หลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9


หลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9





          หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เปรียบเสมือน “เข็มทิศ” เพื่อช่วยนำทางให้ราษฎรนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและในการปฏิบัติงานเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงและประสบความสำเร็จในชีวิต

โดยแยกหลักการทรงงานออกเป็น 3 แนวทาง ได้ดังนี้
แนวทางที่ 1 หลักธรรม หรือ หลักของจิตใจ
          หมายถึง การนำหลักการทรงงานมาเป็นฐานคิดในการที่จะลงมือปฏิบัติงานหรือการดำรงให้อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง ชอบธรรม
แนวทางที่ 2 หลักคิด
          หมายถึง การนำหลักการทรงงานมาเป็นแนวคิดในการดำรงตน และการปฏิบัติงาน โดยสามารถนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบท หรือภูมิสังคมของตนเอง
แนวทางที่ 3 หลักปฏิบัติ
          หมายถึง การนำหลักการทรงงานมาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตหรือการปฏิบัติงานให้ไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน


หลักการทรงงาน 27 ประการ ของในหลวงรัชกาลที่ 9
1. ซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน
          พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสในเรื่องของความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกันอย่างต่อเนื่องตลอดมา เพราะทรงเห็นว่าหากคนไทยทุกคนได้ร่วมมือกันช่วยพัฒนาชาติ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกันแล้ว ประเทศจะมีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก

2. อ่อนน้อม ถ่อมตน
          การอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคุณสมบัติที่ทุกคนต้องพึงมี พึงปฏิบัติให้เป็นปกติวิสัย ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปฏิบัติให้เห็นมาโดยตลอด

3. ความเพียร
          ความเพียร เป็นคุณสมบัติที่จะทำให้งานประสบความสำเร็จ ต้องมีความมุ่งมั่นโดยเฉพาะการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

4. รู้ รัก สามัคคี
          พระราชดำรัสที่มีค่า และมีความหมายลึกซึ้ง พร้อมทั้งสามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย
          รู้ : การจะลงมือทำสิ่งใดนั้น จะต้องรู้ก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีการแก้ปัญหา
          รัก : เมื่อรู้ครบถ้วนกระบวนความแล้ว จะต้องมีความรักเป็นพลังผลักดันที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ไขปัญหานั้น ๆ ความรักจะเป็นแรงกระตุ้นให้ทำงานด้วยความเต็มใจ
          สามัคคี : การจะลงมือปฏิบัติ ควรคำนึงเสมอว่าเราจะทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องทำงานร่วมมือร่วมใจกันเป็นองค์กร เป็นหมู่คณะเพื่อให้มีพลังในการแก้ไขปัญหาให้ผ่านลุล่วงไปได้ด้วยดี

5. ทำเรื่อย ๆ แบบสังฆทาน
          “หลักสังฆทาน” มีความหมายคือ “ให้เพื่อให้” เป็นการให้โดยไม่เลือก ไม่หวังผลตอบแทน และไม่เลือกปฏิบัติ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ไม่ทรงเลือกไม่ทรงกำหนดว่าเป็นใคร มีเชื้อชาติหรือศาสนาใดแต่พระองค์ทรงทำเพื่อทุกคน

6. มีความสุขในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น
          ความสุขที่แท้จริง คือ การทำประโยชน์ให้ผู้อื่นด้วย มิใช่ทำแต่เพื่อตนเองเท่านั้น เพราะเมื่อคนอื่นมีความสุขแล้ว เราก็จะมีความสุขตามไปด้วย เพราะความสุขของผู้อื่น คือความสุขส่วนรวมนั่นเอง

“...ขอบใจนะที่มาช่วยฉันทำงาน ฉันขอบอกก่อนนะ ช่วยฉันทำงาน ฉันไม่มีอะไรจะให้
นอกจากมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น…”
(พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร)




7. ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำงานอย่างผู้รู้จริง
          การที่จะพระราชทานโครงการใดโครงการหนึ่ง พระองค์จะทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบ ทั้งข้อมูลเบื้องต้นไปจนถึงเรื่องเอกสาร แผนที่ตลอดจนสอบถามจากเจ้าหน้าที่นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้องทอดพระเนตรในพื้นที่จริง เพื่อที่จะได้พระราชทานความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และตรงตามความต้องการของประชาชน

8. ระเบิดจากข้างใน
          “ระเบิดจากข้างใน” หมายความว่า ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราจะเข้าไปพัฒนา ให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาก่อน ไม่ใช่การนำเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชน ที่ยังไม่มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัวเลย อย่าให้โดยที่ผู้รับยังไม่พร้อมที่จะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

9. ทำตามลำดับขั้น
          ในการทรงงานจะทรงเริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดของประชาชนก่อน ได้แก่ สาธารณสุข เมื่อมีร่างกายที่แข็งแรง ก็จะสามารถทำประโยชน์ด้านอื่น ๆ ต่อไปได้ จากนั้นจะเป็นเรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค ที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เน้นการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ราษฎรสามารถนำไปปฏิบัติได้ และเกิดประโยชน์สูงสุดด้วย

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น
ต้องสร้างพื้นฐาน คือความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน
โดยใช้วิธีการ และใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา
เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควร และปฏิบัติได้แล้ว
จึงค่อยสร้าง ค่อยเสริมความเจริญ และฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป
...หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว
โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย
ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด
ดังเห็นได้ที่อารยประเทศหลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในเวลานี้...”
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดี ที่ 18 กรกฎาคม 2517)


10. ภูมิสังคม
          การพัฒนาใด ๆ ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร รวมไปถึงนิสัยใจคอของคน ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น และใช้หลักในการปรับตัวให้อยู่กับธรรมชาติให้ได้

“...การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์
และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา
คือ นิสัยใจคอของคนเรา จะไปบังคับให้คนอื่นคิดอย่างอื่นไม่ได้
เราต้องแนะนำ...เข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไรจริง ๆ
แล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจหลักการของการพัฒนานี้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง...”

