แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนา อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม


แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนา อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม




แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

       ป่าไม้ของประเทศไทยถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วตามแรงหนุน เนื่องของประชากรที่เพิ่มขึ้นผนวกกับพลังผลักดันทางเศรษฐกิจระบบทุนนิยมเสรีที่มุ่งค้าขาย โดยใช้ป่าเป็นตัวสำคัญเชิงพาณิชย์การเช่นนี้ก่อให้เกิดภาวะแห้งแล้งเนื่องจากต้นน้ำลำธารถูกทำลาย ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อยามน้ำหลากก็เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และมีการพังทลายของดินอย่างรุนแรง จนเป็นปัญหาต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตร กลายเป็นทุกข์ร้อนของแผ่นดิน ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะเรื่องป่าไม้เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงห่วงใยเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เริ่มเสด็จเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติเป็นต้นมา

ป่าไม้สาธิต....พระราชดำริเริ่มแรกส่วนพระองค์
       ประมาณปี พ.ศ. 2503-2504 ขณะเสด็จพระราชดำเนินผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี เมื่อรถยนต์พระที่นั่งผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีนั้น มีต้นยางขนาดใหญ่ปลูกเรียงรายทั้งสองข้างทาง จึงได้มีพระราชดำริที่จะสงวนบริเวณป่ายางนี้ไว้ให้เป็นสวนสาธารณะ แต่ในระยะนั้นไม่อาจดำเนินการได้เนื่องจากต้องจ่ายเงินค่าทดแทนในอัตราที่สูง เพราะมีราษฎรมาทำไร่ทำสวนในบริเวณนั้นจำนวนมาก
       ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงเริ่มทดลองปลูกต้นยางด้วยพระองค์เอง โดยทรงเพาะเมล็ดยางในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุขพระราชวังไกลกังวล และได้ทรงปลูกต้นยางนั้นในแปลงป่าไม้ทดลองในบริเวณแปลงทดลองปลูกต้นยางนาพร้อมข้าราชบริพาร เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 จำนวน 1,250 ต้น
       

ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ทั่วประเทศมาปลูกในบริเวณที่ประทับสวนจิตรลดาในลักษณะป่าไม้สาธิต นอกจากนี้ยังได้สร้างพระตำหนักเรือนต้นในบริเวณป่าไม้สาธิตนั้นเพื่อทรงศึกษาธรรมชาติวิทยาของป่าไม้ด้วยพระองค์เองอย่างใกล้ชิด และลึกซึ้งในปี พ.ศ. 2508 “...ต้องพยายามอธิบายให้ราษฎรเข้าใจถึงการตัดต้นไม้สำหรับใช้สอยให้ถูกประเภทโดยเฉพาะต้นไม้ที่ปลูกสำหรับใช้เป็นไม้ฟืนซึ่งปลูกเพื่อประโยชน์ และความสะดวกของราษฎรเอง…”

แนวพระราชดำริด้านป่าไม้ : ทรงคิดค้นนานาวิธีที่จะอนุรักษ์ป่าไม้ให้ยืนยง ทรงสร้างความตระหนักให้มีความรักป่าไม้ด้วยจิตสำนึกร่วมกัน (Awareness and Sharing Participation) มากกว่าวิธีการใช้อำนาจบังคับ

ณ หน่วยงานพัฒนาต้นน้ำทุ่งจ๊อ ในปี พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระ-ราชดำริให้มีการปลูกต้นไม้ 3 ชนิด ที่แตกต่างกัน คือ ไม้ผล ไม้โตเร็ว และไม้เศรษฐกิจ เพื่อจะทำให้เกิดป่าไม้แบบผสมผสาน และสร้างความสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืน สามารถตอบสนองความต้องการของรัฐ และวิถีประชาในชุมชน


ประการสำคัญนั้นมีพระราชดำริที่ยึดเป็นทฤษฎีการพัฒนาด้านป่าไม้โดยปลูกฝังจิตสำนึกแก่ประชาชนว่า
"...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน
แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง..."

(พระราชดำรัสพระราชทานแก่เจ้าหน้าที่ป่าไม้
ณ หน่วยจัดการต้นน้ำทุ่งจ๊อ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วันเสาร์ ที่ 31 มกราคม 2519)
นับเป็นทฤษฎีที่เป็นปรัชญาในด้านการพัฒนาป่าไม้ที่ยิ่งใหญ่โดยแท้




ทฤษฎีการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกตามหลักการฟื้นฟูสภาพป่าด้วยวัฏธรรมชาติ (Natural Reforestation)
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงห่วงใยในปัญหาปริมาณป่าไม้ลดลงเป็นอย่างมาก จึงทรงพยายามค้นหาวิธีนานาประการที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้นอย่างมั่นคง และถาวร โดยมีวิธีการที่เรียบง่าย และประหยัดในการดำเนินงาน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะอันเป็นธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำริหลายวิธีการ คือ
       1. ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก
       2. ปลูกป่าในที่สูง
       3. ปลูกป่าต้นน้ำลำธาร หรือการปลูกป่าธรรมชาติ
       4. การปลูกป่าทดแทน
       5. การปลูกป่า 3 อย่าง เพื่อประโยชน์ 4 อย่าง

ป่า 3 อย่าง คือ
       - ป่าสำหรับไม้ใช้สอย
       - ป่าสำหรับเป็นไม้ผล
       - ป่าสำหรับเป็นเชื้อเพลิง

ประโยชน์ที่ได้รับ
        การปลูกป่าใช้สอย โดยดำเนินการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วสำหรับตัดกิ่งมาทำฟืนเผาถ่าน ตลอดจนไม้สำหรับใช้ในการก่อสร้าง และหัตถกรรมส่วนใหญ่ได้มีการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วเป็นสวนป่า เช่น ยูคาลิปตัส ขี้เหล็ก ประดู่ แค กระดินยักษ์ และสะเดา เป็นต้น




พระราชดำริ “ป่าเปียก” ทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้โดยการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างแนวป้องกันไฟเปียก (Wet Fire Break) 
       ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักถึงคุณค่าอเนกอนันต์ของน้ำเป็นยิ่งนัก ทรงคำนึงว่าทุกสรรพสิ่งในสภาพแวดล้อมของมนุษย์นั้นจะเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้ หากรู้จักนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่นเดียวกับพระราชดำริ “ป่าเปียก” เพื่อป้องกันไฟไหม้ป่านั้น จึงเป็นมรรควิธีที่ทรงคิดค้นขึ้น จากหลักการที่แสนง่ายแต่ได้ประโยชน์มหาศาล กล่าวคือ ยามที่เกิดไฟไหม้ป่าขึ้นคราใดผู้คนส่วนใหญ่ก็มักคำนึงถึงการแก้ปัญหาด้วยการระดมสรรพกำลังกันดับไฟป่าให้มอดดับอย่างรวดเร็ว แต่แนวทางป้องกันไฟป่าระยะยาวนั้นยังดูเลือนลางในการวางระบบอย่างจริงจัง
พระราชดำริป่าเปียกจึงเป็นแนวพระราชดำริหนึ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงแนะนำให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทำการศึกษาทดลองจนได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ


วิธีการสร้าง “ป่าเปียก”
       • วิธีการแรก : ทำระบบป้องกันไฟไหม้ป่า โดยใช้แนวคลองส่งน้ำและแนวพืชชนิดต่าง ๆ ปลูกตามแนวคลองนี้
       • วิธีที่สอง : สร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยแนวป้องกันไฟป่าเปียก โดยอาศัยน้ำชลประทาน และน้ำฝน
       • วิธีที่สาม : โดยการปลูกต้นไม้โตเร็วคลุมแนวร่องน้ำ เพื่อให้ความชุ่มขึ้นค่อย ๆ ทวีขึ้น และแผ่ขยายออกไปทั้งสองร่องน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นไม้งอกงาม และมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่าเพราะไฟป่าจะเกิดขึ้นง่ายหากป่าขาดความชุ่มชื้น
       • วิธีที่สี่ : โดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น หรือที่เรียกว่า Check Dam ขึ้น เพื่อปิดกั้นร่องน้ำ หรือลำธารขนาดเล็กเป็นระยะ ๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำ และตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่เก็บไว้จะซึมเข้าไปสะสมในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายเข้าไปทั้งสองด้านกลายเป็น “ป่าเปียก”
       • วิธีที่ห้า : โดยการสูบน้ำเข้าไปในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วปล่อยน้ำลงมาทีละน้อยให้ค่อย ๆ ไหลซึมดิน เพื่อช่วยเสริมการปลูกป่าบนพื้นที่สูงในรูป “ภูเขาป่า” ให้กลายเป็น “ป่าเปียก” ซึ่งสามารถป้องกันไฟป่าได้อีกด้วย
        • วิธีที่หก : ปลูกต้นกล้วยในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นช่องว่างของป่าประมาณ 2 เมตร หากเกิดไฟไหม้ป่าก็จะปะทะต้นกล้วยซึ่งอุ้มน้ำไว้ได้มากกว่าพืชอื่นทำให้ลดการสูญเสียน้ำลงไปได้มาก

