นอย่างมาก
       อย่างไรก็ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเหล่านี้นับตั้งแต่เริ่มแรกก็เป็นการดำเนินการที่ควบคู่ไปกับรัฐบาล โดยระมัดระวังไม่ให้ซ้ำซ้อนกับงานพัฒนาของรัฐบาล ซึ่งในประเด็นนี้พลอากาศตรี กำธน สินธวานนท์ ได้เสนอความเห็นโดยสรุปว่า “เกิดจากการที่พระองค์ได้ทรงงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และเริ่มทรงงานจากโครงการขนาดเล็ก อันเป็นการช่วยเสริมช่องว่างของรัฐบาลด้วย” หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จนิวัติประเทศไทยแล้ว พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรดูแลทุกข์สุขเพื่อทรงทราบถึงต้นเหตุแห่งปัญหา จึงได้เสด็จฯไปตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ

       การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินหรือแปรพระราชฐานไปตามจังหวัดต่าง ๆ นั้น หม่อมราชวงศ์ศึกฤทธิ์ ปราโมช เคยกล่าวไว้ว่า “พระองค์ท่านไปตั้งออฟฟิศเล็ก ๆ เพื่อทรงดูแลประชาชนรอบ ๆ ที่ประทับ พระราชกรณียกิจในช่วงเริ่มแรกพระองค์ไม่ได้สนพระราชหฤทัยในเรื่องใหญ่โตมากนัก แต่ทรงมองว่าตรงจุดไหนมีเรื่องให้พระองค์ทรงช่วย พระองค์ก็จะทรงช่วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีวิธีของพระองค์เอง ทรงทอดพระเนตร ทรงศึกษา และสอบถามจากชาวบ้าน ตรวจสอบแผนที่ เรียกเจ้าหน้าที่มาถาม แล้วจึงทรงคิดออกมาเป็นแผนงาน จากนั้นจะทรงเรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาดู เมื่อเห็นว่าสามารถทำโครงการพัฒนาเหล่านั้นได้ จึงทรงตัดสินพระทัยที่จะทำ สภาพัฒน์ฯ จะคอยถวายรายงานว่า โครงการพัฒนาที่จะทรงทำนั้น เป็นโครงการที่ตรงกับรัฐบาลหรือไม่ ถ้ารัฐบาลทำจะทรงเลี่ยงมาทำเรื่องเล็ก ๆ ที่ไม่ซ้ำซ้อนกัน”
       แต่หากเป็นเรื่องใหญ่ หรือเป็นโครงการที่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก พระองค์จะทรงให้สภาพัฒน์ฯ ไปเสนอต่อรัฐบาล เพราะฉะนั้นแต่ละโครงการจึงไม่ซ้ำกัน เรียกได้ว่าพระองค์ทรงทำงานของพระองค์ รัฐบาลก็ทำงานของรัฐบาล นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังทรงระวังพระองค์เองว่า โครงการพัฒนาต่าง ๆ ตามพระราชดำรินั้นต้องไม่ใช่เป็นการไปแย่งงานของรัฐบาล แต่เป็นการช่วยเสริมช่องว่าง
       เดิมทีโครงการตามพระราชดำริต่าง ๆ เหล่านี้ใช้งานจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ต่อมาจึงมีการจัดตั้ง “มูลนิธิชัยพัฒนา” ขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่าเงินของราชการนั้นเป็นเงินงบประมาณ ซึ่งจะหมดในปลายปี เมื่อรัฐไม่มีค่าใช้จ่ายในการทำงานต่าง ๆ มูลนิธิจึงจะเข้ามาช่วยเหลือด้วยการให้ยืมเงินไปทำงานก่อน หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 นั้นจะทรงถือหน้าที่เป็นสำคัญ ไม่ได้ถือเรื่องตำแหน่งหรือยศของคนทำงาน การทรงงานของพระองค์นั้นเปรียบได้กับเรือลำหนึ่งที่มีเรือเอกเป็นกัปตัน แต่ถ้าเรือลำนั้นใช้เครื่องยนต์ปรมาณู คนที่รู้เรื่องเครื่องยนต์อาจเป็นจ่า แต่ก็ต้องฟังเรือเอกว่าจะให้เลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา จะหยุดหรือยิงอย่างไร เป็นการทำงานด้วยหน้าที่ พระองค์จะทรงละเอียดอ่อนเรื่องนี้ ซึ่งทำให้สามารถดำเนินพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาได้อย่างราบรื่น