11. องค์รวม
          ในการพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการหนึ่งนั้น จะทรงมองเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยงครบวงจร ทรงเรียกวิธีนี้ว่า “องค์รวม” (Holistic) หมายถึง การมองเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นแบบบูรณาการ โดยพิจารณาครบทุกด้านของปัญหา และกำหนดแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยงเป็นระบบ

12. ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด
          ในเรื่องความประหยัดของในหลวงรัชกาลที่ 9 ประชาชนชาวไทยต่างทราบกันดีว่า ทรงประหยัดมากในเรื่องของส่วนพระองค์ ทรงใช้ทุกสิ่งอย่างคุ้มค่า ดังที่เราเคยเห็นในเรื่องของดินสอ ยาสีพระทนต์ รวมถึงฉลองพระองค์และฉลองพระบาท ขณะเดียวกันการพัฒนาและช่วยเหลือราษฎร พระองค์ทรงใช้หลักการในการข้อนี้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยความเรียบง่าย ประหยัด ทรงประยุกต์ใช้สิ่งของที่มีอยู่ในภูมิภาคหรือในพื้นที่นั้น ๆ เพื่อให้ราษฎรสามารถทำเองได้ ทรงให้ใช้หลักคุ้มค่า (Cost Effectiveness) แต่อาจไม่คุ้มทุน (Cost Benefit) เสมอไป ซึ่งหมายถึงปัญหาของมนุษย์คิดเป็นราคาไม่ได้ อย่าไปเน้นกำไร หากแต่เราต้องจัดการให้ความทุกข์ของเขาหมดไปให้ได้โดยเน้นความยั่งยืนและประโยชน์สุข


13. ขาดทุน คือ กำไร
          การพัฒนาเพื่อการอยู่ดีกินดีของประชาชนนั้น อย่าไปนึกหวังกำไรหรือผลตอบแทนแต่อย่างเดียว ทำอะไรต้องลงทุน ลงแรง และปัจจัยบางอย่างก่อน เพื่อสร้างผลกำไรในอนาคต นั่นคือ ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน

“...ถ้าหากว่าอยากให้ประชาชนอยู่ดีกินดี รัฐจะต้องลงทุน
ต้องสร้างโครงการซึ่งต้องใช้เงินจำนวนเป็นร้อยเป็นพันเป็นหมี่นล้าน
ถ้าทำไปก็เป็น “loss” เป็นการเสีย เป็นการขาดทุน เป็นการจ่าย
คือรัฐบาลต้องตั้งงบประมาณรายจ่าย ซึ่งมาจากเงินของประชาชน
แต่ว่าถ้าโครงการดี ในไม่ช้าประชาชนก็จะได้กำไร จะได้ผล
ราษฎรจะอยู่ดี กินดีขึ้น จะได้ประโยชน์ไป
ส่วนรัฐบาลไม่ได้อะไร แต่ข้อนี้ถ้าดูให้ดี ๆ จะเห็นว่าถ้าราษฎรอยู่ดีกินดี มีรายได้
รัฐบาลก็เก็บภาษีได้สะดวก ไม่มีการหนีภาษี
เพราะเมื่อมีรายได้ดีขึ้น เขาก็สามารถเสียภาษีได้มากขึ้น...”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ
ที่เข้าฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันพุธที่ 4 ธันวาคม 2534)


14. ปลูกป่าในใจคน
          ป่าไม้เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับชีวิตมนุษย์ หากไม่มีการปลูกจิตสำนึกในการรักษาป่าไม้ให้กับทุกคนแล้ว จะทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นไปด้วยความยากลำบาก เจ้าหน้าที่รัฐดูแลรักษาป่าไม้ด้วยหน้าที่พึงกระทำ แต่ชาวบ้านจะสามารถดูแลและหวงแหนป่าไม้ ด้วยจิตสำนึกเพื่อรักษาปัจจัยแห่งชีวิตของตนเอง

“...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ ลงในใจคนเสียก่อน
แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดินและรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง..”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่เจ้าหน้าที่ป่าไม้
ณ หน่วยจัดการต้นน้ำทุ่งจ๊อ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 31 มกราคม 2519)


15. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
          ทรงเข้าใจถึงธรรมชาติ และต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทรงมองเห็นถึงปัญหาของธรรมชาติได้อย่างละเอียด หากเราต้องการแก้ไขปัญหาธรรมชาติ เราก็ต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ ดังพระราชดำริที่ได้พระราชทานเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อาทิ

