ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (6 ศูนย์ทั่วประเทศ)


ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (6 ศูนย์ทั่วประเทศ)


ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(6 ศูนย์ทั่วประเทศ)

       พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น โดยมีแนวคิดที่สำคัญคือ เป็นศูนย์ศึกษา และพัฒนา (Research & Development) และนำผลการศึกษาที่ประสบผลสำเร็จมาเป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในลักษณะพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต สำหรับให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานจากการปฏิบัติจริง เป็นตัวอย่างของการบริหารงานแบบบูรณาการในลักษณะรวมศูนย์ในการผสานความร่วมมือร่วมใจกันของหน่วยงานราชการในการทำงานเพื่อบริการประชาชนและเป็นระบบการบริการเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว ที่ประชาชนสามารถเข้ามาเรียนรู้และขอรับบริการได้ในที่แห่งเดียวกัน

       ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จัดตั้งขึ้นจำนวน 6 แห่ง ในทุกภูมิภาคของประเทศซึ่งมีลักษณะสภาพปัญหาที่แตกต่างกัน จึงมีการดำเนินงานที่เห็นเป็นรูปธรรมแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เหล่านี้ ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศโดยมีรูปแบบภารกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหา ศักยภาพ และความต้องการของพื้นที่ ดังนี้

       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
       : ภารกิจหลัก คือ การศึกษา การปรับปรุง และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ อันได้แก่ ดิน นํ้า ป่าไม้ ที่เสื่อมโทรมให้สามารถกลับมาใช้ทำการเกษตรได้ เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในเรื่องป่าหาย นํ้าแห้ง ดินเลว ก็พัฒนาได้

       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
       : ภารกิจหลัก คือ การศึกษา วิจัย พัฒนาสภาพดินเปรี้ยว ที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรไม่ได้ ให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อีก เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในเรื่องป่าพรุเสื่อมโทรม สะสมดินเปรี้ยว แกล้งดินอย่างเดียว พัฒนาได้อย่างยั่งยืน

       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
       : ภารกิจหลัก คือ การศึกษา วิจัย ทดลอง และสาธิตการพัฒนา อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งในลักษณะบูรณาการ เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในเรื่องการพัฒนาจากยอดเขาสู่ท้องทะเล

       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
       : ภารกิจหลัก คือ การพัฒนาระบบชลประทาน พัฒนาระบบการปลูกพืชเศรษฐกิจ การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของป่า การปรับปรุงบำรุงดิน พัฒนาและส่งเสริมด้านปศุสัตว์และด้านการประมง เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในเรื่องสร้างนํ้า เพิ่มป่า พัฒนาชีวิตที่พอเพียง


       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
       : ภารกิจหลัก คือ การศึกษา ทดลอง แสวงหารูปแบบในการพัฒนาพื้นที่บริเวณต้นนํ้าลำธารของภาคเหนือ เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาลุ่มนํ้าอื่น ๆ ในภูมิภาค โดยใช้ระบบชลประทานเข้าเสริม เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในเรื่อง ต้นทางเป็นป่าไม้ ปลายทางเป็นประมง ระหว่างทางเป็นเกษตรกรรม


       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
       : ภารกิจหลัก คือ ฟื้นฟูป่าไม้อเนกประสงค์ ศึกษารูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และปลูกป่า เพื่อให้ราษฎรที่บุกรุกที่โดยมิชอบเข้าร่วมในกิจกรรมของโครงการ ร่วมพัฒนา อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างถูกต้องและเกื้อกูลกันระหว่างคนกับธรรมชาติ เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในเรื่อง ฟื้นดินคืนป่า เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต


       ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทั้ง 6 แห่ง นอกจากจะดำเนินการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังได้ขยายผลการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จไปยังหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ เอกชน ประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขยายผลการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากศูนย์ศึกษาฯ ให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้เสริมสร้างศักยภาพศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่ประสบความสำเร็จจากการขยายผลของศูนย์ศึกษาฯ เพื่อเป็นแหล่งองค์ความรู้และเป็นแบบอย่างให้บุคคลทั่วไปได้ศึกษาเรียนรู้อย่างกว้างขวาง



พระราชดำริในการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศรวม 6 แห่ง โดยมีแนวคิดที่สำคัญ คือ เป็นศูนย์ศึกษาและพัฒนา เมื่อดำเนินการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง จนได้ผลสำเร็จแล้วจะนำไปขยายผลให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้นำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง เพื่อเป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จของการศึกษาและการพัฒนา เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต โดยคำนึงถึงภูมิประเทศ ภูมิสังคม กล่าวคือ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่แสดงถึงลักษณะภูมิประเทศ ภูมิสังคม วัฒนธรรม การประกอบอาชีพของท้องถิ่น และประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาให้กับท้องถิ่น โดยมีความเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหว มีความเจริญงอกงามอยู่ตลอดเวลา และมีประโยชน์แก่ราษฎร ที่จะมองเห็นสิ่งที่เป็นวิวัฒนาการที่สามารถเข้ามาศึกษา นำความรู้ต่าง ๆ ภายในศูนย์ฯ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่ของตนเองได้จริง

       นอกจากนี้ทรงคัดเลือกพื้นที่ด้วยพระองค์เอง เพื่อเป็นตัวแทนของภูมิภาค เป็นพื้นที่ส่วนย่อที่สอดคล้องกับภูมิภาคและเป็นตัวอย่างของภูมิภาคอย่างแท้จริงที่เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้ เป็นตัวอย่างของการบริหารงานรูปแบบใหม่ การพัฒนาแบบบูรณาการ คือ รูปแบบการจัดการบริหารราชการแผ่นดินไทยที่รวมเอากิจกรรมและการดำเนินงานของหน่วยงานหลายหน่วยงานเข้าไว้ด้วยกัน เป็นลักษณะรวมศูนย์ และยิ่งไปกว่านั้นยังมีส่วนของเอกชนและองค์กรที่มิใช่รัฐบาลร่วมประสานการดำเนินงานอยู่ด้วย การดำเนินงานในรูปแบบดังกล่าว เป็นการผสานความร่วมมือกันทำงานเพื่อให้บริการประชาชนของแต่ละหน่วยงาน การจัดรูปแบบการบริหารศูนย์ฯ โดยมิได้มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าของ แต่ใช้ร่วมมือร่วมใจกันทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนเป็นหลัก และเป็นระบบการบริการเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว ที่เกษตรกรและประชาชนผู้สนใจสามารถก้าวเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต ซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และสามารถขอรับบริการในเรื่องการใช้พื้นที่ด้านการเกษตร ด้านนํ้า ด้านเมล็ดพันธุ์พืช ด้านการตลาด และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับวงจรการประกอบอาชีพและการทำมาหากิน ตลอดจนให้บริการฝึกอบรม ณ ที่แห่งเดียว ทำให้เกษตรกรประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในคราวเดียวกันด้วย

       นอกจากนี้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทั้ง 6 แห่ง ยังได้ขยายผลการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จไปยังหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ เอกชน ประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขยายผลการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากศูนย์ฯ ให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้เสริมสร้างศักยภาพศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่ประสบความสำเร็จจากการขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเป็นแหล่งองค์ความรู้และเป็นแบบอย่างให้บุคคลทั่วไปได้ศึกษาเรียนรู้อย่างกว้างขวาง

ความเป็นมาเกี่ยวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
       ในการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น นอกจากแนวทางและหลักการดังกล่าวข้างต้น คือ การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน โดยที่จะต้องทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งก่อน แล้วมีการพัฒนาต่อไปให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ ขณะเดียวกันจะต้องอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความรู้เทคนิควิชาการสมัยใหม่พร้อม ๆ กันไปด้วย อย่างไรก็ตามในการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น จะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และสังคมวิทยาของแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันด้วยเสมอ ดังพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ความตอนหนึ่งว่า

“...การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา
คือ นิสัยใจคอของคนเรา จะไปบังคับให้คนอื่นคิดอย่างอื่นไม่ได้
เราต้องแนะนำ เราเข้าไปช่วยโดยที่จะคิดให้เขาเข้ากับเราไม่ได้
แต่ถ้าเราเข้าไปแล้ว เราเข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไรจริง ๆ
แล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจหลักการของการพัฒนานี้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ....”