เขื่อน
แนวพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและเขื่อน

       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 “พระองค์ทรงเริ่มโครงการพัฒนาจากการเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรทั่วประเทศ ทรงรับทราบปัญหาสำคัญเรื่องการขาดแคลน “แหล่งน้ำ” ของพสกนิกรส่วนใหญ่ ซึ่งมีอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้น การแปรพระราชฐานไปที่ใดก็ตามพระองค์จะสนใจแต่เรื่องน้ำเป็นหลัก เพื่อหาทางให้มีการชลประทานไปสู่พื้นที่ที่ราษฎรเพาะปลูก และหากพบว่ามีแหล่งน้ำที่ใด พระองค์ก็จะทรงส่งเสริมให้มีการสร้างฝาย สร้างเขื่อน และด้วยเหตุนี้พระองค์จึงให้ความสนพระทัยในเรื่องเขื่อนด้วย ทรงสนพระทัยว่าเขื่อนขนาดนี้ สูงเท่านี้ ควรจะมีเครื่องผลิตไฟฟ้าและจ่ายไฟอย่างไร ทรงเข้าพระทัยดีแม้กระทั่งว่าพื้นที่อ่างน้ำขนาดเท่านี้จะโดนแดดส่งลงมาน้ำระเหยไปเท่าไร ทรงเคยรับสั่งว่า โครงการทฤษฎีใหม่ที่ว่าให้มีการขุดบ่อน้ำ พื้นที่เท่านี้มีน้ำเท่านี้ ถ้าราษฎรไม่ใช้น้ำในอ่างภายในเวลาเท่าไร น้ำจะระเหยไปหมด เพราะฉะนั้นตอนน้ำเต็มอ่างก็ควรใช้ประโยชน์เสียก่อนที่น้ำจะระเหยไปในอากาศหมด
       อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงไม่ได้เจาะจงเรื่องการใช้น้ำเพียงอย่างเดียว ทรงเข้าใจระบบของการไฟฟ้าอย่างดีไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอนการผลิตไฟฟ้า เรื่องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และยังทรงรู้ลึกไปกว่านั้น คือการพระราชทานแนวพระราชดำริในการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในการผลิตไฟฟ้าด้วย
       อีกทั้งในการก่อสร้างเขื่อนแต่ละครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จะทรงให้ความสำคัญกับเรื่องการย้ายชาวบ้าน ทรงกำชับว่าต้องหางบประมาณเพื่อจ่ายค่าตอบแทนชาวบ้านอย่างเป็นธรรม ประชาชนที่จะต่อต้าน พอรู้ว่าเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ก็ยอมทำตามพระราชประสงค์ ยกตัวอย่างเช่น การสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หากให้ทางราชการเป็นผู้สร้าง เชื่อว่าอีก 100 ปีก็อาจยังคงไม่ได้สร้าง เพราะผู้ที่อยู่อาศัยคงไม่ยอมย้ายออก แต่เมื่อเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของกโครงการ ทุกคนจึงเชื่อและรับสนองพระราชดำริ ไม่แต่เฉพาะเรื่องเขื่อนเท่านั้น เรื่องอื่น ๆ ประชาชนชาวไทยก็อาศัยพระบารมีของพระองค์เช่นกัน เรียกว่าด้วยพระบารมีสามารถเปลี่ยนเรื่องใหญ่ให้จบลงได้ในวันเดียว