“น้ำดีไล่น้ำเสีย” อาศัยหลักแรงโน้มถ่วงตามธรรมชาติ (Gravity Flow)
“พืชกรองน้ำเสีย” การบำบัดน้ำเสียโดยใช้ต้นธูปฤาษี กกกลม หรือต้นหญ้า
“ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก” ปล่อยให้ธรรมชาติช่วยฟื้นฟูธรรมชาติ
“การกำจัดขยะ” ด้วยการหมักให้ย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ


16. อธรรมปราบอธรรม
          ทรงนำความจริงในเรื่องความเป็นไปแห่งธรรมชาติ และกฏเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักการแนวปฏิบัติที่สำคัญในการแก้ปัญหาและเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติให้กลับสู่ปกติ ทรงคิดค้นวิธีบำบัดน้ำเสียโดยใช้ผักตบชวาดูดซึมสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ และเป็นที่มาของ “อธรรมปราบอธรรม” ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า

“...เห็นไหมว่าน้ำเน่ามันก็เป็นอธรรม
ผักตบชวาที่เราไม่ต้องการมันก็เป็นอธรรมเหมือนกัน...
ฉันจะเอาอธรรมสู้กับอธรรม ให้ออกมาเป็นธรรมมะให้ได้…”

17. ประโยชน์ส่วนรวม
          ทรงเห็นว่าการทำงานทุกอย่างของเรานั้น มีผลเกี่ยวเนื่องถึงประโยชน์ส่วนรวมของบ้านเมืองและประชาชนทุกคน เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ทุกประการด้วยความบริสุทธิ์ โดยเต็มกำลังสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ การปฏิบัติพระราชกรณียกิจและการพระราชทานพระราชดำริในการพัฒนาและช่วยเหลือพสกนิกร ทรงระลึกถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญเสมอ

“....ใครต่อใครบอกว่าขอให้เสียสละส่วนตัวเพื่อส่วนรวม
อันนี้ฟังจนเบื่อ อาจจะรำคาญด้วยซ้ำว่า
ใครต่อใครมาก็บอกว่าขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม
อาจมานึกในใจว่า ให้ ๆ อยู่เรื่อยแล้วส่วนตัวจะได้อะไร
ขอให้คิดว่าคนที่ให้เพื่อส่วนรวมนั้นมิได้ให้ส่วนรวมแต่อย่างเดียว
เป็นการให้เพื่อตัวเองสามารถที่จะมีส่วนรวมที่จะอาศัยได้...”
(พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ นิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม 2514)


18. การพึ่งตนเอง
         การพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อม และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยใช้หลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การวางเส้นทางชีวิตของตนเองให้เรียบง่ายธรรมดา และเดินสายกลางด้วยปัญญาพร้อมคุณธรรมในจิตใจ เพื่อนำชีวิตไปสู่ความสมดุลของทรัพยากรให้มีความมั่นคง และเกิดความยั่งยืนในที่สุด

“...การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพ
และตั้งตัวให้มีความพอกินพอใช้ก่อนอื่นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวด
เพราะผู้มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งพาตนเองได้
ย่อมสามารถสร้างความเจริญในระดับสูงขั้นต่อไป...”
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2517)





19. เศรษฐกิจพอเพียง
          เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักความคิด เพื่อนำชีวิตไปสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน เสมือนเป็นการวางฐานรากของตัวอาคารด้วยแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนบนทางสายกลาง โดยประกอบด้วยความพอประมาณ ความมีเหตุผล และจำเป็นต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรเพื่อรับมือต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และความระมัดระวัง ควบคู่กับการมีคุณธรรม

20. เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
          เข้าใจ : ทำอะไรต้องเข้าใจปัญหา เข้าใจหนทางในการแก้ไข เข้าใจกระบวนการจัดการและปรับความเข้าใจระหว่างผู้ให้กับผู้รับให้เข้าใจซึ่งกันและกันเสียก่อน
          เข้าถึง : เมื่อเข้าใจระหว่างกันแล้ว ต้องเข้าถึงการกระทำ สร้างความร่วมมือ และความสามัคคีของผู้ปฏิบัติเพื่อร่วมมือช่วยเหลือกันในการทำงาน
          พัฒนา : เมื่อต่างฝ่ายเข้าใจกันแล้ว เข้าถึงกันแล้ว การพัฒนาก็จะดำเนินการไปอย่างยั่งยืน ไม่ส่งผลกระทบที่ติดลบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง หากแต่จะนำไปสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน

21. แก้ปัญหาที่จุดเล็ก คิด Macro เริ่ม Micro
          ทรงมองปัญหาในภาพรวม (Macro) ก่อนเสมอ แต่ทรงแก้ไขปัญหาโดยเริ่มจากจุดเล็ก ๆ (Micro) คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ที่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม

“...ถ้าปวดหัวก็คิดอะไรไม่ออกเป็นอย่างนั้นต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อน...
มันไม่ได้เป็นการแก้อาการจริง แต่ต้องแก้ปวดหัวก่อน เพื่อที่จะให้อยู่ในสภาพที่คิดได้
แบบ (Macro) นี้ เขาจะทำแบบรื้อทั้งหมด ฉันไม่เห็นด้วย
อย่างบ้านคนอยู่ เราบอกบ้านนี้มันผุตรงนั้น ผุตรงนี้ ไม่คุ้มที่จะซ่อม
เอาตกลงรื้อบ้านนี้ ระเบิดเลย เราจะไปอยู่ที่ไหน ไม่มีที่อยู่
วิธีทำต้องค่อย ๆ ทำ จะไประเบิดทั้งหมดไม่ได้...”