แนวพระราชดำริป่าเปียก จึงนับเป็นทฤษฎีการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้โดยใช้ความชุ่มชื้นเป็นหลักสำคัญที่จะช่วยให้ป่าเขียวสดอยู่ตลอดเวลา ไฟป่าจึงเกิดได้ยากการพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าไม้ที่สามารถทำได้ง่าย และได้ผลดียิ่ง


พระราชดำริ “ภูเขาป่า” : ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้โดยใช้ความรู้เบื้องต้นทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาเป็นหลักการดำเนินการ
       การสร้างภูเขาป่าอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นมรรควิธีหนึ่งที่พระราชทานแนวคิดอันเป็นทฤษฎีการพัฒนา อันเป็นมิติใหม่แก่วงการป่าไม้ 2 ประการ คือ


       ประการแรก หากมีน้ำใกล้เคียงบริเวณนั้น “...ควรสำรวจแหล่งน้ำเพื่อการพิจารณาสร้างฝายขนาดเล็กปิดกั้นร่องน้ำในเขตต้นน้ำลำธาร ทั้งนี้เพื่อแผ่กระจายความชุ่มชื้นออกไปให้กว้างขวางจะช่วยฟื้นฟูสภาพป่าในบริเวณที่สูงให้สมบูรณ์ขึ้น บริเวณดังกล่าวจะได้กลายเป็น “ภูเขาป่า” ต้นไม้เหล่านั้นจะมีผลช่วยรักษาระดับความชุ่มชื้นในธรรมชาติให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะไม่แห้งแล้งเกินไป และยังช่วยยึดผิวดินอันมีค่าไม่ให้ถูกน้ำเซาะทลายลงมายังพื้นที่ราบอีกด้วย…”

       ประการที่สอง หากไม่มีแหล่งน้ำในพื้นที่เพื่อฟื้นฟูป่าไม้ในบริเวณภูเขาเสื่อมโทรม “...ให้พิจารณาส่งน้ำขึ้นไปยังจุดที่สูงที่สุดเท่าที่จะดำเนินการได้ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถจ่ายน้ำลงไปหล่อเลี้ยงกล้าไม้อ่อนที่ปลูกทดแทนไว้บนภูเขาได้ตลอดเวลาโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ในอนาคตภูเขาในบริเวณดังกล่าวก็จะคืนสภาพเดิมเป็นภูเขาป่าที่จะมีความชุ่มชื้นพอสมควร ตลอดจนจะช่วยฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมในตอนล่างไม่ให้กลายเป็นดินแดนแห้งแล้ง....”

       ภูเขาป่าที่เขียวขจีจากแนวพระราชดำรินี้ สามารถพบเห็น และเข้าศึกษาวิธีการอนุรักษ์ และพัฒนาป่าไม้ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงชี้แนะให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลายแห่งด้วยกัน โดยเฉพาะที่เด่นชัด คือ ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี






แนวพระราชดำริทฤษฎีการพัฒนา และฟื้นฟูป่าไม้โดยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวยสัมพันธ์ซึ่งกัน และกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด : Check Dam
       ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการอยู่รอดของป่าไม้เป็นอย่างยิ่งทรงเสนออุปกรณ์อันเป็นเครื่องมือที่จะใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ที่ได้ผลดียิ่ง กล่าวคือปัญหาที่สำคัญที่เป็นตัวแปรแห่งความอยู่รอดของป่าไม้นั้น “น้ำ” คือสิ่งที่ขาดไม่ได้โดยแท้ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงแนะนำให้ใช้ฝายกั้นน้ำ หรือเรียกว่า Check Dam หรืออาจเรียกขานกันว่า “ฝายชะลอความชุ่มชื้น” ก็ได้เช่นกัน
       Check Dam คือสิ่งก่อสร้างขวางกั้นทางเดินของลำน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นห้วยลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำ หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงทำให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง และกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลเทลงไปในบริเวณลุ่มน้ำตอนล่างนับเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีการหนึ่ง
ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชาธิบายว่า การปลูกป่าทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลายนั้น “...จะต้องสร้างฝายเล็กเพื่อหนุนน้ำส่งไปตามเหมืองไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูกทั้งสองด้าน ซึ่งจะให้น้ำค่อย ๆ แผ่ขยายออกไปทำความชุ่มชื้นในบริเวณนั้นด้วย…”


ประเภทของ Check Dam นั้น ทรงแยกออกเป็น 2 ประเภท
       ประเภทแรก คือ ฝ่ายต้นน้ำลำธารหรือฝ่ายชะลอความชุ่มชื้น
       ประเภทที่สอง คือ ฝ่ายดักตะกอน

       ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพิจารณาสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น เพื่อสร้างระบบวงจรน้ำแก่ป่าไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ “...ให้ดำเนินการสำรวจหาทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูงที่ใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝายดังกล่าว จำเป็นจะต้องออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ปริมาณมากพอสมควรเป็นเวลานาน 2 เดือน การเก็บรักษาน้ำสำรองได้นานหลังจากฤดูฝนผ่านไปแล้ว จะทำให้มีปริมาณน้ำหล่อเลี้ยง และประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่แข็งแรง และโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้งอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องโดยการจ่ายน้ำออกไปรอบ ๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้…”

Check Dam ตามแนวพระราชดำริ กระทำได้ 3 รูปแบบ คือ
1. Check Dam แบบท้องถิ่นเบื้องต้น
       เป็นการก่อสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น กิ่งไม้ และท่อนไม้ล้มขอนนอนไพร ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่าง ๆ ในลำห้วย ซึ่งเป็นการก่อสร้างแบบง่าย ๆ ก่อสร้างในบริเวณตอนบนของลำห้วยหรือร่องน้ำซึ่งจะสามารถดักตะกอน ชะลอการไหลของน้ำ และเพิ่มความชุ่มขึ้นบริเวณรอบฝ่ายได้เป็นอย่างดี

2. Check Dam แบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร
       ก่อสร้างด้วยการเรียงหินเป็นผนังกั้นน้ำ ก่อสร้างบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลำห้วย หรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอน และเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งได้บางส่วน

3. Check Dam แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก
       เป็นการก่อสร้างแบบถาวร ส่วนมากจะดำเนินการในบริเวณตอนปลายของลำห้วย หรือร่องน้ำสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี ค่าก่อสร้างเฉลี่ยประมาณ ๔๐,๐๐๐-๕๐,๐๐๐ บาท แล้วแต่ขนาดของลำห้วยซึ่งควรมีความกว้างไม่เกิน 4 เมตร






ข้อคำนึงในการสร้าง Check Dam
       1. ควรสำรวจสภาพพื้นที่
       2. ต้องคำนึงถึงความแข็งแรงให้มากพอ
       3. ควรก่อสร้างในพื้นที่ที่ช่องลำห้วยมีความลาดชันต่ำ
       4. วัสดุก่อสร้าง Check Dam ประเภทกิ่งไม้ ท่อนไม้
       5. ถ้าสร้าง Check Dam แบบคอกหมูแกนดินอัดแน่น
       6. ควรปลูกไม้ยืนต้นยึดดินบนสันฝาย
       7. ควรดำเนินการก่อสร้าง Check Dam หลังฤดูฝน หรือหลังน้ำหลาก