ต้นกำเนิดของเขื่อน..สำหรับผลิตไฟฟ้า
       เดิมทีประเทศไทยมีโรงงานผลิตไฟฟ้าวัดเลียบ และโรงไฟฟ้าสามเสน ใช้ฟืนและแกลบเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เมื่อครั้งสงครามที่ข้าวเปลือกขายไม่ได้ราคา ก็เคยใช้ข้าวเปลือกเหล่านี้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้ามาแล้ว แต่ไฟฟ้าก็ยังไม่พอใช้ ต้องดับไฟเป็นเขต ๆ ทุกวัน เมื่อมีพระราชบัญญัติการไฟฟ้ายันฮีในปี พ.ศ. 2500 จึงก่อให้เกิดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตขึ้น มีการก่อสร้าง “เขื่อนภูมิพล” หรือชื่อเดิมว่า “เขื่อนยันฮี” ซึ่งเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และแทบจะใหญ่ที่สุดในเอเชียในเวลานั้น ซึ่งในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงครองราชย์มาได้ 11 ปี จึงเรียกได้ว่าพัฒนาการของเขื่อนผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยนั้นมีระยะเวลาที่เท่า ๆ กับการครองราชย์ของพระองค์
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังทรงสนพระทัยเรื่องเขื่อนภูมิพลเสมอ เคยรับสั่งด้วยความเป็นห่วงว่า “วันหนึ่งถ้าตะกอนจะเต็มแล้วจะทำอย่างไร” กฟผ.ก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน แม้ตามหลักวิชาการแล้วไม่น่าจะเต็ม ตรัสว่า “ถ้าไม่คิดไว้ก่อน บอกว่ายังไม่ถึงเวลาคิด ถ้าถึงเวลาแล้วจะคิดออกไหม” เมื่อกราบบังคมทูลไปว่าคิดออก พระองค์ท่านก็ตรัสว่า “ถ้าคิดออกให้เขียนไว้ในกกระดาษ แล้วเอาไปใส่ในไหไปฝังไว้เป็นลายแทง เผื่อว่าอีก 400 ปีจะมีใครมาขุดเอาไปใช้ เพราะว่าเขื่อนมันเต็ม” ซึ่งในความเป็นจริง คำว่าเต็มนี้ไม่ได้หมายถึงต้องเต็มตัวเขื่อน แค่เต็มที่ระยะ 230 เมตร ในระดับ ELEVATION เป็นระดับปากท่อที่จะปล่อยน้ำลงปั่นเครื่องปั่นไฟ ซึ่งน้ำก็จะไม่เข้าท่อแล้ว เพราะฉะนั้นอายุของเขื่อนก็จะหมดตรงนั้น กฟผ. จึงได้ไปทำการวิจัยว่าตะกอนที่ตกมาแล้ว ตกตรงไหนบ้าง ปรากฏว่าว่ามันยังตกมาไม่ถึงตัวเขื่อน ก็ไปกราบทูลให้ทรงทราบ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นห่วงอยู่เสมอ ไม่ใช่ว่าทำเสร็จแล้วก็ปล่อยไป

หลักในการจัดทำโครงการพัฒนา
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จะทรงคำนึงถึงประโยชน์สุขของราษฎรเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นเพียงคนกลุ่มเล็ก ๆ หรือมีจำนวนน้อยแค่ไหน เช่น เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ไปเปิด “เขื่อนจุฬาภรณ์” ซึ่งก็เป็นที่ประหลาดว่า ไม่ว่าฝนจะตกฟ้าจะร้อง ถ้าพระองค์เสด็จฯ มาถึง ฟ้าจะเปิดทุกที คืนนั้นหลังจากทรงเปิดเขื่อนแล้ว ได้ทรงประทับแรมที่เขื่อนด้วยทรงมีรับสั่งว่า หมู่บ้านใต้เขื่อนจุฬาภรณ์ไม่มีน้ำ ให้ กฟผ. ไปดูว่าสามารถช่วยอะไรชาวบ้านได้บ้าง
ซึ่งที่มาที่ไปดังกล่าวพลอากาศตรี กำธน กล่าวว่า “ในการสร้างเขื่อนจุฬาภรณ์นั้น ชาวบ้านหลายคนเชื่อว่า กฟผ. เก็บน้ำของชาวบ้านเอาไว้ ทั้งที่จริง ๆ แล้วเขื่อนเก็บน้ำส่วนเกินในหน้าฝน” พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้ไปสร้างเขื่อนอีกแห่งเพื่อให้ชาวบ้านมีน้ำไว้ใช้ กฟผ. รับสนองพระราชประสงค์ โดยสร้างเขื่อน “ห้วยกุ่ม” สร้างเสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ก็เสด็จฯ พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิด ผู้ว่าการ กฟผ. ในเวลานั้นกราบบังคมทูลว่า ‘เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่เสด็จฯ มาเปิดเขื่อนเล็ก ๆ’ พระองค์ท่านเหลียวกลับมาบอกว่า “นี่เขื่อนใหญ่ที่สุดของฉันแล้ว”