       ด้วยหลักการดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ขึ้น ตามภูมิภาคต่าง ๆ จำนวน 6 ศูนย์ โดยมีพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2526 เป็นแนวทางดังนี้
       1. เป็นการสาธิตการพัฒนาเบ็ดเสร็จ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างทุกด้านของชีวิตประชาชนที่จะหาเลี้ยงชีพในท้องที่จะทำอย่างไร และได้เห็นวิทยาการแผนใหม่จะสามารถที่จะหาดูวิธีการ จะทำมาหากินให้มีประสิทธิภาพ
       2. ด้านหนึ่งก็เป็นจุดประสงค์ของศูนย์ศึกษาก็เป็นสถานที่สำหรับค้นคว้า วิจัยในท้องที่ เพราะว่าแต่ละท้องที่ สภาพฝน ฟ้า อากาศ และประชาชนในท้องที่ต่างกัน ก็มีลักษณะแตกต่างกันมากเหมือนกัน
       3. กรมกองต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชนทุกด้าน ได้สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปรองดองกัน ประสานกัน ตามธรรมดาแต่ละฝ่ายต้องมีศูนย์ของตน แต่ว่าอาจจะมีงานถือว่าเป็นศูนย์ของตนเอง คนอื่นไม่เกี่ยวข้อง และศูนย์ศึกษาการพัฒนาเป็นศูนย์ที่รวบรวมกำลังทั้งหมดของเจ้าหน้าที่ทุกกรม ทั้งในด้านเกษตรหรือในด้านสังคม ทั้งในด้านหางานการส่งเสริมการศึกษามาอยู่ด้วยกัน ก็หมายความว่าประชาชนซึ่งจะต้องใช้วิชาการทั้งหลายก็สามารถที่จะมาดู ส่วนเจ้าหน้าที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่ประชาชนก็มาอยู่พร้อมกันในที่เดียวกันเหมือนกัน ซึ่งเป็นสองด้าน ก็หมายถึงว่าที่สำคัญปลายทางคือ ประชาชนจะได้รับประโยชน์และต้นทางของผู้เป็นเจ้าหน้าที่จะให้ประโยชน์

แนวทางและวัตถุประสงค์ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
       จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สามารถสรุปแนวทางและวัตถุประสงค์ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ได้ดังนี้คือ
       1. ทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย
       เพื่อแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จึงเปรียบเสมือน “ตัวแบบ” ของความสำเร็จที่จะเป็นแนวทางและตัวอย่างของผลสำเร็จให้แก่พื้นที่อื่น ๆ โดยรอบได้ทำการศึกษา
       2. การแลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างนักวิชาการ นักปฏิบัติ และประชาชน
       การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัยต่าง ๆ ที่ได้ผลแล้วควรจะนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่จริงได้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ควรเป็นแหล่งผสมผสานวิชาการและการปฏิบัติ เป็นแหล่งความรู้ของราษฎร เป็นแหล่งศึกษาทดลองของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนถ่ายทอดประสบการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหาระหว่างคน 3 กลุ่ม คือ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ ซึ่งทำหน้าที่พัฒนาส่งเสริม และราษฎร
       3. การพัฒนาแบบผสมผสาน
       เป็นตัวอย่างที่ดีของแนวความคิดแบบสหวิทยาการ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในพื้นที่นั้น ๆ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ แต่ละแห่ง จะเป็นแบบจำลองของพื้นที่และรูปแบบการพัฒนาที่ควรจะเป็น เพื่อเป็นตัวอย่างว่าในพื้นที่และรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ลักษณะหนึ่ง ๆ นั้น จะสามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ได้โดยวิธีใดบ้าง มิใช่การพัฒนาเฉพาะทางใดทางหนึ่ง แต่พยายามใช้ความรู้มากสาขามากที่สุด แต่ละสาขาให้เป็นประโยชน์เกื้อหนุนกับการพัฒนาสาขาอื่น ๆ และระบบของศูนย์ศึกษาฯ ควรเป็นการผสมผสานไม่เพียงเฉพาะเรื่องความรู้เท่านั้น แต่ต้องมีการผสมผสานการดำเนินงานและการบริหารที่เป็นระบบด้วย
       4. การประสานงานระหว่างส่วนราชการ
       เป็นแนวทางและวัตถุประสงค์ที่สำคัญยิ่งประการหนึ่ง เนื่องจากกระบวนการพัฒนาและระบบราชการไทยมีปัญหานี้โดยพื้นฐาน เป็นสิ่งบั่นทอนประสิทธิภาพและผลสำเร็จของงานลงอย่างน่าเสียดาย แนวทางการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาฯ ทุกแห่งจึงเน้นการประสานงาน การประสานแผน และการจัดการระหว่างกรม กอง และส่วนราชการต่าง ๆ
       5. เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (one stop service)
       มีการศึกษาทดลองและสาธิตให้เห็นถึงความสำเร็จของการดำเนินงานพร้อม ๆ กันในทุกด้าน ทั้งด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง ตลอดจนการพัฒนาทางด้านสังคม และงานศิลปาชีพ ในลักษณะของ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” โดยจะมีให้ดูได้ทุกเรื่องในบริเวณศูนย์ศึกษาฯ ทั้งหมด ผู้สนใจหรือเกษตรกรจะได้รับความรู้รอบด้าน อีกทั้งมีความสะดวก รวดเร็ว ซึ่งนำไปสู่การได้รับประโยชน์สูงสุด

       ผลการศึกษาของแต่ละศูนย์นั้น จะเป็นความรู้ที่นำไปส่งเสริมให้แก่ประชากรเป้าหมาย และมีการสาธิตไว้ในพื้นที่ของศูนย์ศึกษาฯ ประชาชนที่อยู่ในหมู่บ้านรอบ ๆ พื้นที่ศูนย์ศึกษาฯ จะเป็นประชากรเป้าหมายกลุ่มแรกที่จะได้รับประโยชน์ กล่าวคือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องงานส่งเสริมจะนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาในศูนย์ศึกษาฯ ที่ได้ผลดีไปแนะนำให้แก่เกษตรกรหมู่บ้านเป้าหมาย ซึ่งก่อนนี้เรียกว่า “หมู่บ้านบริวาร” แต่ปัจจุบันได้เรียกว่า “หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ” แต่ละศูนย์ศึกษาฯ จะมีประชากรหมู่บ้านรอบศูนย์อยู่ประมาณ 10 - 25 หมู่บ้าน

       ในการส่งเสริมนั้นทำหลายวิธีด้วยกัน ทั้งนี้แล้วแต่สภาพสังคมวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ เช่น ให้เกษตรกรเข้ามารับการอบรมในศูนย์ศึกษาฯ หลักสูตรต่าง ๆ เช่น การเพาะปลูกพืชชนิดต่าง ๆ การขยายพันธุ์พืช การเลี้ยงสัตว์ การประมง ฯลฯ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมออกไปแนะนำส่งเสริมในหมู่บ้าน หรือเกษตรกรเข้ามาศึกษาดูงานในศูนย์ศึกษาฯ ด้วยตนเองหรือเข้ามาเป็นหมู่คณะ เมื่อการส่งเสริมให้หมู่บ้านรอบศูนย์ได้ผลในระดับหนึ่งแล้ว หมู่บ้านเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นหมู่บ้านตัวอย่างให้เกษตรกรพื้นที่อื่น ๆ ที่ห่างออกไปได้เข้ามาศึกษาและดูงานได้ ทำให้การขยายผลการส่งเสริมของศูนย์ศึกษาฯ สามารถขยายขอบเขตกว้างขวางออกไปเรื่อย ๆ

       อย่างไรก็ตามแต่ละภูมิภาคอาจจะมีเรื่องปลีกย่อยที่ควรจะได้ทำการศึกษาเพิ่มเติม และพื้นที่ที่เหมาะสมอยู่แยกออกไปในพื้นที่อื่น เพื่อให้การดำเนินงานเหล่านั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดให้มี “ศูนย์สาขา” เพื่อทำการศึกษาเป็นการเฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่นั้น ๆ และผลที่ได้จากการศึกษาจักได้ส่งเสริมให้เกษตรนำไปใช้ในการประกอบอาชีพเช่นกัน

การบริหารและดำเนินงานภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
       เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาฯ ของแต่ละศูนย์ ในระยะเริ่มแรกมีรูปแบบองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารและอนุกรรมการของแต่ละศูนย์ที่แตกต่างกันออกไป ทำให้การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาฯ มีลักษณะหลากหลายและขาดเอกภาพ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาฯ สามารถจะดำเนินงานสนองพระราชดำริได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเอกภาพและสอดคล้องซึ่งกันและกัน คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535 ให้ดำเนินการปรับปรุงระบบบริหารงานของศูนย์ศึกษาฯ โดยให้ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการและอนุกรรมการที่ถือปฏิบัติแต่เดิมทั้งหมด ให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการอนุกรรมการวางแผนและติดตามประเมินผลชุดเดียว ดังนี้

1. คณะกรรมการบริหารศูนย์
       ประกอบด้วย องคมนตรีเป็นประธาน เลขาธิการ กปร. เป็นรองประธาน อธิบดีกรมที่เกี่ยวข้อง 12 คน ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ตั้งอยู่ 6 คน เป็นกรรมการ รองเลขาธิการ กปร. เป็นกรรมการและเลขานุการ ที่ปรึกษาด้านการประสานงานและผู้แทนสำนักงาน กปร. เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ รวมกรรมการทั้งสิ้น 23 คน มีหน้าที่กำหนดวัตถุประสงค์ นโยบาย และเป้าหมายในการดำเนินงาน รวมทั้งแนวทางการบริหารโครงการ อำนวยการควบคุม กำกับ ดูแล ให้การดำเนินงานเป็นไปตามแนวพระราชดำริที่ได้กำหนดไว้ ติดตามผลและให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานให้บรรลุผล และกรรมการชุดนี้สามารถแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน หรือบุคคลเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น