แนวทางที่เหมาะสมในการสร้าง Check Dam
       ก่อนดำเนินการควรสำรวจร่องน้ำลำห้วยในพื้นที่ที่มีปัญหาการพังทลายของดิน หรือปัญหาพื้นที่ขาดความชุ่มชื้น โดยพิจารณาถึงความลาดชันของร่องน้ำ และสำรวจหาข้อมูลปริมาณน้ำไหลในร่องน้ำมาใช้ประกอบการเลือกตำแหน่งสร้าง Check Dam ดังนี้
       1. ในพื้นที่ลาดชันสูง ในกรณีที่ความกว้างของลำห้วยไม่เกิน 2 เมตร ควรสร้างฝายผสม ใช้วัสดุธรรมชาติ ไม้ท่อน หิน ถุงบรรจุดิน หรือทราย แต่ถ้าความกว้างของลำห้วยมากกว่า 2 เมตร หรือในลำห้วยมีน้ำมาก ควรเพิ่มโครงสร้างของ Check Dam เป็นแบบคอกหมูที่มีโครงสร้างหลายระดับมากน้อยตามปริมาณน้ำ
       2. ในพื้นที่ลาดชันปานกลาง ควรสร้าง Check Dam แบบคอกหมูหรือแบบท้องถิ่นของชาวบ้าน ถ้าเป็นแบบคอกหมูให้ใช้หินเรียง หรือกระสอบทรายผสมซีเมนต์ขนาบโครงสร้าง
       3. ในพื้นที่ลาดชันต่ำ ในกรณีที่มีน้ำมากควรสร้างฝ่ายคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่ถ้ามีน้ำไม่มากนัก และความกว้างไม่เกิน 2 เมตร อาจใช้ถุงทรายผสมซีเมนต์ได้

นานาประโยชน์จาก Check Dam, อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
       1. ช่วยลดการพังทลายของดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย
       2. ช่วยกักเก็บตะกอนที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี
       3. เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่พื้นที่
       4. การที่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้บางส่วนนี้ ทำให้เกิดเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการบริโภคของมนุษย์ และสัตว์ต่าง ๆ ตลอดจนนำไปใช้ในการเกษตรได้อีกด้วย






ทฤษฎีการอนุรักษ์และพัฒนา “ป่า-ชายเลน” อันเนื่องมาจากพระราชดำริ : แนวทางการสร้างวงจรของระบบนิเวศน์ด้วยการปกปักอนุรักษ์ และขยายพันธุ์ไม้ป่าชายเลน
       ป่าชายเลน เรียกชื่อกันหลายอย่างว่า ป่าชายเลนน้ำเค็ม และป่าเลน หรือบางแห่งเรียก “ป่าโกงกาง” เป็นป่าที่เกิดขึ้นตามชายฝั่งทะเล และปากแม่น้ำของประเทศไทย ลักษณะของป่าชนิดนี้เป็นป่าไม้ผลัดใบ มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยัน หรือรากหายใจแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของต้นไม้นั้น ๆ ตลอดแนวชายฝั่งทะเลไทยยาวประมาณ 2,600 กิโลเมตร มีส่วนที่เป็นป่าชายเลนอยู่เพียงประมาณร้อยละ 36 ของความยาวชายฝั่งเท่านั้น
       สภาพป่าชายเลนโดยทั่ว ๆ ไปพบว่า ทางภาคใต้ของประเทศไทยแถบฝั่งทะเลอันดามันมีสภาพค่อนข้างอุดมสมบูรณ์มากที่สุด ส่วนทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย และภาคกลางบริเวณปากอ่าวไทยมีสภาพค่อนข้างเสื่อมโทรม ประกอบด้วยไม้ขนาดเล็ก และถูกรบกวนจากมนุษย์ในการเปลี่ยนสภาพป่าชายเลนเป็นนากุ้ง นาเกลือ และแหล่งอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับภาคตะวันออก การทำนากุ้งได้ส่งผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมของป่าชายเลนเป็นอย่างมากนอกจากนี้ป่าชายเลนยังถูกทำลายด้วยเหตุอื่นอีก เช่น การทำเหมืองแร่ การเกษตรกรรมบางประเภทการขยายตัวของชุมชน การสร้างท่าเทียบเรือ การสร้างถนน และพาดสายไฟฟ้า รวมทั้งการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้จำนวนป่าชายเลนลดลงอย่างที่ไม่อาจประมาณการได้
ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทถึงปัญหา และความสำคัญยิ่งของป่าชายเลนดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริแก่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ (นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ในพระราชพิธีแรกนาขวัญหว่านข้าวในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 สรุปแนวพระราชดำริว่า


“...ป่าชายเลนมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ของพื้นที่ชายฝั่งทะเล และอ่าวไทย
แต่ปัจจุบันป่าชายเลนของประเทศไทยเรากำลังถูกบุกรุก และถูกทำลายลงไป
โดยผู้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน จึงควรหาทางป้องกันอนุรักษ์ และขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะต้นโกงกางเป็นไม้ชายเลนที่แปลก และขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก
เพราะต้องอาศัยระบบน้ำขึ้นน้ำลงในการเติบโตด้วย จึงขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
คือ กรมป่าไม้ กรมประมงกรมชลประทาน และกรมอุทกศาสตร์
ร่วมกันหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการทดลองขยายพันธุ์โกงกางและปลูกสร้างป่าชายเลนกันต่อไป…”

การสนองพระราชดำริด้านอนุรักษ์ และพัฒนาป่าชายเลน
       โครงการพัฒนา และฟื้นฟูป่าชายเลนในเขตพื้นที่เป้าหมายของจังหวัดสงขลา และจังหวัดปัตตานี นับเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่บังเกิดขึ้นด้วยกระแสพระราชดำริร่วมกับสมเด็จพระศรี-นครินทราบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 โดยได้พระราชทานพระราชกระแส กับหม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาให้ร่วมกันเป็นแกนกลางในการดำเนินการปลูกป่าพระราชทานแก่ประชาชนทั้งมวล
       ในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษกเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติเป็นปีที่ 50 ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยทรงตั้งมั่นในพระราชหฤทัยที่จะฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้มีสภาพยั่งยืนถาวรยาวนานการดำเนินการปลูกป่าชายเลน “ป่าพระราชทานมูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง” ในจังหวัดสงขลา และปัตตานี มีองค์กรที่ทำหน้าที่ประสานงานทั้งภาครัฐ และเอกชน คือ มูลนิธิโททาล (Total) สถาบันทรัพยากรชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ดำเนินการปลูกป่าชายเลนภายใต้โครงการย่อย 3 โครงการ คือ

       1. โครงการชุมชนพัฒนาป่าชายเลน ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
       2. โครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
       3. โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการฟื้นฟูป่าชายเลน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

การอนุรักษ์และพัฒนา “ป่าพรุ” ทฤษฎีการพัฒนาโดยหลักการที่ทรงเน้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติด้วยการปรับปรุงสภาพป่าให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศน์มากที่สุด
       “ป่าพรุ” เป็นป่าไม้ทึบ ไม่ผลัดใบประเภทหนึ่ง ซึ่งเหลืออยู่เพียงผืนเดียวในภาคใต้ของประเทศไทย มีลักษณะเด่นชัด คือ เป็นป่าดงดิบที่มีน้ำท่วมขังทั่วทั้งบริเวณป่าพรุเกิดจากธรรมชาติสร้างขึ้นโดยสาเหตุที่คลื่นลมทะเลซัดดินทรายชายฝั่งปิดกั้นเป็นแนวสันเขื่อนจนกลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เมื่อซากพืชหล่นทับถมกันมากขึ้นในน้ำแช่ขังนี้ ก็จะเกิดปฏิกิริยาให้เกิดน้ำ และดินเปรี้ยวตามลำดับ

       ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าพรุราว ๆ 4,000,000 ไร่ ป่าพรุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่กระจายอยู่ในแนวเหนือใต้ด้านตะวันออกของพื้นที่จังหวัด มีเนื้อที่ประมาณ 290,000 ไร่ ประกอบด้วยพรุขนาดใหญ่ 3 แห่ง
       - พรุโต๊ะแดง
       - พรุบาเจาะ
       - พรุกาบแดง
       พรุโต๊ะแดงจัดได้ว่าเป็นพรุที่มีสภาพป่าพรุซึ่งยังคงสภาพธรรมชาติไว้อย่างสมบูรณ์ และมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เนื้อที่ประมาณ 216,500 ไร่พื้นที่ป่าติดต่อกันเป็นป่าขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอ
       พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกบุกเบิกเพื่อนำมาใช้ในการเกษตร แต่เนื่องจากพื้นที่พรุในจังหวัดนราธิวาสมีลักษณะทางกายภาพที่ไม่เหมาะสมอยู่หลายประการ ดังนั้นการพัฒนาดังกล่าวจึงดำเนินการไปด้วยความยากลำบาก และยังประโยชน์ไม่เต็มที่ หากยังใช้ประโยชน์โดยปราศจากการจัดการที่เหมาะสม สภาพแวดล้อมของพื้นที่พรุก็ยิ่งจะมีแนวโน้มสูงขึ้นในการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมโทรมได้ง่าย