22. ไม่ติดตำรา ทำให้ง่าย
          ไม่ติดตำรา คือ ไม่ผูกมัดยึดติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย เพราะสภาพปัญหามีไม่เหมือนกัน หากใช้ปัญญาไตร่ตรองให้รอบคอบครบถ้วนจะพบวิธีการพัฒนาใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาของประชาชน ทรงโปรดที่จะทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นสิ่งที่ง่าย ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย ใช้กฎธรรมชาติเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา การทำสิ่งที่ยากให้ง่าย นั้นเป็นเรื่องยาก ฉะนั้นคำว่า “ทำให้ง่าย” จึงเป็นหลักคิดสำคัญที่สุดของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อการพัฒนาประเทศ



23. การมีส่วนร่วม
          ในการทรงงานพระองค์จะทรงเปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย ทั้งประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับมาร่วมแสดงความคิดเห็น หรือเรียกว่าประชาพิจารณ์ เพื่อรับทราบถึงปัญหาและความต้องการของประชาชนโดยให้ยึดชาวบ้านเป็นครู

“...สำคัญที่สุดจะต้องหัดทำใจให้กว้าง
หนักแน่นรู้จักรับฟังความคิดความเห็น 
แม้กระทั่งคำวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาด
เพราะการรู้จักรับฟังอย่างฉลาดนั้นแท้จริง
คือ การระดมสติปัญญาและประสบการณ์อันหลากหลาย
มาอำนวยการปฏิบัติบริหารงานให้ประสบความสำเร็จที่สมบูรณ์นั่นเอง…”

24. พออยู่พอกิน
          ให้ประชาชนสามารถอยู่อย่าง “พออยู่พอกิน” ให้ได้เสียก่อน แล้วจึงค่อยขยับขยายให้มีขีดสมรรถนะที่ก้าวหน้าต่อไป เพราะการดำเนินชีวิตให้พออยู่พอกินนั้น ต้องมีทรัพยากรที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ต้องอาศัยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงทรงแก้ไขปัญหาทุกด้านเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ทรงฟื้นฟูและรักษาความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติที่เสียไป เพื่อสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้น

“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา
จะว่าเมืองไทยล้าสมัย
ว่าเมืองไทยเชย
ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่
แต่เราอยู่พอมีพอกิน
และขอให้ทุกคนมีความปารถนา
ที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน
มีความสงบ
และทำงานตั้งจิตอธิษฐาน
ตั้งปณิธานในทางที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน
ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด
แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ
เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ
ถ้ารักษาความพออยู่พอกินนี้ใด้
เราก็จะยอดยิ่งยวด...
ที่สุดก็คือประร่วมกัน
คือ ความพอมีพอกิน พออยู่
ปลอดภัยของประเทศชาติ...”
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันพุธที่ 4 ธันวาคม 2517)




25. บริการรวมที่จุดเดียว
          การบริการรวมที่จุดเดียวสำหรับเกษตรกรเป็นรูปแบบการบริการแบบเบ็ดเสร็จ หรือ One Stop Services ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในระบบบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนที่จะมาขอใช้บริการ เพื่อช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย จึงเป็นที่มาของการจัดตั้ง “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ”

26. ร่าเริง รื่นเริง คึกคัก ครึกครื้น กระฉับกระเฉง
         มีพลัง เป็นปัจจัยของการทำงานที่มีประสิทธิภาพ การทำงานให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพต้องอาศัยจิตใจเป็นเรื่องสำคัญ ต้องสร้างบรรยากาศรอบตัวให้มีความสุข ไม่เครียด

“...ทำงานต้องสนุกกับงานมิฉะนั้นเราจะเบื่อ 
และหยุดทำงานในระยะต่อมา
ดังนั้นปัจจัยของการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
คือ ร่าเริง รื่นเริง คึกคัก ครึกครื้น
ร่าเริง รื่นเริง เวลาทำงานตัวเราเองก็ต้องร่าเริง
และระหว่างทำงานก็ต้องสร้างบรรยากาศ
ให้ผู้เข้าร่วมในการทำงานมีความรื่นเริง
คึกคัก ครึกครื้น คือ ตัวเองต้องคึกคักกระฉับกระเฉงมีพลังเสียก่อน
และต้องสร้างบรรยากาศในการทำงานให้ครึกครื้นสนุกสนาน…”
(พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร)


27. ชัยชนะของการพัฒนา
          การแก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นเหมือนการเข้าสู่สงครามที่ไม่ใช้อาวุธในการแก้ไขปัญหาแต่ใช้การพัฒนาเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และทุกครั้งที่สามารถแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ จึงถือเป็นการได้รับชัยชนะโดยการพัฒนาอย่างแท้จริง