2. อนุกรรมการแผนแม่บทและติดตามประเมินผล
       ประกอบด้วย เลขาธิการ กปร. เป็นประธานคณะอนุกรรมการ รองอธิบดีที่เกี่ยวข้อง 5 กรม เป็นรองประธานอนุกรรมการ ผู้แทนจากกรมที่เกี่ยวข้อง 9 กรม เป็นอนุกรรมการ ที่ปรึกษาด้านการประสานงาน สำนักงาน กปร. เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ผู้แทนสำนักงาน กปร. และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 ศูนย์ เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ คณะอนุกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำแผนแม่บทของศูนย์ศึกษาฯ ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของคณะกรรมการบริหาร ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงาน และพิจารณากลั่นกรองรายละเอียดโครงการและงบประมาณประจำปีตามที่ศูนย์ศึกษาฯ เสนอขอรับการสนับสนุน

3. องค์กรดำเนินงานศูนย์ศึกษาฯ แต่ละศูนย์ 
       ประกอบด้วย ผู้ดำเนินงานตามความเหมาะสม ซึ่งแต่งตั้งโดยประธานกรรมการบริหารโครงการ คืออนุกรรมการดำเนินงาน และคณะทำงานที่เป็นผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากส่วนกลางและระดับพื้นที่มากกว่า 10 กรม มาร่วมกันปฏิบัติงานคือ กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมชลประทาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ฯลฯ ในจำนวนเหล่านี้จะมีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอำนวยการตามความจำเป็น

ตัวอย่างความสำเร็จ
       ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริแต่ละแห่งมีการดำเนินงานและผลสำเร็จ ประกอบด้วย

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
       เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดศาลบวรราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ราษฎร 7 ราย ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน หมู่ที่ 2 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จำนวน 264 ไร่

       “...ประวัติมีว่า...ตอนแรกมีที่ดิน 264 ไร่ ที่ผู้ใหญ่บ้านให้ “เพื่อสร้างตำหนัก” ในปี 2520 ที่เชิงเขาหินซ้อนใกล้วัดหินซ้อน ตอนแรกก็ต้องค้นคว้าว่าที่ตรงนั้นคือตรงไหน ก็พยายามสืบถาม ก็ปรากฏว่าพบอยู่ในแผนที่ที่เขาหินซ้อนนั้น (แผนที่ 1 : 50,000 ระวาง 5236 I, II, 5336 III, IV) เมื่อได้ที่อย่างนั้น ได้คิดมา 2 ปี พยายามหาบนแผนที่ว่า สถานที่นี้เป็นอย่างไร เสร็จแล้วก็สอบถามดูว่าลักษณะของพื้นที่เป็นอย่างไร ก็ได้พบบนแผนที่พอดี อยู่มุมบนของระวางของแผนที่ จึงต้องต่อแผนที่ 4 ระวาง สำหรับให้ได้ทราบว่า สถานที่ตรงนั้นอยู่ตรงไหน แล้วก็เลยถามผู้ที่ให้ที่นั้นนะ ถ้าหากไม่สร้างพระตำหนัก แต่ว่าสร้างเป็นสถานที่ที่จะศึกษาเกี่ยวกับการเกษตรจะเอาไหม เขาก็บอกยินดี ก็เลยเริ่มทำในที่นั้น…” 

       จวบจนปัจจุบันเป็นระยะเวลา 44 ปี ที่ดำเนินการพัฒนาด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งการพัฒนาที่ดิน แหล่งน้ำ และป่าไม้ รวมถึงศึกษาทดลอง วิจัยเพื่อหาแนวทางการพัฒนาที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับภูมิสังคมในพื้นที่ ถูกต้องตามหลักวิชาการ และใช้เทคโนโลยีที่เรียบง่าย ประหยัด เกษตรกรสามารถนำไปดำเนินการเองได้ 

       ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินงานในลักษณะบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 13 หน่วยงาน โดยกรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการ ศูนย์ศึกษาฯ ทำหน้าที่ศึกษา ทดลอง สาธิต เพื่อค้นหาแนวทางและวิธีการพัฒนาด้านการเกษตรที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม ซึ่งเป็นต้นแบบเพื่อขยายผลสู่ราษฎรต่อไป ปัจจุบันมีพื้นที่ดำเนินงานจำนวน 43 หมู่บ้าน ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบลของอำเภอพนมสารคาม ประกอบด้วย ตำบลเขาหินซ้อน ตำบลเกาะขนุน และตำบลบ้านซ่อง ภายใต้วิสัยทัศน์ “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ สู่การพัฒนาอาชีพและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนตามวิถีพอเพียง”

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
       เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2525 พระบาทสมพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย แสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภูมิสังคมของท้องถิ่น และเป็นแบบจำลองของพื้นที่ที่มีการพัฒนาแบบผสมผสานทุกสาขาในลักษณะสหวิทยา และมีการบริหารที่เป็นระบบ มีการดำเนินงานที่มีเอกภาพ เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในลักษณะของ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” รวมทั้งนำผลสำเร็จของโครงการฯ ขยายผลไปสู่ประชาชน โดยได้กำหนดแผนการศึกษาดำเนินงานแบ่งออกเป็น 4 แผนงาน ได้แก่ แผนงานศึกษาทดลองวิจัยตามแนวพระราชดำริ แผนงานขยายผลการพัฒนา แผนงานฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแผนงานบริหารจัดการพัฒนาพื้นที่พรุและพื้นที่ดินเปรี้ยว ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรให้ได้ผลดีที่สุด 



ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2524 โดยมีพระราชดำริแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ความว่า “ให้พิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสมจัดทำโครงการพัฒนาด้านอาชีพการประมงและการเกษตรในเขตพื้นที่ดินชายฝั่งทะเลจังหวัดจันทบุรี” ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้นที่ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โดยมีกรมประมงเป็นหน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินงาน เพื่อพัฒนาอาชีพด้านการประมงและการเกษตรในพื้นที่ดินชายฝั่งทะเลของจังหวัดจันทบุรี โดยเป็นศูนย์สาธิต ศึกษา ทดลอง วิจัย พัฒนาด้านการเกษตรและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามแนวทางการพัฒนาจากยอดเขาสู่ท้องทะเล
       ศูนย์ศึกษาฯ มีหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมดำเนินงานสนองพระราชดำริ ขยายผลในพื้นที่เป้าหมายหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาฯ จำนวน 33 หมู่บ้าน ครอบคลุมพื้นที่ ๕ ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองขุด ตำบลรำพัน ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ และตำบลสนามไชย ตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม การดำเนินงานที่ผ่านมายังผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่โดยรอบศูนย์ศึกษาฯ ดีขึ้น สภาพสิ่งแวดล้อมมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น และเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้สำหรับประชาชนที่มาเยี่ยมชมเพื่อนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไป

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
       เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาโครงการจัดหาน้ำสนับสนุนโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาทดลองงานพัฒนาการเกษตรต่าง ๆ ตามความเหมาะสม สำหรับเป็นตัวอย่างให้ราษฎรนำไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง และพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ให้เป็นศูนย์ให้บริการในด้านเทคนิคและวิชาการที่ครบวงจร เพื่อให้ราษฎรเข้ามาเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน “สร้างน้ำ เพิ่มป่า พัฒนาชีวิตที่พอเพียง”

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2525 ให้พิจารณาจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น บริเวณป่าขุนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยกรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลัก เพื่อแสวงหารูปแบบการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศภาคเหนือ โดยมีเป้าหมายหลักคือ การศึกษาพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร กล่าวคือ การฟื้นฟูป่า ดิน และน้ำ การศึกษา สาธิต และส่งเสริมด้านการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ การเกษตรกรรม การปศุสัตว์ และการเกษตรอุตสาหกรรม
       ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ได้จัดทำแผนงาน/กิจกรรมการดำเนินงานบริหารจัดการโครงการ แผนงานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ แผนงานศึกษาวิจัยและทดลอง แผนงานการจัดการความรู้ และแผนงานดำเนินงานขยายผล โดยมุ่งเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การสร้างฝายต้นน้ำลำธารแบบท้องถิ่น การสร้างจิตสำนึกในการใช้และอยู่ร่วมกับป่าอย่างสมดุลยั่งยืน และการปลูกป่า เป็นต้น ควบคู่กับการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมที่มีความหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของราษฎร โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของราษฎรเป็นสำคัญ ทั้งยังให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาทักษะ สร้างความรู้ และส่งเสริมอาชีพของราษฎรในพื้นที่เป้าหมายให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ก่อน จากนั้นค่อยก้าวสู่การสร้างรายได้เสริมโดยการรวมกลุ่ม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่ม ชุมชน สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังได้ดำเนินงานขยายผลไปยังพื้นที่หมู่บ้านรอบบริเวณศูนย์ศึกษาฯ จำนวน 18 หมู่บ้าน โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของราษฎร ให้ราษฎรเป็นผู้เลือกแนวทางการพัฒนา ทำให้ราษฎรมีความตั้งใจและเกิดความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น ส่งผลให้การดำเนินงานขยายผลการพัฒนาของศูนย์ศึกษาฯ สามารถดำเนินตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
       เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริให้พัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาด้านการเกษตรกรรม โดยเน้นการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้กลับอุดมสมบูรณ์ดังเดิม สามารถทำการปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการปลูกป่า จัดหาแหล่งน้ำสนับสนุนการปลูกป่าและการเพาะปลูกพืช จัดระเบียบราษฎร ให้ราษฎรในพื้นที่โครงการให้เข้าอยู่อาศัย และทำกินอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับธรรมชาติ ให้ราษฎรเข้าร่วมดูแลรักษา ตลอดจนได้อาศัยผลผลิตจากป่าและเพาะปลูกพืชต่าง ๆ โดยไม่ต้องเข้าไปบุกรุกทำลายป่าไม้อีกต่อไป
       การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ มีประชาชนในพื้นที่เป้าหมายได้รับประโยชน์โดยตรง ในการดำเนินงานจะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการเป็นต้นแบบการพัฒนา เป็นแหล่งถ่ายทอดเทคโนโลยี และส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมให้แก่เกษตรกรและประชาชนที่สนใจ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นแหล่งอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าไม้ สัตว์ป่า รวมทั้งเพาะพันธุ์สัตว์ป่า และเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกอบรมเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป ซึ่งผลสำเร็จของศูนย์ศึกษาฯ ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน คือ จำนวนเกษตรกรที่สามารถนำความรู้และปัจจัยการผลิตไปใช้ในการดำเนินชีวิตจนสามารถพึ่งตนเองได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี

ผลสำเร็จของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
       โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินงานมากว่า 40 ปี มีผลสำเร็จการดำเนินงาน มีผลงานศึกษา ทดลอง ทดสอบ คัดเลือกเรื่องดีเด่น (High Light) ศูนย์ละประมาณ 19 เรื่อง เช่น
       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ – ฝาย / เห็ด / กบนา / ปลาในบ่อซีเมนต์
       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ – ไก่ดำ / หมูดำ / โคดำ / ข้าวหอมมะลิ
       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ – ข้าวอินทรีย์ / เห็ด / พืชสมุนไพร
       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ – เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ / กุ้งระบบปิด
       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ – ทฤษฎีใหม่ / เกษตรผสมผสาน / แฝก

การศึกษา ทดลอง วิจัย ที่สามารถตอบสนองปัญหาของประชาชนในท้องถิ่น
       งานศึกษา ทดลอง วิจัย ที่สามารถนำไปต่อยอดขยายผลเพื่อตอบสนองปัญหาของประชาชนในท้องถิ่นได้ ทั้งนี้ ศูนย์ศึกษาฯ ควรมีการนำวัสดุ/วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาใช้ในการศึกษาวิจัยหรือศึกษาวิจัยในประเด็นอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับท้องถิ่น มีตัวอย่างการดำเนินงาน เช่น
       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ 
       ให้ความสำคัญและดำเนินการศึกษาวิจัยด้านสังคมศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างการเกษตร ครัวเรือนสังคม
       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ และวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
       ร่วมกันศึกษาวิจัยด้านสังคมศาสตร์เกี่ยวกับวัฒนธรรม ความต้องการ ปัญหาอุปสรรคในการดำรงชีวิตของเกษตรกรในท้องถิ่น เกษตรกรที่พำนักอยู่บริเวณรอบศูนย์ศึกษาฯ และการดำรงอยู่และวัฒนธรรมของชนเผ่าต่าง ๆ
      • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ 
      มีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับหมอกควันที่เกิดจากการเผาป่าและวิธีการเผาป่ามีความจำเป็นกับระบบนิเวศมากน้อยแค่ไหน
       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ
       มีความคิดว่าหากมีการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดแบบควบคุมอุณหภูมิ จะเป็นประโยชน์ต่องานวิจัยด้านเห็ดที่จะขยายไปสู่ชาวบ้านได้

ด้านขยายผลแนวทางการขยายผลโดยการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย
       โครงการความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยขยายผลสู่ประชาชนทั่วประเทศ ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ซึ่งรวมถึงการดำเนินการร่วมกับกระทรวงมหาดไทยในการดำเนินงาน “โครงการฝึกอบรมเกษตรกรภายใต้ผลสำเร็จของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ขอความร่วมมือจากกระทรวงมหาดไทยในการประสานกับจังหวัดให้คัดเลือกผู้เข้ารับการอบรม โดยขอให้เป็นเกษตรกรผู้ที่สนใจจริง และมีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน เช่น การเดินทาง การเข้าร่วมการอบรม การนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

       • การขยายผลผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต./เทศบาล/อบจ.)
       การดำเนินการดังกล่าวเป็นการใช้ช่องทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อช่วยสื่อสาร ชักจูง และคัดกรองประชาชน/เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามารับถ่ายทอดความรู้จากศูนย์ศึกษาฯ ได้อย่างกว้างขวางขึ้น โดยศูนย์ศึกษาฯ ที่มีความพร้อมขอให้ทยอยดำเนินการ

       • การขยายผลไปยังนักเรียน นักศึกษา ในจังหวัดใกล้เคียง
       ศูนย์ศึกษาฯ ได้รายงานผลดำเนินงานของศูนย์ศึกษาฯ ผ่านภาคีเครือข่าย โรงเรียน ตชด. และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ทั่วประเทศ

       • การขยายผลไปยังกลุ่มผู้ใช้น้ำในเครือข่ายโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
       การดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแหล่งน้ำฯ ในลักษณะการพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการ พื้นที่ 13 จังหวัด ในพื้นที่ภาคเหนือ (6 จังหวัด) และพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (7 จังหวัด) เพื่อระดมความคิดเห็นร่วมกันทั้งภาคราชการ สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มผู้ใช้น้ำ เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานที่ผ่านมา และร่วมกันสรุปหาตัวแบบ (Model) ความสำเร็จหรือแนวทางในการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำฯ ร่วมกัน

       ในภาพรวมที่ผ่านมา การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาฯ มีความสอดคล้องกับแนวพระราชดำริและนโยบายต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จเกิดประโยชน์แก่ประชาชนเป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทศูนย์ศึกษาฯ เมื่อปี พ.ศ. 2559 โดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) พบว่า เกษตรกรร้อยละ 43.3 มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก และเกษตรกรร้อยละ 50.0 มีความเป็นอยู่ดีขึ้นพอสมควร โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปีเป็นเงิน 216,821.98 บาท และมีรายจ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปีเป็นเงิน 146,306.98 บาท ทั้งนี้ ส่วนใหญ่มีรายได้พอเพียงกับรายจ่าย และมีเงินออมในครัวเรือน

       นอกจากนี้งานขยายผลของศูนย์ศึกษาฯ ยังช่วยให้เกษตรกรได้มีส่วนร่วมในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของประเทศให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามศูนย์ศึกษาฯ มีแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการของแต่ละศูนย์เป็นเครื่องมือชี้นำการดำเนินงานให้สอดคล้องกับพระราชดำริและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยมีจุดเน้นที่แตกต่างกันตามลักษณะภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่ที่ศูนย์ตั้งอยู่ และบังเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การดำเนินงานในภาพรวมของศูนย์ศึกษาฯ ยังคงมีความจำเป็นต้องมีเครื่องมือชี้นำการดำเนินงานเพื่อพัฒนางานศึกษา ทดลอง วิจัย ส่งเสริมขยายผลสำเร็จไปสู่ประชาชน ตลอดจนกำกับดูแลให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของศูนย์ศึกษาฯ ทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติมีความถูกต้อง ครบถ้วน และสมบูรณ์จนเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดียิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องงานศึกษา ทดลอง วิจัย งานขยายผล และงานบริหารจัดการ

       สำนักงาน กปร. ในฐานะหน่วยงานกลางในการประสานการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเป็นหน่วยงานหลักในองค์กรบริหารศูนย์ศึกษาฯ จึงมีบทบาทสำคัญในการจัดทำแผนแม่บทศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อกำกับให้การบริหารจัดการศูนย์ศึกษาฯ ทั้ง 6 แห่ง เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องตามแนวพระราชดำริ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม เกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมและสามารถวัดผลการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน โดยเริ่มตั้งแต่แผนแม่บทศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. 2555 - 2559 ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สำนักงาน กปร. จึงได้จัดทำแผนแม่บทศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. 2560 - 2564 ขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายในการกำหนดทิศทางให้ศูนย์ศึกษาฯ ไปสู่การทำหน้าที่เป็นแหล่งองค์ความรู้แนวพระราชดำริขยายผลสู่ประชาชนอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานการบริหารจัดการที่ดี นำไปสู่วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงวางรากฐานการพัฒนาโดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ
“ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของราษฎร” 

       ซึ่งจะต้องพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งก่อน เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเอง และจะต้องสอดคล้องกับการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมความรู้ เทคนิค วิชาการ อันทันสมัย เรียบง่าย ประหยัด ถูกต้องตามหลักวิชาการ คำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางด้านภูมิศาสตร์และสังคมวิทยาของแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันด้วยเสมอ