ที่มาของแนวพระราชดำริพัฒนา และฟื้นฟูป่าพรุ
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ ร่วมกันศึกษาพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาอันสืบเนื่องมาจาก พรุซึ่งในระยะแรกของการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปยังพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ในปี พ.ศ. 2519

       ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า.. ในหน้ามรสุมราษฎรได้รับความเดือดร้อนจากมีน้ำไหลบ่าลงมาท่วมพรุเข้าไร่นาเสียหาย จึงมีพระราชดำริเพื่อความร่วมมือกันระบายน้ำจากพรุธรรมชาติทั้งหลายนี้ให้เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุดการระบายน้ำออกจากพรุทำให้ทรงพบว่ามีสภาพดินเปรี้ยวเกิดขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง กระทั่งเมื่อมีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นในปี พ.ศ. 2525 จึงได้ทำหน้าที่เป็นแกนกลางประสานงานในการดำเนินงานจนถึงปัจจุบัน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้กำหนดเขตการใช้ที่ดินบริเวณพื้นที่พรุในจังหวัดนราธิวาส เพื่อสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ออกเป็น 3 เขต คือ

1. เขตสงวน (Preservation Zone)
       เป็นบริเวณพื้นที่พรุที่ยังคงสภาพเป็นป่าธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ และยังไม่ถูกรบกวนจากมนุษย์ ดินเป็นดินอินทรีย์ ลึกลงไปเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบไพไรท์สะสมอยู่เป็นปริมาณมาก ในเขตนี้พืชพรรณธรรมชาติขึ้นเบียดเสียดกันอย่างหนาแน่น มีพันธุ์ไม้ยืนต้นขึ้นปะปนกันอยู่มากกว่าร้อยชนิด โดยมีเรือนยอดอยู่ในระดับสูงตั้งแต่ ๒๐-๓๐ เมตร พืชพื้นล่างที่ขึ้นอยู่มีทั้งไม้พุ่ม เถาวัลย์ ปาล์ม หวาย และเฟิร์นนานาชนิด

2. เขตอนุรักษ์ (Conservation Zone)
       เป็นบริเวณพื้นที่พรุที่พืชพรรณธรรมชาติถูกทำลายไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ และยังไม่มีโครงการพัฒนาเข้าไปดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ป่าถูกทำลายโดยการแผ่วถาง และไฟไหม้ทำความเสียหายในช่วงปีที่อากาศแล้งจัด ในฤดูฝนระดับน้ำสูงจากผิวดินตั้งแต่ 20-30 เซนติเมตร ไปจนถึง 1 เมตร ดินมีทั้งดินอินทรีย์ และดินอนินทรีย์ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวจัด สำหรับทางตอนใต้ของพรุโต๊ะแดงเป็นดินอินทรีย์หนาประมาณ 1-3 เมตร ดินชั้นล่างเป็นดินเลนที่มีสารประกอบกำมะถันสะสมอยู่น้ำที่ท่วมขังอยู่ในบริเวณนี้ส่วนใหญ่มีส่วนประกอบเป็นกรดจัด สีดำหรือสีน้ำตาลปนดำ
เนื่องจากมีสารอินทรีย์แขวนลอยปะปนอยู่มากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเสม็ดขาวและพื้นที่ป่าพรุที่ได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ มีพืชพวกคมบางย่านลำเท็ง กก กระจูด และพืขพวกหญ้าขึ้นเป็นพืชพื้นล่าง หรือเป็นพื้นที่ซึ่งในอดีตถูกแผ้วถางแล้วถูกปล่อยทิ้งร้างไป ต่อมามีไม้เสม็ดขาว กก กระฉูด และพืชพวกหญ้าขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป

3. เขตพัฒนา (Development Zone)
       เป็นบริเวณพื้นที่พรุที่ได้มีการระบายน้ำออกไปบ้างแล้วพืชพรรณธรรมชาติดั้งเดิมถูกแผ้วถางจนหมดสิ้น มีพื้นที่ที่ใช้เพื่อกิจกรรมทางด้านเกษตร และมีโครงการพัฒนาต่าง ๆ เข้าไปดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง พื้นที่เหล่านี้ได้จัดสรรที่ดินให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัย และทำกินอย่างถาวร

การดำเนินงานพัฒนาพื้นที่พรุ
       ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้จัดทำแผนแม่บทในการพัฒนา และกำหนดเขตการใช้ที่ดินทั้ง 3 เขต ให้มีการดำเนินงานพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแบบผสมผสานให้สอดคล้องกันในหลายด้าน และกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่พรุไว้ดังนี้

1. เขตสงวน
       เป็นเขตที่ดำเนินการสงวนรักษาป่าไม้ไว้อย่างเข้มงวด เพื่อให้สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด หน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง คือ กรมป่าไม้ ปัจจุบันเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแล้ว เมื่อได้มีการตรวจสอบรายละเอียด และประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ก็จะทำให้การดูแลรักษาพื้นที่เหล่านี้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. เขตอนุรักษ์
       เป็นเขตที่ดำเนินการฟื้นฟูให้กลับเป็นป่าดังเดิม ซึ่งเปลี่ยนไปเป็นเขตสงวน หรือเปลี่ยนเป็นเขตพัฒนา โดยการใช้พื้นที่กระทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่พรุโดยไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของป่า และจะต้องผ่านการเห็นชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสียก่อนการดำเนินงานในเขตนี้
3. เขตพัฒนา
       เป็นเขตที่กำหนดให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินงานร่วมกันพัฒนาพื้นที่เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น

       การค้นคว้าวิจัยป่าพรุตามพระราชดำริก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ คณะผู้ดำเนินงานสนองพระราชดำริมีความเห็นว่า เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่พรุเป็นไปอย่างสอดคล้องผสมผสานกันทั้งในเรื่องอนุรักษ์ และการพัฒนาพื้นที่เขตต่าง ๆ ในป่าพรุได้ดำเนินการไปพร้อมกันอย่างได้ผลดียิ่ง
       ส่วนราชการอันประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ร่วมกับกรมป่าไม้ ได้รับสนองพระราชดำริโดยจัดหาสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาวิจัยเกี่ยวกับป่าพรุขึ้นบริเวณคลองโต๊ะแดงฝั่งขวา บริเวณบ้านโต๊ะแดง หมู่ที่ 8 ตำบลปูโต๊ะ อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส และจัดตั้ง "ศูนย์ศึกษาวิจัย และธรรมชาติป่าพรุสิรินธร" ขึ้น เพื่อถวายพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 36 พรรษา
       ซึ่งศูนย์แห่งนี้เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม และศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมของป่าพรุอย่างละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์ในลักษณะของเส้นทางเดินธรรมชาติ (Nature Trai) และนิทรรศการความรู้ต่าง ๆ ปัจจุบันป่าพรุได้รับการใช้ประโยชน์อย่างอเนกประสงค์ควบคู่กับการสร้างสมดุลแห่งระบบนิเวศน์ ตามพระราชดำริแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานเพื่อความผาสุขนิรันดร์ของอาณาประชาราษฎร์

คำที่ควรรู้
*อเนกอนันต์ : มากมายนับไม่ถ้วน, มากหลาย, ใช้ว่า อเนกอนันตัง.
*มรรควิธี : การรวบรวมบทเรียน ประสบการณ์ หนทาง รูปแบบ ของการรับรู้คุณสมบัติ และกฏเกณฑ์.
*แผ้วถาง : ทําให้เตียน สะอาด หรือหมดสิ้นไป.
*ไม้ล้มขอนนอนไพร : ไม้ในป่าที่ล้มตายเอง.




แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

       ป่าไม้ของประเทศไทยถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วตามแรงหนุน เนื่องของประชากรที่เพิ่มขึ้นผนวกกับพลังผลักดันทางเศรษฐกิจระบบทุนนิยมเสรีที่มุ่งค้าขาย โดยใช้ป่าเป็นตัวสำคัญเชิงพาณิชย์การเช่นนี้ก่อให้เกิดภาวะแห้งแล้งเนื่องจากต้นน้ำลำธารถูกทำลาย ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อยามน้ำหลากก็เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และมีการพังทลายของดินอย่างรุนแรง จนเป็นปัญหาต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตร กลายเป็นทุกข์ร้อนของแผ่นดิน ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะเรื่องป่าไม้เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงห่วงใยเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เริ่มเสด็จเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติเป็นต้นมา

ป่าไม้สาธิต....พระราชดำริเริ่มแรกส่วนพระองค์
       ประมาณปี พ.ศ. 2503-2504 ขณะเสด็จพระราชดำเนินผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี เมื่อรถยนต์พระที่นั่งผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีนั้น มีต้นยางขนาดใหญ่ปลูกเรียงรายทั้งสองข้างทาง จึงได้มีพระราชดำริที่จะสงวนบริเวณป่ายางนี้ไว้ให้เป็นสวนสาธารณะ แต่ในระยะนั้นไม่อาจดำเนินการได้เนื่องจากต้องจ่ายเงินค่าทดแทนในอัตราที่สูง เพราะมีราษฎรมาทำไร่ทำสวนในบริเวณนั้นจำนวนมาก
       ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงเริ่มทดลองปลูกต้นยางด้วยพระองค์เอง โดยทรงเพาะเมล็ดยางในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุขพระราชวังไกลกังวล และได้ทรงปลูกต้นยางนั้นในแปลงป่าไม้ทดลองในบริเวณแปลงทดลองปลูกต้นยางนาพร้อมข้าราชบริพาร เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 จำนวน 1,250 ต้น
       

ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ทั่วประเทศมาปลูกในบริเวณที่ประทับสวนจิตรลดาในลักษณะป่าไม้สาธิต นอกจากนี้ยังได้สร้างพระตำหนักเรือนต้นในบริเวณป่าไม้สาธิตนั้นเพื่อทรงศึกษาธรรมชาติวิทยาของป่าไม้ด้วยพระองค์เองอย่างใกล้ชิด และลึกซึ้งในปี พ.ศ. 2508 “...ต้องพยายามอธิบายให้ราษฎรเข้าใจถึงการตัดต้นไม้สำหรับใช้สอยให้ถูกประเภทโดยเฉพาะต้นไม้ที่ปลูกสำหรับใช้เป็นไม้ฟืนซึ่งปลูกเพื่อประโยชน์ และความสะดวกของราษฎรเอง…”

แนวพระราชดำริด้านป่าไม้ : ทรงคิดค้นนานาวิธีที่จะอนุรักษ์ป่าไม้ให้ยืนยง ทรงสร้างความตระหนักให้มีความรักป่าไม้ด้วยจิตสำนึกร่วมกัน (Awareness and Sharing Participation) มากกว่าวิธีการใช้อำนาจบังคับ

ณ หน่วยงานพัฒนาต้นน้ำทุ่งจ๊อ ในปี พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระ-ราชดำริให้มีการปลูกต้นไม้ 3 ชนิด ที่แตกต่างกัน คือ ไม้ผล ไม้โตเร็ว และไม้เศรษฐกิจ เพื่อจะทำให้เกิดป่าไม้แบบผสมผสาน และสร้างความสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืน สามารถตอบสนองความต้องการของรัฐ และวิถีประชาในชุมชน


ประการสำคัญนั้นมีพระราชดำริที่ยึดเป็นทฤษฎีการพัฒนาด้านป่าไม้โดยปลูกฝังจิตสำนึกแก่ประชาชนว่า
"...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน
แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง..."

(พระราชดำรัสพระราชทานแก่เจ้าหน้าที่ป่าไม้
ณ หน่วยจัดการต้นน้ำทุ่งจ๊อ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วันเสาร์ ที่ 31 มกราคม 2519)
นับเป็นทฤษฎีที่เป็นปรัชญาในด้านการพัฒนาป่าไม้ที่ยิ่งใหญ่โดยแท้




ทฤษฎีการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกตามหลักการฟื้นฟูสภาพป่าด้วยวัฏธรรมชาติ (Natural Reforestation)
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงห่วงใยในปัญหาปริมาณป่าไม้ลดลงเป็นอย่างมาก จึงทรงพยายามค้นหาวิธีนานาประการที่จะเพิ่มปริมาณของป่าไม้ในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้นอย่างมั่นคง และถาวร โดยมีวิธีการที่เรียบง่าย และประหยัดในการดำเนินงาน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะอันเป็นธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งได้พระราชทานพระราชดำริหลายวิธีการ คือ
       1. ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก
       2. ปลูกป่าในที่สูง
       3. ปลูกป่าต้นน้ำลำธาร หรือการปลูกป่าธรรมชาติ
       4. การปลูกป่าทดแทน
       5. การปลูกป่า 3 อย่าง เพื่อประโยชน์ 4 อย่าง

ป่า 3 อย่าง คือ
       - ป่าสำหรับไม้ใช้สอย
       - ป่าสำหรับเป็นไม้ผล
       - ป่าสำหรับเป็นเชื้อเพลิง

ประโยชน์ที่ได้รับ
        การปลูกป่าใช้สอย โดยดำเนินการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วสำหรับตัดกิ่งมาทำฟืนเผาถ่าน ตลอดจนไม้สำหรับใช้ในการก่อสร้าง และหัตถกรรมส่วนใหญ่ได้มีการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วเป็นสวนป่า เช่น ยูคาลิปตัส ขี้เหล็ก ประดู่ แค กระดินยักษ์ และสะเดา เป็นต้น




พระราชดำริ “ป่าเปียก” ทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้โดยการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างแนวป้องกันไฟเปียก (Wet Fire Break) 
       ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักถึงคุณค่าอเนกอนันต์ของน้ำเป็นยิ่งนัก ทรงคำนึงว่าทุกสรรพสิ่งในสภาพแวดล้อมของมนุษย์นั้นจะเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้ หากรู้จักนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่นเดียวกับพระราชดำริ “ป่าเปียก” เพื่อป้องกันไฟไหม้ป่านั้น จึงเป็นมรรควิธีที่ทรงคิดค้นขึ้น จากหลักการที่แสนง่ายแต่ได้ประโยชน์มหาศาล กล่าวคือ ยามที่เกิดไฟไหม้ป่าขึ้นคราใดผู้คนส่วนใหญ่ก็มักคำนึงถึงการแก้ปัญหาด้วยการระดมสรรพกำลังกันดับไฟป่าให้มอดดับอย่างรวดเร็ว แต่แนวทางป้องกันไฟป่าระยะยาวนั้นยังดูเลือนลางในการวางระบบอย่างจริงจัง
พระราชดำริป่าเปียกจึงเป็นแนวพระราชดำริหนึ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงแนะนำให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทำการศึกษาทดลองจนได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ


วิธีการสร้าง “ป่าเปียก”
       • วิธีการแรก : ทำระบบป้องกันไฟไหม้ป่า โดยใช้แนวคลองส่งน้ำและแนวพืชชนิดต่าง ๆ ปลูกตามแนวคลองนี้
       • วิธีที่สอง : สร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยแนวป้องกันไฟป่าเปียก โดยอาศัยน้ำชลประทาน และน้ำฝน
       • วิธีที่สาม : โดยการปลูกต้นไม้โตเร็วคลุมแนวร่องน้ำ เพื่อให้ความชุ่มขึ้นค่อย ๆ ทวีขึ้น และแผ่ขยายออกไปทั้งสองร่องน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นไม้งอกงาม และมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่าเพราะไฟป่าจะเกิดขึ้นง่ายหากป่าขาดความชุ่มชื้น
       • วิธีที่สี่ : โดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น หรือที่เรียกว่า Check Dam ขึ้น เพื่อปิดกั้นร่องน้ำ หรือลำธารขนาดเล็กเป็นระยะ ๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำ และตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่เก็บไว้จะซึมเข้าไปสะสมในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายเข้าไปทั้งสองด้านกลายเป็น “ป่าเปียก”
       • วิธีที่ห้า : โดยการสูบน้ำเข้าไปในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วปล่อยน้ำลงมาทีละน้อยให้ค่อย ๆ ไหลซึมดิน เพื่อช่วยเสริมการปลูกป่าบนพื้นที่สูงในรูป “ภูเขาป่า” ให้กลายเป็น “ป่าเปียก” ซึ่งสามารถป้องกันไฟป่าได้อีกด้วย
        • วิธีที่หก : ปลูกต้นกล้วยในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นช่องว่างของป่าประมาณ 2 เมตร หากเกิดไฟไหม้ป่าก็จะปะทะต้นกล้วยซึ่งอุ้มน้ำไว้ได้มากกว่าพืชอื่นทำให้ลดการสูญเสียน้ำลงไปได้มาก