“....ประโยชน์อันพึงประสงค์ของการพัฒนานั้น
ก็คือ ความผาสุกสงบ ความเจริญมั่นคง
ของประเทศชาติและประชาชน
แต่การที่จะพัฒนาให้บรรลุผลเป็นประโยชน์ดังกล่าวได้
จำเป็นที่จะต้องพัฒนาฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน
ให้อยู่ดีกินดีเป็นเบื้องต้นก่อน
เพราะฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนนั้น
คือ รากฐานอย่างสำคัญของความสงบและความเจริญมั่นคง
ถ้าประชาชนทุกคน มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีแล้ว
ความสงบ และความเจริญ
ย่อมจะเป็นผลก่อเกิดต่อตามมาอย่างแน่นอน
จึงอาจพูดได้ว่า การพัฒนาก็คือการทำสงครามกับความยากจน
เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนโดยตรง
เมื่อใดก็ตาม ที่ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี 
และประเทศชาติมีความสงบ มีความเจริญ
เมื่อนั้นการพัฒนาจึงจะถือได้ว่าประสบความสำเร็จ
เป็นชัยชนะของการพัฒนาอย่างแท้จริง…”
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2539)





          หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เปรียบเสมือน “เข็มทิศ” เพื่อช่วยนำทางให้ราษฎรนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและในการปฏิบัติงานเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงและประสบความสำเร็จในชีวิต

โดยแยกหลักการทรงงานออกเป็น 3 แนวทาง ได้ดังนี้
แนวทางที่ 1 หลักธรรม หรือ หลักของจิตใจ
          หมายถึง การนำหลักการทรงงานมาเป็นฐานคิดในการที่จะลงมือปฏิบัติงานหรือการดำรงให้อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง ชอบธรรม
แนวทางที่ 2 หลักคิด
          หมายถึง การนำหลักการทรงงานมาเป็นแนวคิดในการดำรงตน และการปฏิบัติงาน โดยสามารถนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบท หรือภูมิสังคมของตนเอง
แนวทางที่ 3 หลักปฏิบัติ
          หมายถึง การนำหลักการทรงงานมาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตหรือการปฏิบัติงานให้ไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน


หลักการทรงงาน 27 ประการ ของในหลวงรัชกาลที่ 9
1. ซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน
          พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสในเรื่องของความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกันอย่างต่อเนื่องตลอดมา เพราะทรงเห็นว่าหากคนไทยทุกคนได้ร่วมมือกันช่วยพัฒนาชาติ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกันแล้ว ประเทศจะมีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก

2. อ่อนน้อม ถ่อมตน
          การอ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคุณสมบัติที่ทุกคนต้องพึงมี พึงปฏิบัติให้เป็นปกติวิสัย ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปฏิบัติให้เห็นมาโดยตลอด

3. ความเพียร
          ความเพียร เป็นคุณสมบัติที่จะทำให้งานประสบความสำเร็จ ต้องมีความมุ่งมั่นโดยเฉพาะการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

4. รู้ รัก สามัคคี
          พระราชดำรัสที่มีค่า และมีความหมายลึกซึ้ง พร้อมทั้งสามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย
          รู้ : การจะลงมือทำสิ่งใดนั้น จะต้องรู้ก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีการแก้ปัญหา
          รัก : เมื่อรู้ครบถ้วนกระบวนความแล้ว จะต้องมีความรักเป็นพลังผลักดันที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ไขปัญหานั้น ๆ ความรักจะเป็นแรงกระตุ้นให้ทำงานด้วยความเต็มใจ
          สามัคคี : การจะลงมือปฏิบัติ ควรคำนึงเสมอว่าเราจะทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องทำงานร่วมมือร่วมใจกันเป็นองค์กร เป็นหมู่คณะเพื่อให้มีพลังในการแก้ไขปัญหาให้ผ่านลุล่วงไปได้ด้วยดี

5. ทำเรื่อย ๆ แบบสังฆทาน
          “หลักสังฆทาน” มีความหมายคือ “ให้เพื่อให้” เป็นการให้โดยไม่เลือก ไม่หวังผลตอบแทน และไม่เลือกปฏิบัติ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ไม่ทรงเลือกไม่ทรงกำหนดว่าเป็นใคร มีเชื้อชาติหรือศาสนาใดแต่พระองค์ทรงทำเพื่อทุกคน

6. มีความสุขในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น
          ความสุขที่แท้จริง คือ การทำประโยชน์ให้ผู้อื่นด้วย มิใช่ทำแต่เพื่อตนเองเท่านั้น เพราะเมื่อคนอื่นมีความสุขแล้ว เราก็จะมีความสุขตามไปด้วย เพราะความสุขของผู้อื่น คือความสุขส่วนรวมนั่นเอง

“...ขอบใจนะที่มาช่วยฉันทำงาน ฉันขอบอกก่อนนะ ช่วยฉันทำงาน ฉันไม่มีอะไรจะให้
นอกจากมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น…”
(พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร)




7. ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำงานอย่างผู้รู้จริง
          การที่จะพระราชทานโครงการใดโครงการหนึ่ง พระองค์จะทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบ ทั้งข้อมูลเบื้องต้นไปจนถึงเรื่องเอกสาร แผนที่ตลอดจนสอบถามจากเจ้าหน้าที่นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้องทอดพระเนตรในพื้นที่จริง เพื่อที่จะได้พระราชทานความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และตรงตามความต้องการของประชาชน

8. ระเบิดจากข้างใน
          “ระเบิดจากข้างใน” หมายความว่า ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราจะเข้าไปพัฒนา ให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาก่อน ไม่ใช่การนำเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชน ที่ยังไม่มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัวเลย อย่าให้โดยที่ผู้รับยังไม่พร้อมที่จะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