ในหลวง รัชกาลที่ 9 กับ 7 เขื่อน โครงการพระราชดำริ
1. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
       เป็นเขื่อนกักเก็บน้ำที่ใหญ่ ยาว ลึก ที่สุดในประเทศไทย ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในลุ่มแม่น้ำป่าสัก และลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 2 ธันวาคม 2537 โดยกรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบ สืบเนื่องจากปัญหาการเกิดน้ำท่วมในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักในฤดูน้ำหลาก และขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน อันเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงพระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมถึงการสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และในวันที่ 7 ตุลาคม 2541 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามเขื่อนแห่งนี้ว่า “เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อันหมายถึง เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
       ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทำพิธีเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542

2. เขื่อนขุนด่านปราการชล
       ชื่อเดิมเรียกว่า “เขื่อนคลองท่าด่าน” เป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัดยาวที่สุดในประเทศไทยและในโลก ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก กั้นแม่น้ำนครนายก สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อเก็บกักน้ำในช่วงหน้าฝนไว้ในหน้าแล้ง และควบคุมไม่ให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร ไร่นาและพื้นที่การเกษตรในหน้าฝน โดยสร้างครอบฝายท่าด่านเดิม
       ตัวเขื่อนขุนด่านปราการชลประกอบด้วยเขื่อนหลักและเขื่อนรองสร้างด้วยคอนกรีตบดอัด ปัจจุบันเป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัดที่มีความยาวที่สุดในโลก มีความยาวรวม 2,720 เมตร ความสูง (สูงสุด) 93 เมตร รับน้ำที่ไหลจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ผ่านน้ำตกเหวนรกลงสู่อ่างเก็บน้ำ มีความจุ 224 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยทำให้มีน้ำในการทำเกษตรกรรม การอุปโภคบริโภค แก้ปัญหาดินเปรี้ยว เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา และบรรเทาอุทกภัย เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของนครนายก

3. เขื่อนรัชชประภา
       ชื่อเรียกดั้งเดิมว่า “เขื่อนเชี่ยวหลาน” เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของภาคใต้ อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อก่อนสร้างแล้วเสร็จได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “เขื่อนรัชชประภา มีความหมายว่า แสงสว่างแห่งราชอาณาจักร”
เขื่อนรัชชประภา เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคใต้ ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ระบบไฟฟ้า และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศชาติ นอกจากนี้ยังเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ในปี 2530 และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ในปี 2531

4. เขื่อนเจ้าพระยา
       เขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่บริเวณคุ้งบางกระเบียน หมู่ที่ 4 ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดเขื่อนเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2500 ทัศนียภาพรอบเขื่อนสวยงาม ช่วงเดือนมกราคมในบริเวณแม่น้ำเหนือเขื่อนจะมีฝูงนกเป็ดน้ำนับหมื่นมาอาศัยหากิน เขื่อนนี้ใช้ประโยชน์ด้านการชลประทาน การทดน้ำเพื่อการเกษตร โดยระบายน้ำจากแม่น้ำในภาคเหนือสู่ภาคกลางและอ่าวไทย ส่งน้ำไปในพื้นที่เพาะปลูกภาคกลางเข้าคลองส่งน้ำสายใหญ่รวม 5 สาย คือ แม่น้ำน้อย แม่น้ำท่าจีน คลองมะขามเฒ่า - อู่ทอง คลองชัยนาท - ป่าสัก และคลองชัยนาท - อยุธยา และยังใช้ผลิตไฟฟ้าสำหรับจ่ายภายในจังหวัด

5. เขื่อนแม่กวงอุดมธารา
       ลำน้ำแม่กวง เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำปิง มีต้นน้ำอยู่บริเวณเทือกเขาในเขตอำเภอดอยสะเก็ด ไหลผ่านอำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันทราย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอบ้านธิ อำเภอเมืองลำพูน และอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ในอดีตน้ำในลำน้ำกวงไหลเอ่อท่วมพื้นที่ของราษฎรได้รับความเสียหาย จนในปี 2472 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ทรงวางแผนจะสร้างฝายทดน้ำพร้อมเหมืองส่งน้ำ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ดและอำเภอสันกำแพง แต่เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณจึงต้องล้มเลิกไป
       เขื่อนแม่กวงอุดมธารา สร้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2519 โดยกรมชลประทานเริ่มสำรวจออกแบบและก่อสร้างในปี 2520 พร้อมทั้งขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการศึกษาความเหมาะสมของโครงการเพื่อขอใช้เงินกู้จากต่างประเทศ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเขื่อนว่า เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2538
       เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เป็นเขื่อนดินเก็บกักน้ำ ปิดกั้นลำน้ำแม่กวง ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เขื่อนหลัก เขื่อนฝั่งขวา และเขื่อนฝั่งซ้าย ระดับสันเขื่อนสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 390 เมตร มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำที่ระดับกักเก็บ 15 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง 204 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตร 148,400 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันทราย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอบ้านธิ และอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