ข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(6 ศูนย์ทั่วประเทศ)

       พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น โดยมีแนวคิดที่สำคัญคือ เป็นศูนย์ศึกษา และพัฒนา (Research & Development) และนำผลการศึกษาที่ประสบผลสำเร็จมาเป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในลักษณะพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต สำหรับให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานจากการปฏิบัติจริง เป็นตัวอย่างของการบริหารงานแบบบูรณาการในลักษณะรวมศูนย์ในการผสานความร่วมมือร่วมใจกันของหน่วยงานราชการในการทำงานเพื่อบริการประชาชนและเป็นระบบการบริการเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว ที่ประชาชนสามารถเข้ามาเรียนรู้และขอรับบริการได้ในที่แห่งเดียวกัน

       ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จัดตั้งขึ้นจำนวน 6 แห่ง ในทุกภูมิภาคของประเทศซึ่งมีลักษณะสภาพปัญหาที่แตกต่างกัน จึงมีการดำเนินงานที่เห็นเป็นรูปธรรมแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เหล่านี้ ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศโดยมีรูปแบบภารกิจสอดคล้องกับสภาพปัญหา ศักยภาพ และความต้องการของพื้นที่ ดังนี้

       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
       : ภารกิจหลัก คือ การศึกษา การปรับปรุง และการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ อันได้แก่ ดิน นํ้า ป่าไม้ ที่เสื่อมโทรมให้สามารถกลับมาใช้ทำการเกษตรได้ เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในเรื่องป่าหาย นํ้าแห้ง ดินเลว ก็พัฒนาได้

       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
       : ภารกิจหลัก คือ การศึกษา วิจัย พัฒนาสภาพดินเปรี้ยว ที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรไม่ได้ ให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อีก เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในเรื่องป่าพรุเสื่อมโทรม สะสมดินเปรี้ยว แกล้งดินอย่างเดียว พัฒนาได้อย่างยั่งยืน

       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
       : ภารกิจหลัก คือ การศึกษา วิจัย ทดลอง และสาธิตการพัฒนา อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งในลักษณะบูรณาการ เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในเรื่องการพัฒนาจากยอดเขาสู่ท้องทะเล

       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
       : ภารกิจหลัก คือ การพัฒนาระบบชลประทาน พัฒนาระบบการปลูกพืชเศรษฐกิจ การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของป่า การปรับปรุงบำรุงดิน พัฒนาและส่งเสริมด้านปศุสัตว์และด้านการประมง เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในเรื่องสร้างนํ้า เพิ่มป่า พัฒนาชีวิตที่พอเพียง


       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
       : ภารกิจหลัก คือ การศึกษา ทดลอง แสวงหารูปแบบในการพัฒนาพื้นที่บริเวณต้นนํ้าลำธารของภาคเหนือ เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาลุ่มนํ้าอื่น ๆ ในภูมิภาค โดยใช้ระบบชลประทานเข้าเสริม เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในเรื่อง ต้นทางเป็นป่าไม้ ปลายทางเป็นประมง ระหว่างทางเป็นเกษตรกรรม


       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
       : ภารกิจหลัก คือ ฟื้นฟูป่าไม้อเนกประสงค์ ศึกษารูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และปลูกป่า เพื่อให้ราษฎรที่บุกรุกที่โดยมิชอบเข้าร่วมในกิจกรรมของโครงการ ร่วมพัฒนา อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างถูกต้องและเกื้อกูลกันระหว่างคนกับธรรมชาติ เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในเรื่อง ฟื้นดินคืนป่า เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต


       ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทั้ง 6 แห่ง นอกจากจะดำเนินการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังได้ขยายผลการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จไปยังหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ เอกชน ประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขยายผลการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากศูนย์ศึกษาฯ ให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้เสริมสร้างศักยภาพศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่ประสบความสำเร็จจากการขยายผลของศูนย์ศึกษาฯ เพื่อเป็นแหล่งองค์ความรู้และเป็นแบบอย่างให้บุคคลทั่วไปได้ศึกษาเรียนรู้อย่างกว้างขวาง



พระราชดำริในการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศรวม 6 แห่ง โดยมีแนวคิดที่สำคัญ คือ เป็นศูนย์ศึกษาและพัฒนา เมื่อดำเนินการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง จนได้ผลสำเร็จแล้วจะนำไปขยายผลให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปได้นำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง เพื่อเป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จของการศึกษาและการพัฒนา เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต โดยคำนึงถึงภูมิประเทศ ภูมิสังคม กล่าวคือ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่แสดงถึงลักษณะภูมิประเทศ ภูมิสังคม วัฒนธรรม การประกอบอาชีพของท้องถิ่น และประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาให้กับท้องถิ่น โดยมีความเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหว มีความเจริญงอกงามอยู่ตลอดเวลา และมีประโยชน์แก่ราษฎร ที่จะมองเห็นสิ่งที่เป็นวิวัฒนาการที่สามารถเข้ามาศึกษา นำความรู้ต่าง ๆ ภายในศูนย์ฯ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่ของตนเองได้จริง

       นอกจากนี้ทรงคัดเลือกพื้นที่ด้วยพระองค์เอง เพื่อเป็นตัวแทนของภูมิภาค เป็นพื้นที่ส่วนย่อที่สอดคล้องกับภูมิภาคและเป็นตัวอย่างของภูมิภาคอย่างแท้จริงที่เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้ เป็นตัวอย่างของการบริหารงานรูปแบบใหม่ การพัฒนาแบบบูรณาการ คือ รูปแบบการจัดการบริหารราชการแผ่นดินไทยที่รวมเอากิจกรรมและการดำเนินงานของหน่วยงานหลายหน่วยงานเข้าไว้ด้วยกัน เป็นลักษณะรวมศูนย์ และยิ่งไปกว่านั้นยังมีส่วนของเอกชนและองค์กรที่มิใช่รัฐบาลร่วมประสานการดำเนินงานอยู่ด้วย การดำเนินงานในรูปแบบดังกล่าว เป็นการผสานความร่วมมือกันทำงานเพื่อให้บริการประชาชนของแต่ละหน่วยงาน การจัดรูปแบบการบริหารศูนย์ฯ โดยมิได้มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าของ แต่ใช้ร่วมมือร่วมใจกันทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนเป็นหลัก และเป็นระบบการบริการเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว ที่เกษตรกรและประชาชนผู้สนใจสามารถก้าวเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต ซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และสามารถขอรับบริการในเรื่องการใช้พื้นที่ด้านการเกษตร ด้านนํ้า ด้านเมล็ดพันธุ์พืช ด้านการตลาด และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับวงจรการประกอบอาชีพและการทำมาหากิน ตลอดจนให้บริการฝึกอบรม ณ ที่แห่งเดียว ทำให้เกษตรกรประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในคราวเดียวกันด้วย

       นอกจากนี้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทั้ง 6 แห่ง ยังได้ขยายผลการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จไปยังหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ เอกชน ประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขยายผลการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากศูนย์ฯ ให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้เสริมสร้างศักยภาพศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่ประสบความสำเร็จจากการขยายผลของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเป็นแหล่งองค์ความรู้และเป็นแบบอย่างให้บุคคลทั่วไปได้ศึกษาเรียนรู้อย่างกว้างขวาง

ความเป็นมาเกี่ยวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
       ในการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น นอกจากแนวทางและหลักการดังกล่าวข้างต้น คือ การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน โดยที่จะต้องทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งก่อน แล้วมีการพัฒนาต่อไปให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ ขณะเดียวกันจะต้องอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความรู้เทคนิควิชาการสมัยใหม่พร้อม ๆ กันไปด้วย อย่างไรก็ตามในการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น จะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และสังคมวิทยาของแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันด้วยเสมอ ดังพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ความตอนหนึ่งว่า

“...การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา
คือ นิสัยใจคอของคนเรา จะไปบังคับให้คนอื่นคิดอย่างอื่นไม่ได้
เราต้องแนะนำ เราเข้าไปช่วยโดยที่จะคิดให้เขาเข้ากับเราไม่ได้
แต่ถ้าเราเข้าไปแล้ว เราเข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไรจริง ๆ
แล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจหลักการของการพัฒนานี้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ....”