9. ทำตามลำดับขั้น
          ในการทรงงานจะทรงเริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดของประชาชนก่อน ได้แก่ สาธารณสุข เมื่อมีร่างกายที่แข็งแรง ก็จะสามารถทำประโยชน์ด้านอื่น ๆ ต่อไปได้ จากนั้นจะเป็นเรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค ที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เน้นการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ราษฎรสามารถนำไปปฏิบัติได้ และเกิดประโยชน์สูงสุดด้วย

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น
ต้องสร้างพื้นฐาน คือความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน
โดยใช้วิธีการ และใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา
เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควร และปฏิบัติได้แล้ว
จึงค่อยสร้าง ค่อยเสริมความเจริญ และฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป
...หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว
โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย
ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด
ดังเห็นได้ที่อารยประเทศหลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในเวลานี้...”
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดี ที่ 18 กรกฎาคม 2517)


10. ภูมิสังคม
          การพัฒนาใด ๆ ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร รวมไปถึงนิสัยใจคอของคน ตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น และใช้หลักในการปรับตัวให้อยู่กับธรรมชาติให้ได้

“...การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์
และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา
คือ นิสัยใจคอของคนเรา จะไปบังคับให้คนอื่นคิดอย่างอื่นไม่ได้
เราต้องแนะนำ...เข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไรจริง ๆ
แล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจหลักการของการพัฒนานี้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง...”

11. องค์รวม
          ในการพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการหนึ่งนั้น จะทรงมองเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยงครบวงจร ทรงเรียกวิธีนี้ว่า “องค์รวม” (Holistic) หมายถึง การมองเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นแบบบูรณาการ โดยพิจารณาครบทุกด้านของปัญหา และกำหนดแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยงเป็นระบบ

12. ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด
          ในเรื่องความประหยัดของในหลวงรัชกาลที่ 9 ประชาชนชาวไทยต่างทราบกันดีว่า ทรงประหยัดมากในเรื่องของส่วนพระองค์ ทรงใช้ทุกสิ่งอย่างคุ้มค่า ดังที่เราเคยเห็นในเรื่องของดินสอ ยาสีพระทนต์ รวมถึงฉลองพระองค์และฉลองพระบาท ขณะเดียวกันการพัฒนาและช่วยเหลือราษฎร พระองค์ทรงใช้หลักการในการข้อนี้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยความเรียบง่าย ประหยัด ทรงประยุกต์ใช้สิ่งของที่มีอยู่ในภูมิภาคหรือในพื้นที่นั้น ๆ เพื่อให้ราษฎรสามารถทำเองได้ ทรงให้ใช้หลักคุ้มค่า (Cost Effectiveness) แต่อาจไม่คุ้มทุน (Cost Benefit) เสมอไป ซึ่งหมายถึงปัญหาของมนุษย์คิดเป็นราคาไม่ได้ อย่าไปเน้นกำไร หากแต่เราต้องจัดการให้ความทุกข์ของเขาหมดไปให้ได้โดยเน้นความยั่งยืนและประโยชน์สุข


13. ขาดทุน คือ กำไร
          การพัฒนาเพื่อการอยู่ดีกินดีของประชาชนนั้น อย่าไปนึกหวังกำไรหรือผลตอบแทนแต่อย่างเดียว ทำอะไรต้องลงทุน ลงแรง และปัจจัยบางอย่างก่อน เพื่อสร้างผลกำไรในอนาคต นั่นคือ ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน

“...ถ้าหากว่าอยากให้ประชาชนอยู่ดีกินดี รัฐจะต้องลงทุน
ต้องสร้างโครงการซึ่งต้องใช้เงินจำนวนเป็นร้อยเป็นพันเป็นหมี่นล้าน
ถ้าทำไปก็เป็น “loss” เป็นการเสีย เป็นการขาดทุน เป็นการจ่าย
คือรัฐบาลต้องตั้งงบประมาณรายจ่าย ซึ่งมาจากเงินของประชาชน
แต่ว่าถ้าโครงการดี ในไม่ช้าประชาชนก็จะได้กำไร จะได้ผล
ราษฎรจะอยู่ดี กินดีขึ้น จะได้ประโยชน์ไป
ส่วนรัฐบาลไม่ได้อะไร แต่ข้อนี้ถ้าดูให้ดี ๆ จะเห็นว่าถ้าราษฎรอยู่ดีกินดี มีรายได้
รัฐบาลก็เก็บภาษีได้สะดวก ไม่มีการหนีภาษี
เพราะเมื่อมีรายได้ดีขึ้น เขาก็สามารถเสียภาษีได้มากขึ้น...”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ
ที่เข้าฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันพุธที่ 4 ธันวาคม 2534)


14. ปลูกป่าในใจคน
          ป่าไม้เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับชีวิตมนุษย์ หากไม่มีการปลูกจิตสำนึกในการรักษาป่าไม้ให้กับทุกคนแล้ว จะทำให้การดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นไปด้วยความยากลำบาก เจ้าหน้าที่รัฐดูแลรักษาป่าไม้ด้วยหน้าที่พึงกระทำ แต่ชาวบ้านจะสามารถดูแลและหวงแหนป่าไม้ ด้วยจิตสำนึกเพื่อรักษาปัจจัยแห่งชีวิตของตนเอง