6. เขื่อนภูมิพล
       แนวคิดสร้างเขื่อนแห่งนี้เกิดจากการที่ หม่อมหลวงชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประธาน เดินทางไปดูงานชลประทานที่สหรัฐฯ และเห็นความเป็นไปได้ที่จะสร้างเขื่อนขนาดใหญ่บนแม่น้ำปิง หม่อมหลวงชูชาติเสนอความเป็นไปได้ต่อรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อปี 2492 คณะรัฐมนตรีอนุมัติการสำรวจศึกษาโครงการ จนได้ข้อสรุปว่าที่เหมาะสม คือ บริเวณตำบลยันฮี จังหวัดตาก เมื่อหน่วยงานของสหรัฐฯ รับรองว่าสภาพพื้นที่ดังกล่าวสามารถสร้างเขื่อนได้ รัฐบาลเริ่มทุ่มงบประมาณตัดถนนจากถนนพหลโยธินเข้ามาถึงบริเวณที่ก่อสร้าง และเริ่มกระบวนการเจรจากู้เงินจากธนาคารโลก
       คณะรัฐมนตรีอนุมัติการก่อสร้าง เมื่อปี 2496 แรกเริ่มใช้ชื่อว่า “เขื่อนยันฮี” การเวนคืนเริ่มขึ้นในปี 2499 การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อปี 2500 โดยว่าจ้างบริษัทผู้รับเหมาจากสหรัฐฯ และมีบริษัทอื่นจาก 14 ประเทศร่วมเป็นที่ปรึกษา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นเขื่อนว่า “เขื่อนภูมิพล” เมื่อเดือนกรกฎาคม 2501 ศิลาฤกษ์วางเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2504 การก่อสร้างแล้วเสร็จและทำรัฐพิธีเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2507
       เขื่อนภูมิพลสร้างปิดกั้นแม่น้ำปิง ที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง 154 เมตร ยาว 486 เมตร ความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถรองรับน้ำได้สูงสุด 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อแรกก่อสร้างเสร็จถือเป็นเขื่อนรูปโค้งที่ใหญ่เป็นอันดับเจ็ดของโลก ใช้เงินในการก่อสร้างทั้งสิ้นราว 2,250 ล้านบาท เกือบครึ่งหนึ่งกู้จากธนาคารโลกเป็นเงิน 66 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

7. เขื่อนอุบลรัตน์
       เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของประเทศไทย ซึ่งสร้างขึ้นถัดจาก “เขื่อนภูมิพล” และเป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น และตำบลโนนสัง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ปิดกั้นแม่น้ำพองสาขาย่อยของแม่น้ำชี ตัวเขื่อนเป็นหินถมแกนดินเหนียว ยาว 885 เมตร สูง 32 เมตร สันเขื่อนกว้าง 6 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุ 2,263 ล้านลูกบาศก์เมตร ผลิตไฟฟ้าได้ 55 ล้านกิโลวัตต์ - ชั่วโมง
       การสร้างเขื่อนริเริ่มขึ้นในชื่อ “โครงการน้ำพอง” เมื่อปี 2503 โดยได้รับความร่วมมือจากกองทุนพิเศษแห่งสหประชาชาติ ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2507 ดำเนินการสร้างแล้วเสร็จในปี 2508 และเนื่องจากบริเวณที่สร้างเขื่อน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านช่องเขาทั้งสอง ซึ่งแม่น้ำพองดูเหมือนถูกหนีบ ชาวบ้านจึงเรียกเขื่อนนี้ว่า “เขื่อนพองหนีบ” ตามชื่อดั้งเดิมของบริเวณนี้ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2509 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน พระราชทานชื่อเขื่อนนี้ว่า “เขื่อนอุบลรัตน์”