       ด้วยหลักการดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ขึ้น ตามภูมิภาคต่าง ๆ จำนวน 6 ศูนย์ โดยมีพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2526 เป็นแนวทางดังนี้
       1. เป็นการสาธิตการพัฒนาเบ็ดเสร็จ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างทุกด้านของชีวิตประชาชนที่จะหาเลี้ยงชีพในท้องที่จะทำอย่างไร และได้เห็นวิทยาการแผนใหม่จะสามารถที่จะหาดูวิธีการ จะทำมาหากินให้มีประสิทธิภาพ
       2. ด้านหนึ่งก็เป็นจุดประสงค์ของศูนย์ศึกษาก็เป็นสถานที่สำหรับค้นคว้า วิจัยในท้องที่ เพราะว่าแต่ละท้องที่ สภาพฝน ฟ้า อากาศ และประชาชนในท้องที่ต่างกัน ก็มีลักษณะแตกต่างกันมากเหมือนกัน
       3. กรมกองต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชนทุกด้าน ได้สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปรองดองกัน ประสานกัน ตามธรรมดาแต่ละฝ่ายต้องมีศูนย์ของตน แต่ว่าอาจจะมีงานถือว่าเป็นศูนย์ของตนเอง คนอื่นไม่เกี่ยวข้อง และศูนย์ศึกษาการพัฒนาเป็นศูนย์ที่รวบรวมกำลังทั้งหมดของเจ้าหน้าที่ทุกกรม ทั้งในด้านเกษตรหรือในด้านสังคม ทั้งในด้านหางานการส่งเสริมการศึกษามาอยู่ด้วยกัน ก็หมายความว่าประชาชนซึ่งจะต้องใช้วิชาการทั้งหลายก็สามารถที่จะมาดู ส่วนเจ้าหน้าที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่ประชาชนก็มาอยู่พร้อมกันในที่เดียวกันเหมือนกัน ซึ่งเป็นสองด้าน ก็หมายถึงว่าที่สำคัญปลายทางคือ ประชาชนจะได้รับประโยชน์และต้นทางของผู้เป็นเจ้าหน้าที่จะให้ประโยชน์

แนวทางและวัตถุประสงค์ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
       จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สามารถสรุปแนวทางและวัตถุประสงค์ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ได้ดังนี้คือ
       1. ทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย
       เพื่อแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จึงเปรียบเสมือน “ตัวแบบ” ของความสำเร็จที่จะเป็นแนวทางและตัวอย่างของผลสำเร็จให้แก่พื้นที่อื่น ๆ โดยรอบได้ทำการศึกษา
       2. การแลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างนักวิชาการ นักปฏิบัติ และประชาชน
       การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัยต่าง ๆ ที่ได้ผลแล้วควรจะนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่จริงได้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ควรเป็นแหล่งผสมผสานวิชาการและการปฏิบัติ เป็นแหล่งความรู้ของราษฎร เป็นแหล่งศึกษาทดลองของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนถ่ายทอดประสบการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหาระหว่างคน 3 กลุ่ม คือ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ ซึ่งทำหน้าที่พัฒนาส่งเสริม และราษฎร
       3. การพัฒนาแบบผสมผสาน
       เป็นตัวอย่างที่ดีของแนวความคิดแบบสหวิทยาการ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในพื้นที่นั้น ๆ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ แต่ละแห่ง จะเป็นแบบจำลองของพื้นที่และรูปแบบการพัฒนาที่ควรจะเป็น เพื่อเป็นตัวอย่างว่าในพื้นที่และรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ลักษณะหนึ่ง ๆ นั้น จะสามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ได้โดยวิธีใดบ้าง มิใช่การพัฒนาเฉพาะทางใดทางหนึ่ง แต่พยายามใช้ความรู้มากสาขามากที่สุด แต่ละสาขาให้เป็นประโยชน์เกื้อหนุนกับการพัฒนาสาขาอื่น ๆ และระบบของศูนย์ศึกษาฯ ควรเป็นการผสมผสานไม่เพียงเฉพาะเรื่องความรู้เท่านั้น แต่ต้องมีการผสมผสานการดำเนินงานและการบริหารที่เป็นระบบด้วย
       4. การประสานงานระหว่างส่วนราชการ
       เป็นแนวทางและวัตถุประสงค์ที่สำคัญยิ่งประการหนึ่ง เนื่องจากกระบวนการพัฒนาและระบบราชการไทยมีปัญหานี้โดยพื้นฐาน เป็นสิ่งบั่นทอนประสิทธิภาพและผลสำเร็จของงานลงอย่างน่าเสียดาย แนวทางการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาฯ ทุกแห่งจึงเน้นการประสานงาน การประสานแผน และการจัดการระหว่างกรม กอง และส่วนราชการต่าง ๆ
       5. เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (one stop service)
       มีการศึกษาทดลองและสาธิตให้เห็นถึงความสำเร็จของการดำเนินงานพร้อม ๆ กันในทุกด้าน ทั้งด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ประมง ตลอดจนการพัฒนาทางด้านสังคม และงานศิลปาชีพ ในลักษณะของ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” โดยจะมีให้ดูได้ทุกเรื่องในบริเวณศูนย์ศึกษาฯ ทั้งหมด ผู้สนใจหรือเกษตรกรจะได้รับความรู้รอบด้าน อีกทั้งมีความสะดวก รวดเร็ว ซึ่งนำไปสู่การได้รับประโยชน์สูงสุด

       ผลการศึกษาของแต่ละศูนย์นั้น จะเป็นความรู้ที่นำไปส่งเสริมให้แก่ประชากรเป้าหมาย และมีการสาธิตไว้ในพื้นที่ของศูนย์ศึกษาฯ ประชาชนที่อยู่ในหมู่บ้านรอบ ๆ พื้นที่ศูนย์ศึกษาฯ จะเป็นประชากรเป้าหมายกลุ่มแรกที่จะได้รับประโยชน์ กล่าวคือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องงานส่งเสริมจะนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาในศูนย์ศึกษาฯ ที่ได้ผลดีไปแนะนำให้แก่เกษตรกรหมู่บ้านเป้าหมาย ซึ่งก่อนนี้เรียกว่า “หมู่บ้านบริวาร” แต่ปัจจุบันได้เรียกว่า “หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ” แต่ละศูนย์ศึกษาฯ จะมีประชากรหมู่บ้านรอบศูนย์อยู่ประมาณ 10 - 25 หมู่บ้าน

       ในการส่งเสริมนั้นทำหลายวิธีด้วยกัน ทั้งนี้แล้วแต่สภาพสังคมวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ เช่น ให้เกษตรกรเข้ามารับการอบรมในศูนย์ศึกษาฯ หลักสูตรต่าง ๆ เช่น การเพาะปลูกพืชชนิดต่าง ๆ การขยายพันธุ์พืช การเลี้ยงสัตว์ การประมง ฯลฯ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมออกไปแนะนำส่งเสริมในหมู่บ้าน หรือเกษตรกรเข้ามาศึกษาดูงานในศูนย์ศึกษาฯ ด้วยตนเองหรือเข้ามาเป็นหมู่คณะ เมื่อการส่งเสริมให้หมู่บ้านรอบศูนย์ได้ผลในระดับหนึ่งแล้ว หมู่บ้านเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นหมู่บ้านตัวอย่างให้เกษตรกรพื้นที่อื่น ๆ ที่ห่างออกไปได้เข้ามาศึกษาและดูงานได้ ทำให้การขยายผลการส่งเสริมของศูนย์ศึกษาฯ สามารถขยายขอบเขตกว้างขวางออกไปเรื่อย ๆ

       อย่างไรก็ตามแต่ละภูมิภาคอาจจะมีเรื่องปลีกย่อยที่ควรจะได้ทำการศึกษาเพิ่มเติม และพื้นที่ที่เหมาะสมอยู่แยกออกไปในพื้นที่อื่น เพื่อให้การดำเนินงานเหล่านั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดให้มี “ศูนย์สาขา” เพื่อทำการศึกษาเป็นการเฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่นั้น ๆ และผลที่ได้จากการศึกษาจักได้ส่งเสริมให้เกษตรนำไปใช้ในการประกอบอาชีพเช่นกัน

การบริหารและดำเนินงานภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
       เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาฯ ของแต่ละศูนย์ ในระยะเริ่มแรกมีรูปแบบองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารและอนุกรรมการของแต่ละศูนย์ที่แตกต่างกันออกไป ทำให้การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาฯ มีลักษณะหลากหลายและขาดเอกภาพ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาฯ สามารถจะดำเนินงานสนองพระราชดำริได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเอกภาพและสอดคล้องซึ่งกันและกัน คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535 ให้ดำเนินการปรับปรุงระบบบริหารงานของศูนย์ศึกษาฯ โดยให้ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการและอนุกรรมการที่ถือปฏิบัติแต่เดิมทั้งหมด ให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการอนุกรรมการวางแผนและติดตามประเมินผลชุดเดียว ดังนี้

1. คณะกรรมการบริหารศูนย์
       ประกอบด้วย องคมนตรีเป็นประธาน เลขาธิการ กปร. เป็นรองประธาน อธิบดีกรมที่เกี่ยวข้อง 12 คน ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ตั้งอยู่ 6 คน เป็นกรรมการ รองเลขาธิการ กปร. เป็นกรรมการและเลขานุการ ที่ปรึกษาด้านการประสานงานและผู้แทนสำนักงาน กปร. เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ รวมกรรมการทั้งสิ้น 23 คน มีหน้าที่กำหนดวัตถุประสงค์ นโยบาย และเป้าหมายในการดำเนินงาน รวมทั้งแนวทางการบริหารโครงการ อำนวยการควบคุม กำกับ ดูแล ให้การดำเนินงานเป็นไปตามแนวพระราชดำริที่ได้กำหนดไว้ ติดตามผลและให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานให้บรรลุผล และกรรมการชุดนี้สามารถแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน หรือบุคคลเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น