แนวพระราชดำริป่าเปียก จึงนับเป็นทฤษฎีการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้โดยใช้ความชุ่มชื้นเป็นหลักสำคัญที่จะช่วยให้ป่าเขียวสดอยู่ตลอดเวลา ไฟป่าจึงเกิดได้ยากการพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าไม้ที่สามารถทำได้ง่าย และได้ผลดียิ่ง


พระราชดำริ “ภูเขาป่า” : ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้โดยใช้ความรู้เบื้องต้นทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาเป็นหลักการดำเนินการ
       การสร้างภูเขาป่าอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นมรรควิธีหนึ่งที่พระราชทานแนวคิดอันเป็นทฤษฎีการพัฒนา อันเป็นมิติใหม่แก่วงการป่าไม้ 2 ประการ คือ


       ประการแรก หากมีน้ำใกล้เคียงบริเวณนั้น “...ควรสำรวจแหล่งน้ำเพื่อการพิจารณาสร้างฝายขนาดเล็กปิดกั้นร่องน้ำในเขตต้นน้ำลำธาร ทั้งนี้เพื่อแผ่กระจายความชุ่มชื้นออกไปให้กว้างขวางจะช่วยฟื้นฟูสภาพป่าในบริเวณที่สูงให้สมบูรณ์ขึ้น บริเวณดังกล่าวจะได้กลายเป็น “ภูเขาป่า” ต้นไม้เหล่านั้นจะมีผลช่วยรักษาระดับความชุ่มชื้นในธรรมชาติให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะไม่แห้งแล้งเกินไป และยังช่วยยึดผิวดินอันมีค่าไม่ให้ถูกน้ำเซาะทลายลงมายังพื้นที่ราบอีกด้วย…”

       ประการที่สอง หากไม่มีแหล่งน้ำในพื้นที่เพื่อฟื้นฟูป่าไม้ในบริเวณภูเขาเสื่อมโทรม “...ให้พิจารณาส่งน้ำขึ้นไปยังจุดที่สูงที่สุดเท่าที่จะดำเนินการได้ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถจ่ายน้ำลงไปหล่อเลี้ยงกล้าไม้อ่อนที่ปลูกทดแทนไว้บนภูเขาได้ตลอดเวลาโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ในอนาคตภูเขาในบริเวณดังกล่าวก็จะคืนสภาพเดิมเป็นภูเขาป่าที่จะมีความชุ่มชื้นพอสมควร ตลอดจนจะช่วยฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมในตอนล่างไม่ให้กลายเป็นดินแดนแห้งแล้ง....”

       ภูเขาป่าที่เขียวขจีจากแนวพระราชดำรินี้ สามารถพบเห็น และเข้าศึกษาวิธีการอนุรักษ์ และพัฒนาป่าไม้ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงชี้แนะให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลายแห่งด้วยกัน โดยเฉพาะที่เด่นชัด คือ ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี






แนวพระราชดำริทฤษฎีการพัฒนา และฟื้นฟูป่าไม้โดยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวยสัมพันธ์ซึ่งกัน และกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด : Check Dam
       ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการอยู่รอดของป่าไม้เป็นอย่างยิ่งทรงเสนออุปกรณ์อันเป็นเครื่องมือที่จะใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ที่ได้ผลดียิ่ง กล่าวคือปัญหาที่สำคัญที่เป็นตัวแปรแห่งความอยู่รอดของป่าไม้นั้น “น้ำ” คือสิ่งที่ขาดไม่ได้โดยแท้ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงแนะนำให้ใช้ฝายกั้นน้ำ หรือเรียกว่า Check Dam หรืออาจเรียกขานกันว่า “ฝายชะลอความชุ่มชื้น” ก็ได้เช่นกัน
       Check Dam คือสิ่งก่อสร้างขวางกั้นทางเดินของลำน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นห้วยลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำ หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงทำให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง และกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลเทลงไปในบริเวณลุ่มน้ำตอนล่างนับเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีการหนึ่ง
ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชาธิบายว่า การปลูกป่าทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลายนั้น “...จะต้องสร้างฝายเล็กเพื่อหนุนน้ำส่งไปตามเหมืองไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูกทั้งสองด้าน ซึ่งจะให้น้ำค่อย ๆ แผ่ขยายออกไปทำความชุ่มชื้นในบริเวณนั้นด้วย…”


ประเภทของ Check Dam นั้น ทรงแยกออกเป็น 2 ประเภท
       ประเภทแรก คือ ฝ่ายต้นน้ำลำธารหรือฝ่ายชะลอความชุ่มชื้น
       ประเภทที่สอง คือ ฝ่ายดักตะกอน

       ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพิจารณาสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น เพื่อสร้างระบบวงจรน้ำแก่ป่าไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ “...ให้ดำเนินการสำรวจหาทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูงที่ใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝายดังกล่าว จำเป็นจะต้องออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ปริมาณมากพอสมควรเป็นเวลานาน 2 เดือน การเก็บรักษาน้ำสำรองได้นานหลังจากฤดูฝนผ่านไปแล้ว จะทำให้มีปริมาณน้ำหล่อเลี้ยง และประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่แข็งแรง และโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้งอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องโดยการจ่ายน้ำออกไปรอบ ๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้…”

Check Dam ตามแนวพระราชดำริ กระทำได้ 3 รูปแบบ คือ
1. Check Dam แบบท้องถิ่นเบื้องต้น
       เป็นการก่อสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น กิ่งไม้ และท่อนไม้ล้มขอนนอนไพร ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่าง ๆ ในลำห้วย ซึ่งเป็นการก่อสร้างแบบง่าย ๆ ก่อสร้างในบริเวณตอนบนของลำห้วยหรือร่องน้ำซึ่งจะสามารถดักตะกอน ชะลอการไหลของน้ำ และเพิ่มความชุ่มขึ้นบริเวณรอบฝ่ายได้เป็นอย่างดี

2. Check Dam แบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร
       ก่อสร้างด้วยการเรียงหินเป็นผนังกั้นน้ำ ก่อสร้างบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลำห้วย หรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอน และเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งได้บางส่วน

3. Check Dam แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก
       เป็นการก่อสร้างแบบถาวร ส่วนมากจะดำเนินการในบริเวณตอนปลายของลำห้วย หรือร่องน้ำสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี ค่าก่อสร้างเฉลี่ยประมาณ ๔๐,๐๐๐-๕๐,๐๐๐ บาท แล้วแต่ขนาดของลำห้วยซึ่งควรมีความกว้างไม่เกิน 4 เมตร






ข้อคำนึงในการสร้าง Check Dam
       1. ควรสำรวจสภาพพื้นที่
       2. ต้องคำนึงถึงความแข็งแรงให้มากพอ
       3. ควรก่อสร้างในพื้นที่ที่ช่องลำห้วยมีความลาดชันต่ำ
       4. วัสดุก่อสร้าง Check Dam ประเภทกิ่งไม้ ท่อนไม้
       5. ถ้าสร้าง Check Dam แบบคอกหมูแกนดินอัดแน่น
       6. ควรปลูกไม้ยืนต้นยึดดินบนสันฝาย
       7. ควรดำเนินการก่อสร้าง Check Dam หลังฤดูฝน หรือหลังน้ำหลาก