โครงการฝายชะลอน้ำหรือแม้ว
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการอยู่รอดของป่าไม้เป็นอย่างยิ่ง ทรงเสนออุปกรณ์อันเป็นเครื่องมือที่จะใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ที่ได้ผลดียิ่ง กล่าวคือ ปัญหาสำคัญที่เป็นตัวแปรแห่งความอยู่รอดของป่าไม้นั้น “น้ำ” คือสิ่งที่ขาดไม่ได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงแนะนำให้ใช้ “ฝายกั้นน้ำหรือเรียกว่า Check Dam หรืออาจเรียกขานกันว่าฝายชะลอความชุ่มชื้นก็ได้เช่นกัน”
       Check Dam คือสิ่งที่ก่อสร้างขวางกั้นทางเดินของลำน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นห้วยลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำหรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ทำให้พืชสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลงและกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปในบริเวณลุ่มน้ำตอนล่าง นับเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีการหนึ่ง

ประเภทของ Check Dam นั้น ทรงจำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังพระราชดำรัสคือ
“...Check Dam มี 2 อย่าง ชนิดหนึ่งสำหรับให้มีความชุ่มชื้น รักษาความชุ่มชื้น อีกอย่างสำหรับป้องกันไม่ให้ทรายลงในอ่างใหญ่...”

ประเภทแรก คือ ฝายต้นน้ำลำธารหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น
ประเภทที่สอง คือ ฝายดักตะกอนนั่นเอง
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพิจารณาสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นขึ้น เพื่อสร้างระบบวงจรน้ำแก่ป่าไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือให้ดำเนินการสำรวจทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูงที่ใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝายดังกล่าวจำเป็นจะต้องออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ปริมาณมากพอสมควรเป็นเวลานาน 2 เดือน การเก็บรักษาน้ำสำรองได้นานหลังจากฤดูฝนผ่านไปแล้ว จะทำให้มีปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงและประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่แข็งแรงและโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้งอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยการจ่ายน้ำออกไปรอบ ๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้

ประเภทของฝายชะลอน้ำหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น แบ่งได้ 2 ประเภท
1. ฝายต้นน้ำลำธาร หรือฝายชะลอความชุ่มชื้น
       เป็นฝายที่กักเก็บน้ำให้ไหลช้าลง และสามารถซึมลงใต้ผิวดิน เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นบริเวณนั้น

2. ฝายดักตะกอนดิน ทราย
       เป็นฝายที่ดักตะกอนดินและทราย ไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่าง

รูปแบบของฝายสามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ
1. แบบท้องถิ่นเบื้องต้น หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ฝายแม้ว”
       เป็นการก่อสร้างด้วยวัสดุมีอยู่ตามธรรมชาติที่ เช่น กิ่งไม้ ท่อนไม้ ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่างๆ ในลำห้วย หรือร่องน้ำ โดยจะสามารถดักตะกอน ชะลอการไหลของน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่บริเวณพื้นที่รอบ ๆ ฝายได้

2. แบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร
       เป็นการก่อสร้างด้วยการเรียงหินเป็นผนังกั้นน้ำ ก่อสร้างบริเวณตอนกลางและตอนล่างของลำห้วยหรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอน และเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งได้บางส่วน

3. แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก
       เป็นการก่อสร้างแบบถาวร ส่วนมากจะดำเนินการในบริเวณตอนปลายของลำห้วยหรือร่องน้ำ ทำให้สามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี ค่าก่อสร้างขึ้นอยู่กับขนาดของลำห้วย ซึ่งควรมีความกว้างไม่เกิน 4 เมตร

ประโยชน์ของฝายชะลอน้ำ
       1. ช่วยเก็บกักน้ำ
       2. ช่วยลดความรุนแรงของการเกิดไฟป่า
       3. ช่วยลดการพังทลายของหน้าดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย
       4. ช่วยกักเก็บตะกอนและวัสดุต่างๆ ที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วย
       5. ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
       6. เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค

Check Dam จึงนับเป็นพระราชดำริที่เป็นทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้ที่ยังประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติทั้งมวล

ขอบคุณข้อมูลจาก : เล่าเรื่องพ่อ ร.9, พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย

คำที่ควรรู้
*ค.ส.ล. : คอนกรีตที่ใช้เหล็กเส้นหรือตะแกรงเหล็กเสริมภายในเพื่อเพิ่มความแข็งแรง.
*สัมฤทธิผล : ประสิทธิ์, การบรรลุผล, ความสำเร็จ, ความเสร็จสิ้น, การบรรลุเป้าหมาย.
*นานัปการ : มากมาย, มีหลายอย่าง, นานาประการ ก็ว่า.