2. อนุกรรมการแผนแม่บทและติดตามประเมินผล
       ประกอบด้วย เลขาธิการ กปร. เป็นประธานคณะอนุกรรมการ รองอธิบดีที่เกี่ยวข้อง 5 กรม เป็นรองประธานอนุกรรมการ ผู้แทนจากกรมที่เกี่ยวข้อง 9 กรม เป็นอนุกรรมการ ที่ปรึกษาด้านการประสานงาน สำนักงาน กปร. เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ผู้แทนสำนักงาน กปร. และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 ศูนย์ เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ คณะอนุกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำแผนแม่บทของศูนย์ศึกษาฯ ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของคณะกรรมการบริหาร ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงาน และพิจารณากลั่นกรองรายละเอียดโครงการและงบประมาณประจำปีตามที่ศูนย์ศึกษาฯ เสนอขอรับการสนับสนุน

3. องค์กรดำเนินงานศูนย์ศึกษาฯ แต่ละศูนย์ 
       ประกอบด้วย ผู้ดำเนินงานตามความเหมาะสม ซึ่งแต่งตั้งโดยประธานกรรมการบริหารโครงการ คืออนุกรรมการดำเนินงาน และคณะทำงานที่เป็นผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากส่วนกลางและระดับพื้นที่มากกว่า 10 กรม มาร่วมกันปฏิบัติงานคือ กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมชลประทาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ฯลฯ ในจำนวนเหล่านี้จะมีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอำนวยการตามความจำเป็น

ตัวอย่างความสำเร็จ
       ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริแต่ละแห่งมีการดำเนินงานและผลสำเร็จ ประกอบด้วย

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
       เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดศาลบวรราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ราษฎร 7 ราย ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน หมู่ที่ 2 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จำนวน 264 ไร่

       “...ประวัติมีว่า...ตอนแรกมีที่ดิน 264 ไร่ ที่ผู้ใหญ่บ้านให้ “เพื่อสร้างตำหนัก” ในปี 2520 ที่เชิงเขาหินซ้อนใกล้วัดหินซ้อน ตอนแรกก็ต้องค้นคว้าว่าที่ตรงนั้นคือตรงไหน ก็พยายามสืบถาม ก็ปรากฏว่าพบอยู่ในแผนที่ที่เขาหินซ้อนนั้น (แผนที่ 1 : 50,000 ระวาง 5236 I, II, 5336 III, IV) เมื่อได้ที่อย่างนั้น ได้คิดมา 2 ปี พยายามหาบนแผนที่ว่า สถานที่นี้เป็นอย่างไร เสร็จแล้วก็สอบถามดูว่าลักษณะของพื้นที่เป็นอย่างไร ก็ได้พบบนแผนที่พอดี อยู่มุมบนของระวางของแผนที่ จึงต้องต่อแผนที่ 4 ระวาง สำหรับให้ได้ทราบว่า สถานที่ตรงนั้นอยู่ตรงไหน แล้วก็เลยถามผู้ที่ให้ที่นั้นนะ ถ้าหากไม่สร้างพระตำหนัก แต่ว่าสร้างเป็นสถานที่ที่จะศึกษาเกี่ยวกับการเกษตรจะเอาไหม เขาก็บอกยินดี ก็เลยเริ่มทำในที่นั้น…” 

       จวบจนปัจจุบันเป็นระยะเวลา 44 ปี ที่ดำเนินการพัฒนาด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งการพัฒนาที่ดิน แหล่งน้ำ และป่าไม้ รวมถึงศึกษาทดลอง วิจัยเพื่อหาแนวทางการพัฒนาที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับภูมิสังคมในพื้นที่ ถูกต้องตามหลักวิชาการ และใช้เทคโนโลยีที่เรียบง่าย ประหยัด เกษตรกรสามารถนำไปดำเนินการเองได้ 

       ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินงานในลักษณะบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 13 หน่วยงาน โดยกรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการ ศูนย์ศึกษาฯ ทำหน้าที่ศึกษา ทดลอง สาธิต เพื่อค้นหาแนวทางและวิธีการพัฒนาด้านการเกษตรที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม ซึ่งเป็นต้นแบบเพื่อขยายผลสู่ราษฎรต่อไป ปัจจุบันมีพื้นที่ดำเนินงานจำนวน 43 หมู่บ้าน ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบลของอำเภอพนมสารคาม ประกอบด้วย ตำบลเขาหินซ้อน ตำบลเกาะขนุน และตำบลบ้านซ่อง ภายใต้วิสัยทัศน์ “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ สู่การพัฒนาอาชีพและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนตามวิถีพอเพียง”

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
       เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2525 พระบาทสมพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย แสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภูมิสังคมของท้องถิ่น และเป็นแบบจำลองของพื้นที่ที่มีการพัฒนาแบบผสมผสานทุกสาขาในลักษณะสหวิทยา และมีการบริหารที่เป็นระบบ มีการดำเนินงานที่มีเอกภาพ เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในลักษณะของ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” รวมทั้งนำผลสำเร็จของโครงการฯ ขยายผลไปสู่ประชาชน โดยได้กำหนดแผนการศึกษาดำเนินงานแบ่งออกเป็น 4 แผนงาน ได้แก่ แผนงานศึกษาทดลองวิจัยตามแนวพระราชดำริ แผนงานขยายผลการพัฒนา แผนงานฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแผนงานบริหารจัดการพัฒนาพื้นที่พรุและพื้นที่ดินเปรี้ยว ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรให้ได้ผลดีที่สุด 



ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2524 โดยมีพระราชดำริแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ความว่า “ให้พิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสมจัดทำโครงการพัฒนาด้านอาชีพการประมงและการเกษตรในเขตพื้นที่ดินชายฝั่งทะเลจังหวัดจันทบุรี” ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้นที่ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โดยมีกรมประมงเป็นหน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินงาน เพื่อพัฒนาอาชีพด้านการประมงและการเกษตรในพื้นที่ดินชายฝั่งทะเลของจังหวัดจันทบุรี โดยเป็นศูนย์สาธิต ศึกษา ทดลอง วิจัย พัฒนาด้านการเกษตรและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามแนวทางการพัฒนาจากยอดเขาสู่ท้องทะเล
       ศูนย์ศึกษาฯ มีหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมดำเนินงานสนองพระราชดำริ ขยายผลในพื้นที่เป้าหมายหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาฯ จำนวน 33 หมู่บ้าน ครอบคลุมพื้นที่ ๕ ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองขุด ตำบลรำพัน ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ และตำบลสนามไชย ตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม การดำเนินงานที่ผ่านมายังผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่โดยรอบศูนย์ศึกษาฯ ดีขึ้น สภาพสิ่งแวดล้อมมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น และเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้สำหรับประชาชนที่มาเยี่ยมชมเพื่อนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไป

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
       เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาโครงการจัดหาน้ำสนับสนุนโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาทดลองงานพัฒนาการเกษตรต่าง ๆ ตามความเหมาะสม สำหรับเป็นตัวอย่างให้ราษฎรนำไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง และพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ให้เป็นศูนย์ให้บริการในด้านเทคนิคและวิชาการที่ครบวงจร เพื่อให้ราษฎรเข้ามาเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน “สร้างน้ำ เพิ่มป่า พัฒนาชีวิตที่พอเพียง”

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2525 ให้พิจารณาจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น บริเวณป่าขุนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยกรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลัก เพื่อแสวงหารูปแบบการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศภาคเหนือ โดยมีเป้าหมายหลักคือ การศึกษาพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร กล่าวคือ การฟื้นฟูป่า ดิน และน้ำ การศึกษา สาธิต และส่งเสริมด้านการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ การเกษตรกรรม การปศุสัตว์ และการเกษตรอุตสาหกรรม
       ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ได้จัดทำแผนงาน/กิจกรรมการดำเนินงานบริหารจัดการโครงการ แผนงานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ แผนงานศึกษาวิจัยและทดลอง แผนงานการจัดการความรู้ และแผนงานดำเนินงานขยายผล โดยมุ่งเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การสร้างฝายต้นน้ำลำธารแบบท้องถิ่น การสร้างจิตสำนึกในการใช้และอยู่ร่วมกับป่าอย่างสมดุลยั่งยืน และการปลูกป่า เป็นต้น ควบคู่กับการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมที่มีความหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของราษฎร โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของราษฎรเป็นสำคัญ ทั้งยังให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาทักษะ สร้างความรู้ และส่งเสริมอาชีพของราษฎรในพื้นที่เป้าหมายให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ก่อน จากนั้นค่อยก้าวสู่การสร้างรายได้เสริมโดยการรวมกลุ่ม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่ม ชุมชน สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังได้ดำเนินงานขยายผลไปยังพื้นที่หมู่บ้านรอบบริเวณศูนย์ศึกษาฯ จำนวน 18 หมู่บ้าน โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของราษฎร ให้ราษฎรเป็นผู้เลือกแนวทางการพัฒนา ทำให้ราษฎรมีความตั้งใจและเกิดความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น ส่งผลให้การดำเนินงานขยายผลการพัฒนาของศูนย์ศึกษาฯ สามารถดำเนินตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
       เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริให้พัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาด้านการเกษตรกรรม โดยเน้นการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้กลับอุดมสมบูรณ์ดังเดิม สามารถทำการปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการปลูกป่า จัดหาแหล่งน้ำสนับสนุนการปลูกป่าและการเพาะปลูกพืช จัดระเบียบราษฎร ให้ราษฎรในพื้นที่โครงการให้เข้าอยู่อาศัย และทำกินอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับธรรมชาติ ให้ราษฎรเข้าร่วมดูแลรักษา ตลอดจนได้อาศัยผลผลิตจากป่าและเพาะปลูกพืชต่าง ๆ โดยไม่ต้องเข้าไปบุกรุกทำลายป่าไม้อีกต่อไป
       การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ มีประชาชนในพื้นที่เป้าหมายได้รับประโยชน์โดยตรง ในการดำเนินงานจะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการเป็นต้นแบบการพัฒนา เป็นแหล่งถ่ายทอดเทคโนโลยี และส่งเสริมอาชีพที่เหมาะสมให้แก่เกษตรกรและประชาชนที่สนใจ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นแหล่งอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าไม้ สัตว์ป่า รวมทั้งเพาะพันธุ์สัตว์ป่า และเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกอบรมเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป ซึ่งผลสำเร็จของศูนย์ศึกษาฯ ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน คือ จำนวนเกษตรกรที่สามารถนำความรู้และปัจจัยการผลิตไปใช้ในการดำเนินชีวิตจนสามารถพึ่งตนเองได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี

ผลสำเร็จของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
       โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินงานมากว่า 40 ปี มีผลสำเร็จการดำเนินงาน มีผลงานศึกษา ทดลอง ทดสอบ คัดเลือกเรื่องดีเด่น (High Light) ศูนย์ละประมาณ 19 เรื่อง เช่น
       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ – ฝาย / เห็ด / กบนา / ปลาในบ่อซีเมนต์
       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ – ไก่ดำ / หมูดำ / โคดำ / ข้าวหอมมะลิ
       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ – ข้าวอินทรีย์ / เห็ด / พืชสมุนไพร
       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ – เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ / กุ้งระบบปิด
       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ – ทฤษฎีใหม่ / เกษตรผสมผสาน / แฝก

การศึกษา ทดลอง วิจัย ที่สามารถตอบสนองปัญหาของประชาชนในท้องถิ่น
       งานศึกษา ทดลอง วิจัย ที่สามารถนำไปต่อยอดขยายผลเพื่อตอบสนองปัญหาของประชาชนในท้องถิ่นได้ ทั้งนี้ ศูนย์ศึกษาฯ ควรมีการนำวัสดุ/วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาใช้ในการศึกษาวิจัยหรือศึกษาวิจัยในประเด็นอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับท้องถิ่น มีตัวอย่างการดำเนินงาน เช่น
       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ 
       ให้ความสำคัญและดำเนินการศึกษาวิจัยด้านสังคมศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างการเกษตร ครัวเรือนสังคม
       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ และวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
       ร่วมกันศึกษาวิจัยด้านสังคมศาสตร์เกี่ยวกับวัฒนธรรม ความต้องการ ปัญหาอุปสรรคในการดำรงชีวิตของเกษตรกรในท้องถิ่น เกษตรกรที่พำนักอยู่บริเวณรอบศูนย์ศึกษาฯ และการดำรงอยู่และวัฒนธรรมของชนเผ่าต่าง ๆ
      • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ 
      มีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับหมอกควันที่เกิดจากการเผาป่าและวิธีการเผาป่ามีความจำเป็นกับระบบนิเวศมากน้อยแค่ไหน
       • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ
       มีความคิดว่าหากมีการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดแบบควบคุมอุณหภูมิ จะเป็นประโยชน์ต่องานวิจัยด้านเห็ดที่จะขยายไปสู่ชาวบ้านได้

ด้านขยายผลแนวทางการขยายผลโดยการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย
       โครงการความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยขยายผลสู่ประชาชนทั่วประเทศ ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ซึ่งรวมถึงการดำเนินการร่วมกับกระทรวงมหาดไทยในการดำเนินงาน “โครงการฝึกอบรมเกษตรกรภายใต้ผลสำเร็จของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ขอความร่วมมือจากกระทรวงมหาดไทยในการประสานกับจังหวัดให้คัดเลือกผู้เข้ารับการอบรม โดยขอให้เป็นเกษตรกรผู้ที่สนใจจริง และมีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน เช่น การเดินทาง การเข้าร่วมการอบรม การนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

       • การขยายผลผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต./เทศบาล/อบจ.)
       การดำเนินการดังกล่าวเป็นการใช้ช่องทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อช่วยสื่อสาร ชักจูง และคัดกรองประชาชน/เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามารับถ่ายทอดความรู้จากศูนย์ศึกษาฯ ได้อย่างกว้างขวางขึ้น โดยศูนย์ศึกษาฯ ที่มีความพร้อมขอให้ทยอยดำเนินการ

       • การขยายผลไปยังนักเรียน นักศึกษา ในจังหวัดใกล้เคียง
       ศูนย์ศึกษาฯ ได้รายงานผลดำเนินงานของศูนย์ศึกษาฯ ผ่านภาคีเครือข่าย โรงเรียน ตชด. และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ทั่วประเทศ

       • การขยายผลไปยังกลุ่มผู้ใช้น้ำในเครือข่ายโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
       การดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแหล่งน้ำฯ ในลักษณะการพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการ พื้นที่ 13 จังหวัด ในพื้นที่ภาคเหนือ (6 จังหวัด) และพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (7 จังหวัด) เพื่อระดมความคิดเห็นร่วมกันทั้งภาคราชการ สถาบันการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มผู้ใช้น้ำ เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานที่ผ่านมา และร่วมกันสรุปหาตัวแบบ (Model) ความสำเร็จหรือแนวทางในการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำฯ ร่วมกัน

       ในภาพรวมที่ผ่านมา การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาฯ มีความสอดคล้องกับแนวพระราชดำริและนโยบายต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จเกิดประโยชน์แก่ประชาชนเป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทศูนย์ศึกษาฯ เมื่อปี พ.ศ. 2559 โดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) พบว่า เกษตรกรร้อยละ 43.3 มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก และเกษตรกรร้อยละ 50.0 มีความเป็นอยู่ดีขึ้นพอสมควร โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปีเป็นเงิน 216,821.98 บาท และมีรายจ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปีเป็นเงิน 146,306.98 บาท ทั้งนี้ ส่วนใหญ่มีรายได้พอเพียงกับรายจ่าย และมีเงินออมในครัวเรือน

       นอกจากนี้งานขยายผลของศูนย์ศึกษาฯ ยังช่วยให้เกษตรกรได้มีส่วนร่วมในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของประเทศให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามศูนย์ศึกษาฯ มีแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการของแต่ละศูนย์เป็นเครื่องมือชี้นำการดำเนินงานให้สอดคล้องกับพระราชดำริและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยมีจุดเน้นที่แตกต่างกันตามลักษณะภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่ที่ศูนย์ตั้งอยู่ และบังเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การดำเนินงานในภาพรวมของศูนย์ศึกษาฯ ยังคงมีความจำเป็นต้องมีเครื่องมือชี้นำการดำเนินงานเพื่อพัฒนางานศึกษา ทดลอง วิจัย ส่งเสริมขยายผลสำเร็จไปสู่ประชาชน ตลอดจนกำกับดูแลให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของศูนย์ศึกษาฯ ทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติมีความถูกต้อง ครบถ้วน และสมบูรณ์จนเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดียิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องงานศึกษา ทดลอง วิจัย งานขยายผล และงานบริหารจัดการ

       สำนักงาน กปร. ในฐานะหน่วยงานกลางในการประสานการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเป็นหน่วยงานหลักในองค์กรบริหารศูนย์ศึกษาฯ จึงมีบทบาทสำคัญในการจัดทำแผนแม่บทศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อกำกับให้การบริหารจัดการศูนย์ศึกษาฯ ทั้ง 6 แห่ง เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องตามแนวพระราชดำริ ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม เกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมและสามารถวัดผลการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน โดยเริ่มตั้งแต่แผนแม่บทศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. 2555 - 2559 ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สำนักงาน กปร. จึงได้จัดทำแผนแม่บทศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. 2560 - 2564 ขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายในการกำหนดทิศทางให้ศูนย์ศึกษาฯ ไปสู่การทำหน้าที่เป็นแหล่งองค์ความรู้แนวพระราชดำริขยายผลสู่ประชาชนอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานการบริหารจัดการที่ดี นำไปสู่วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงวางรากฐานการพัฒนาโดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ
“ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของราษฎร” 

       ซึ่งจะต้องพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งก่อน เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเอง และจะต้องสอดคล้องกับการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมความรู้ เทคนิค วิชาการ อันทันสมัย เรียบง่าย ประหยัด ถูกต้องตามหลักวิชาการ คำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางด้านภูมิศาสตร์และสังคมวิทยาของแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันด้วยเสมอ

ข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)