แนวทางที่เหมาะสมในการสร้าง Check Dam
       ก่อนดำเนินการควรสำรวจร่องน้ำลำห้วยในพื้นที่ที่มีปัญหาการพังทลายของดิน หรือปัญหาพื้นที่ขาดความชุ่มชื้น โดยพิจารณาถึงความลาดชันของร่องน้ำ และสำรวจหาข้อมูลปริมาณน้ำไหลในร่องน้ำมาใช้ประกอบการเลือกตำแหน่งสร้าง Check Dam ดังนี้
       1. ในพื้นที่ลาดชันสูง ในกรณีที่ความกว้างของลำห้วยไม่เกิน 2 เมตร ควรสร้างฝายผสม ใช้วัสดุธรรมชาติ ไม้ท่อน หิน ถุงบรรจุดิน หรือทราย แต่ถ้าความกว้างของลำห้วยมากกว่า 2 เมตร หรือในลำห้วยมีน้ำมาก ควรเพิ่มโครงสร้างของ Check Dam เป็นแบบคอกหมูที่มีโครงสร้างหลายระดับมากน้อยตามปริมาณน้ำ
       2. ในพื้นที่ลาดชันปานกลาง ควรสร้าง Check Dam แบบคอกหมูหรือแบบท้องถิ่นของชาวบ้าน ถ้าเป็นแบบคอกหมูให้ใช้หินเรียง หรือกระสอบทรายผสมซีเมนต์ขนาบโครงสร้าง
       3. ในพื้นที่ลาดชันต่ำ ในกรณีที่มีน้ำมากควรสร้างฝ่ายคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่ถ้ามีน้ำไม่มากนัก และความกว้างไม่เกิน 2 เมตร อาจใช้ถุงทรายผสมซีเมนต์ได้

นานาประโยชน์จาก Check Dam, อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
       1. ช่วยลดการพังทลายของดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย
       2. ช่วยกักเก็บตะกอนที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วยได้ดี
       3. เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่พื้นที่
       4. การที่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้บางส่วนนี้ ทำให้เกิดเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการบริโภคของมนุษย์ และสัตว์ต่าง ๆ ตลอดจนนำไปใช้ในการเกษตรได้อีกด้วย






ทฤษฎีการอนุรักษ์และพัฒนา “ป่า-ชายเลน” อันเนื่องมาจากพระราชดำริ : แนวทางการสร้างวงจรของระบบนิเวศน์ด้วยการปกปักอนุรักษ์ และขยายพันธุ์ไม้ป่าชายเลน
       ป่าชายเลน เรียกชื่อกันหลายอย่างว่า ป่าชายเลนน้ำเค็ม และป่าเลน หรือบางแห่งเรียก “ป่าโกงกาง” เป็นป่าที่เกิดขึ้นตามชายฝั่งทะเล และปากแม่น้ำของประเทศไทย ลักษณะของป่าชนิดนี้เป็นป่าไม้ผลัดใบ มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยัน หรือรากหายใจแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของต้นไม้นั้น ๆ ตลอดแนวชายฝั่งทะเลไทยยาวประมาณ 2,600 กิโลเมตร มีส่วนที่เป็นป่าชายเลนอยู่เพียงประมาณร้อยละ 36 ของความยาวชายฝั่งเท่านั้น
       สภาพป่าชายเลนโดยทั่ว ๆ ไปพบว่า ทางภาคใต้ของประเทศไทยแถบฝั่งทะเลอันดามันมีสภาพค่อนข้างอุดมสมบูรณ์มากที่สุด ส่วนทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย และภาคกลางบริเวณปากอ่าวไทยมีสภาพค่อนข้างเสื่อมโทรม ประกอบด้วยไม้ขนาดเล็ก และถูกรบกวนจากมนุษย์ในการเปลี่ยนสภาพป่าชายเลนเป็นนากุ้ง นาเกลือ และแหล่งอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับภาคตะวันออก การทำนากุ้งได้ส่งผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมของป่าชายเลนเป็นอย่างมากนอกจากนี้ป่าชายเลนยังถูกทำลายด้วยเหตุอื่นอีก เช่น การทำเหมืองแร่ การเกษตรกรรมบางประเภทการขยายตัวของชุมชน การสร้างท่าเทียบเรือ การสร้างถนน และพาดสายไฟฟ้า รวมทั้งการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้จำนวนป่าชายเลนลดลงอย่างที่ไม่อาจประมาณการได้
ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทถึงปัญหา และความสำคัญยิ่งของป่าชายเลนดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำริแก่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ (นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) ในพระราชพิธีแรกนาขวัญหว่านข้าวในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 สรุปแนวพระราชดำริว่า


“...ป่าชายเลนมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ของพื้นที่ชายฝั่งทะเล และอ่าวไทย
แต่ปัจจุบันป่าชายเลนของประเทศไทยเรากำลังถูกบุกรุก และถูกทำลายลงไป
โดยผู้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน จึงควรหาทางป้องกันอนุรักษ์ และขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะต้นโกงกางเป็นไม้ชายเลนที่แปลก และขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก
เพราะต้องอาศัยระบบน้ำขึ้นน้ำลงในการเติบโตด้วย จึงขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
คือ กรมป่าไม้ กรมประมงกรมชลประทาน และกรมอุทกศาสตร์
ร่วมกันหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการทดลองขยายพันธุ์โกงกางและปลูกสร้างป่าชายเลนกันต่อไป…”

การสนองพระราชดำริด้านอนุรักษ์ และพัฒนาป่าชายเลน
       โครงการพัฒนา และฟื้นฟูป่าชายเลนในเขตพื้นที่เป้าหมายของจังหวัดสงขลา และจังหวัดปัตตานี นับเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่บังเกิดขึ้นด้วยกระแสพระราชดำริร่วมกับสมเด็จพระศรี-นครินทราบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 โดยได้พระราชทานพระราชกระแส กับหม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาให้ร่วมกันเป็นแกนกลางในการดำเนินการปลูกป่าพระราชทานแก่ประชาชนทั้งมวล
       ในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษกเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติเป็นปีที่ 50 ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยทรงตั้งมั่นในพระราชหฤทัยที่จะฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้มีสภาพยั่งยืนถาวรยาวนานการดำเนินการปลูกป่าชายเลน “ป่าพระราชทานมูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง” ในจังหวัดสงขลา และปัตตานี มีองค์กรที่ทำหน้าที่ประสานงานทั้งภาครัฐ และเอกชน คือ มูลนิธิโททาล (Total) สถาบันทรัพยากรชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ดำเนินการปลูกป่าชายเลนภายใต้โครงการย่อย 3 โครงการ คือ

       1. โครงการชุมชนพัฒนาป่าชายเลน ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
       2. โครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนยะหริ่ง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
       3. โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการฟื้นฟูป่าชายเลน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

การอนุรักษ์และพัฒนา “ป่าพรุ” ทฤษฎีการพัฒนาโดยหลักการที่ทรงเน้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติด้วยการปรับปรุงสภาพป่าให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศน์มากที่สุด
       “ป่าพรุ” เป็นป่าไม้ทึบ ไม่ผลัดใบประเภทหนึ่ง ซึ่งเหลืออยู่เพียงผืนเดียวในภาคใต้ของประเทศไทย มีลักษณะเด่นชัด คือ เป็นป่าดงดิบที่มีน้ำท่วมขังทั่วทั้งบริเวณป่าพรุเกิดจากธรรมชาติสร้างขึ้นโดยสาเหตุที่คลื่นลมทะเลซัดดินทรายชายฝั่งปิดกั้นเป็นแนวสันเขื่อนจนกลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เมื่อซากพืชหล่นทับถมกันมากขึ้นในน้ำแช่ขังนี้ ก็จะเกิดปฏิกิริยาให้เกิดน้ำ และดินเปรี้ยวตามลำดับ

       ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าพรุราว ๆ 4,000,000 ไร่ ป่าพรุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่กระจายอยู่ในแนวเหนือใต้ด้านตะวันออกของพื้นที่จังหวัด มีเนื้อที่ประมาณ 290,000 ไร่ ประกอบด้วยพรุขนาดใหญ่ 3 แห่ง
       - พรุโต๊ะแดง
       - พรุบาเจาะ
       - พรุกาบแดง
       พรุโต๊ะแดงจัดได้ว่าเป็นพรุที่มีสภาพป่าพรุซึ่งยังคงสภาพธรรมชาติไว้อย่างสมบูรณ์ และมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เนื้อที่ประมาณ 216,500 ไร่พื้นที่ป่าติดต่อกันเป็นป่าขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอ
       พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกบุกเบิกเพื่อนำมาใช้ในการเกษตร แต่เนื่องจากพื้นที่พรุในจังหวัดนราธิวาสมีลักษณะทางกายภาพที่ไม่เหมาะสมอยู่หลายประการ ดังนั้นการพัฒนาดังกล่าวจึงดำเนินการไปด้วยความยากลำบาก และยังประโยชน์ไม่เต็มที่ หากยังใช้ประโยชน์โดยปราศจากการจัดการที่เหมาะสม สภาพแวดล้อมของพื้นที่พรุก็ยิ่งจะมีแนวโน้มสูงขึ้นในการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมโทรมได้ง่าย

ที่มาของแนวพระราชดำริพัฒนา และฟื้นฟูป่าพรุ
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ ร่วมกันศึกษาพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาอันสืบเนื่องมาจาก พรุซึ่งในระยะแรกของการเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปยังพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ในปี พ.ศ. 2519

       ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า.. ในหน้ามรสุมราษฎรได้รับความเดือดร้อนจากมีน้ำไหลบ่าลงมาท่วมพรุเข้าไร่นาเสียหาย จึงมีพระราชดำริเพื่อความร่วมมือกันระบายน้ำจากพรุธรรมชาติทั้งหลายนี้ให้เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุดการระบายน้ำออกจากพรุทำให้ทรงพบว่ามีสภาพดินเปรี้ยวเกิดขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง กระทั่งเมื่อมีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นในปี พ.ศ. 2525 จึงได้ทำหน้าที่เป็นแกนกลางประสานงานในการดำเนินงานจนถึงปัจจุบัน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้กำหนดเขตการใช้ที่ดินบริเวณพื้นที่พรุในจังหวัดนราธิวาส เพื่อสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ออกเป็น 3 เขต คือ

1. เขตสงวน (Preservation Zone)
       เป็นบริเวณพื้นที่พรุที่ยังคงสภาพเป็นป่าธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ และยังไม่ถูกรบกวนจากมนุษย์ ดินเป็นดินอินทรีย์ ลึกลงไปเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบไพไรท์สะสมอยู่เป็นปริมาณมาก ในเขตนี้พืชพรรณธรรมชาติขึ้นเบียดเสียดกันอย่างหนาแน่น มีพันธุ์ไม้ยืนต้นขึ้นปะปนกันอยู่มากกว่าร้อยชนิด โดยมีเรือนยอดอยู่ในระดับสูงตั้งแต่ ๒๐-๓๐ เมตร พืชพื้นล่างที่ขึ้นอยู่มีทั้งไม้พุ่ม เถาวัลย์ ปาล์ม หวาย และเฟิร์นนานาชนิด

2. เขตอนุรักษ์ (Conservation Zone)
       เป็นบริเวณพื้นที่พรุที่พืชพรรณธรรมชาติถูกทำลายไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ และยังไม่มีโครงการพัฒนาเข้าไปดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ป่าถูกทำลายโดยการแผ่วถาง และไฟไหม้ทำความเสียหายในช่วงปีที่อากาศแล้งจัด ในฤดูฝนระดับน้ำสูงจากผิวดินตั้งแต่ 20-30 เซนติเมตร ไปจนถึง 1 เมตร ดินมีทั้งดินอินทรีย์ และดินอนินทรีย์ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวจัด สำหรับทางตอนใต้ของพรุโต๊ะแดงเป็นดินอินทรีย์หนาประมาณ 1-3 เมตร ดินชั้นล่างเป็นดินเลนที่มีสารประกอบกำมะถันสะสมอยู่น้ำที่ท่วมขังอยู่ในบริเวณนี้ส่วนใหญ่มีส่วนประกอบเป็นกรดจัด สีดำหรือสีน้ำตาลปนดำ
เนื่องจากมีสารอินทรีย์แขวนลอยปะปนอยู่มากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเสม็ดขาวและพื้นที่ป่าพรุที่ได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ มีพืชพวกคมบางย่านลำเท็ง กก กระจูด และพืขพวกหญ้าขึ้นเป็นพืชพื้นล่าง หรือเป็นพื้นที่ซึ่งในอดีตถูกแผ้วถางแล้วถูกปล่อยทิ้งร้างไป ต่อมามีไม้เสม็ดขาว กก กระฉูด และพืชพวกหญ้าขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป

3. เขตพัฒนา (Development Zone)
       เป็นบริเวณพื้นที่พรุที่ได้มีการระบายน้ำออกไปบ้างแล้วพืชพรรณธรรมชาติดั้งเดิมถูกแผ้วถางจนหมดสิ้น มีพื้นที่ที่ใช้เพื่อกิจกรรมทางด้านเกษตร และมีโครงการพัฒนาต่าง ๆ เข้าไปดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง พื้นที่เหล่านี้ได้จัดสรรที่ดินให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัย และทำกินอย่างถาวร

การดำเนินงานพัฒนาพื้นที่พรุ
       ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้จัดทำแผนแม่บทในการพัฒนา และกำหนดเขตการใช้ที่ดินทั้ง 3 เขต ให้มีการดำเนินงานพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแบบผสมผสานให้สอดคล้องกันในหลายด้าน และกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่พรุไว้ดังนี้

1. เขตสงวน
       เป็นเขตที่ดำเนินการสงวนรักษาป่าไม้ไว้อย่างเข้มงวด เพื่อให้สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด หน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง คือ กรมป่าไม้ ปัจจุบันเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแล้ว เมื่อได้มีการตรวจสอบรายละเอียด และประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ก็จะทำให้การดูแลรักษาพื้นที่เหล่านี้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. เขตอนุรักษ์
       เป็นเขตที่ดำเนินการฟื้นฟูให้กลับเป็นป่าดังเดิม ซึ่งเปลี่ยนไปเป็นเขตสงวน หรือเปลี่ยนเป็นเขตพัฒนา โดยการใช้พื้นที่กระทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่พรุโดยไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของป่า และจะต้องผ่านการเห็นชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสียก่อนการดำเนินงานในเขตนี้
3. เขตพัฒนา
       เป็นเขตที่กำหนดให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินงานร่วมกันพัฒนาพื้นที่เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น

       การค้นคว้าวิจัยป่าพรุตามพระราชดำริก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ คณะผู้ดำเนินงานสนองพระราชดำริมีความเห็นว่า เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่พรุเป็นไปอย่างสอดคล้องผสมผสานกันทั้งในเรื่องอนุรักษ์ และการพัฒนาพื้นที่เขตต่าง ๆ ในป่าพรุได้ดำเนินการไปพร้อมกันอย่างได้ผลดียิ่ง
       ส่วนราชการอันประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ร่วมกับกรมป่าไม้ ได้รับสนองพระราชดำริโดยจัดหาสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาวิจัยเกี่ยวกับป่าพรุขึ้นบริเวณคลองโต๊ะแดงฝั่งขวา บริเวณบ้านโต๊ะแดง หมู่ที่ 8 ตำบลปูโต๊ะ อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส และจัดตั้ง "ศูนย์ศึกษาวิจัย และธรรมชาติป่าพรุสิรินธร" ขึ้น เพื่อถวายพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 36 พรรษา
       ซึ่งศูนย์แห่งนี้เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม และศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมของป่าพรุอย่างละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์ในลักษณะของเส้นทางเดินธรรมชาติ (Nature Trai) และนิทรรศการความรู้ต่าง ๆ ปัจจุบันป่าพรุได้รับการใช้ประโยชน์อย่างอเนกประสงค์ควบคู่กับการสร้างสมดุลแห่งระบบนิเวศน์ ตามพระราชดำริแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานเพื่อความผาสุขนิรันดร์ของอาณาประชาราษฎร์

คำที่ควรรู้
*อเนกอนันต์ : มากมายนับไม่ถ้วน, มากหลาย, ใช้ว่า อเนกอนันตัง.
*มรรควิธี : การรวบรวมบทเรียน ประสบการณ์ หนทาง รูปแบบ ของการรับรู้คุณสมบัติ และกฏเกณฑ์.
*แผ้วถาง : ทําให้เตียน สะอาด หรือหมดสิ้นไป.
*ไม้ล้มขอนนอนไพร : ไม้ในป่าที่ล้มตายเอง.