“...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ ลงในใจคนเสียก่อน
แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดินและรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง..”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่เจ้าหน้าที่ป่าไม้
ณ หน่วยจัดการต้นน้ำทุ่งจ๊อ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 31 มกราคม 2519)


15. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
          ทรงเข้าใจถึงธรรมชาติ และต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทรงมองเห็นถึงปัญหาของธรรมชาติได้อย่างละเอียด หากเราต้องการแก้ไขปัญหาธรรมชาติ เราก็ต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ ดังพระราชดำริที่ได้พระราชทานเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อาทิ

“น้ำดีไล่น้ำเสีย” อาศัยหลักแรงโน้มถ่วงตามธรรมชาติ (Gravity Flow)
“พืชกรองน้ำเสีย” การบำบัดน้ำเสียโดยใช้ต้นธูปฤาษี กกกลม หรือต้นหญ้า
“ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก” ปล่อยให้ธรรมชาติช่วยฟื้นฟูธรรมชาติ
“การกำจัดขยะ” ด้วยการหมักให้ย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ


16. อธรรมปราบอธรรม
          ทรงนำความจริงในเรื่องความเป็นไปแห่งธรรมชาติ และกฏเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักการแนวปฏิบัติที่สำคัญในการแก้ปัญหาและเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติให้กลับสู่ปกติ ทรงคิดค้นวิธีบำบัดน้ำเสียโดยใช้ผักตบชวาดูดซึมสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ และเป็นที่มาของ “อธรรมปราบอธรรม” ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า

“...เห็นไหมว่าน้ำเน่ามันก็เป็นอธรรม
ผักตบชวาที่เราไม่ต้องการมันก็เป็นอธรรมเหมือนกัน...
ฉันจะเอาอธรรมสู้กับอธรรม ให้ออกมาเป็นธรรมมะให้ได้…”

17. ประโยชน์ส่วนรวม
          ทรงเห็นว่าการทำงานทุกอย่างของเรานั้น มีผลเกี่ยวเนื่องถึงประโยชน์ส่วนรวมของบ้านเมืองและประชาชนทุกคน เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ทุกประการด้วยความบริสุทธิ์ โดยเต็มกำลังสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ การปฏิบัติพระราชกรณียกิจและการพระราชทานพระราชดำริในการพัฒนาและช่วยเหลือพสกนิกร ทรงระลึกถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญเสมอ

“....ใครต่อใครบอกว่าขอให้เสียสละส่วนตัวเพื่อส่วนรวม
อันนี้ฟังจนเบื่อ อาจจะรำคาญด้วยซ้ำว่า
ใครต่อใครมาก็บอกว่าขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม
อาจมานึกในใจว่า ให้ ๆ อยู่เรื่อยแล้วส่วนตัวจะได้อะไร
ขอให้คิดว่าคนที่ให้เพื่อส่วนรวมนั้นมิได้ให้ส่วนรวมแต่อย่างเดียว
เป็นการให้เพื่อตัวเองสามารถที่จะมีส่วนรวมที่จะอาศัยได้...”
(พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ นิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม 2514)


18. การพึ่งตนเอง
         การพัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อม และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยใช้หลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การวางเส้นทางชีวิตของตนเองให้เรียบง่ายธรรมดา และเดินสายกลางด้วยปัญญาพร้อมคุณธรรมในจิตใจ เพื่อนำชีวิตไปสู่ความสมดุลของทรัพยากรให้มีความมั่นคง และเกิดความยั่งยืนในที่สุด

“...การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชนในการประกอบอาชีพ
และตั้งตัวให้มีความพอกินพอใช้ก่อนอื่นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวด
เพราะผู้มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งพาตนเองได้
ย่อมสามารถสร้างความเจริญในระดับสูงขั้นต่อไป...”
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2517)





19. เศรษฐกิจพอเพียง
          เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักความคิด เพื่อนำชีวิตไปสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน เสมือนเป็นการวางฐานรากของตัวอาคารด้วยแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนบนทางสายกลาง โดยประกอบด้วยความพอประมาณ ความมีเหตุผล และจำเป็นต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรเพื่อรับมือต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และความระมัดระวัง ควบคู่กับการมีคุณธรรม

20. เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
          เข้าใจ : ทำอะไรต้องเข้าใจปัญหา เข้าใจหนทางในการแก้ไข เข้าใจกระบวนการจัดการและปรับความเข้าใจระหว่างผู้ให้กับผู้รับให้เข้าใจซึ่งกันและกันเสียก่อน
          เข้าถึง : เมื่อเข้าใจระหว่างกันแล้ว ต้องเข้าถึงการกระทำ สร้างความร่วมมือ และความสามัคคีของผู้ปฏิบัติเพื่อร่วมมือช่วยเหลือกันในการทำงาน
          พัฒนา : เมื่อต่างฝ่ายเข้าใจกันแล้ว เข้าถึงกันแล้ว การพัฒนาก็จะดำเนินการไปอย่างยั่งยืน ไม่ส่งผลกระทบที่ติดลบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง หากแต่จะนำไปสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน

21. แก้ปัญหาที่จุดเล็ก คิด Macro เริ่ม Micro
          ทรงมองปัญหาในภาพรวม (Macro) ก่อนเสมอ แต่ทรงแก้ไขปัญหาโดยเริ่มจากจุดเล็ก ๆ (Micro) คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ที่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม

“...ถ้าปวดหัวก็คิดอะไรไม่ออกเป็นอย่างนั้นต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อน...
มันไม่ได้เป็นการแก้อาการจริง แต่ต้องแก้ปวดหัวก่อน เพื่อที่จะให้อยู่ในสภาพที่คิดได้
แบบ (Macro) นี้ เขาจะทำแบบรื้อทั้งหมด ฉันไม่เห็นด้วย
อย่างบ้านคนอยู่ เราบอกบ้านนี้มันผุตรงนั้น ผุตรงนี้ ไม่คุ้มที่จะซ่อม
เอาตกลงรื้อบ้านนี้ ระเบิดเลย เราจะไปอยู่ที่ไหน ไม่มีที่อยู่
วิธีทำต้องค่อย ๆ ทำ จะไประเบิดทั้งหมดไม่ได้...”


22. ไม่ติดตำรา ทำให้ง่าย
          ไม่ติดตำรา คือ ไม่ผูกมัดยึดติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย เพราะสภาพปัญหามีไม่เหมือนกัน หากใช้ปัญญาไตร่ตรองให้รอบคอบครบถ้วนจะพบวิธีการพัฒนาใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาของประชาชน ทรงโปรดที่จะทำสิ่งที่ยากให้กลายเป็นสิ่งที่ง่าย ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย ใช้กฎธรรมชาติเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา การทำสิ่งที่ยากให้ง่าย นั้นเป็นเรื่องยาก ฉะนั้นคำว่า “ทำให้ง่าย” จึงเป็นหลักคิดสำคัญที่สุดของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อการพัฒนาประเทศ



23. การมีส่วนร่วม
          ในการทรงงานพระองค์จะทรงเปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย ทั้งประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับมาร่วมแสดงความคิดเห็น หรือเรียกว่าประชาพิจารณ์ เพื่อรับทราบถึงปัญหาและความต้องการของประชาชนโดยให้ยึดชาวบ้านเป็นครู

“...สำคัญที่สุดจะต้องหัดทำใจให้กว้าง
หนักแน่นรู้จักรับฟังความคิดความเห็น 
แม้กระทั่งคำวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาด
เพราะการรู้จักรับฟังอย่างฉลาดนั้นแท้จริง
คือ การระดมสติปัญญาและประสบการณ์อันหลากหลาย
มาอำนวยการปฏิบัติบริหารงานให้ประสบความสำเร็จที่สมบูรณ์นั่นเอง…”

24. พออยู่พอกิน
          ให้ประชาชนสามารถอยู่อย่าง “พออยู่พอกิน” ให้ได้เสียก่อน แล้วจึงค่อยขยับขยายให้มีขีดสมรรถนะที่ก้าวหน้าต่อไป เพราะการดำเนินชีวิตให้พออยู่พอกินนั้น ต้องมีทรัพยากรที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ต้องอาศัยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงทรงแก้ไขปัญหาทุกด้านเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ทรงฟื้นฟูและรักษาความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติที่เสียไป เพื่อสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้น

“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา
จะว่าเมืองไทยล้าสมัย
ว่าเมืองไทยเชย
ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่
แต่เราอยู่พอมีพอกิน
และขอให้ทุกคนมีความปารถนา
ที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน
มีความสงบ
และทำงานตั้งจิตอธิษฐาน
ตั้งปณิธานในทางที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน
ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด
แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ
เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ
ถ้ารักษาความพออยู่พอกินนี้ใด้
เราก็จะยอดยิ่งยวด...
ที่สุดก็คือประร่วมกัน
คือ ความพอมีพอกิน พออยู่
ปลอดภัยของประเทศชาติ...”
(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันพุธที่ 4 ธันวาคม 2517)




25. บริการรวมที่จุดเดียว
          การบริการรวมที่จุดเดียวสำหรับเกษตรกรเป็นรูปแบบการบริการแบบเบ็ดเสร็จ หรือ One Stop Services ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในระบบบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนที่จะมาขอใช้บริการ เพื่อช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย จึงเป็นที่มาของการจัดตั้ง “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ”

26. ร่าเริง รื่นเริง คึกคัก ครึกครื้น กระฉับกระเฉง
         มีพลัง เป็นปัจจัยของการทำงานที่มีประสิทธิภาพ การทำงานให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพต้องอาศัยจิตใจเป็นเรื่องสำคัญ ต้องสร้างบรรยากาศรอบตัวให้มีความสุข ไม่เครียด

“...ทำงานต้องสนุกกับงานมิฉะนั้นเราจะเบื่อ 
และหยุดทำงานในระยะต่อมา
ดังนั้นปัจจัยของการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
คือ ร่าเริง รื่นเริง คึกคัก ครึกครื้น
ร่าเริง รื่นเริง เวลาทำงานตัวเราเองก็ต้องร่าเริง
และระหว่างทำงานก็ต้องสร้างบรรยากาศ
ให้ผู้เข้าร่วมในการทำงานมีความรื่นเริง
คึกคัก ครึกครื้น คือ ตัวเองต้องคึกคักกระฉับกระเฉงมีพลังเสียก่อน
และต้องสร้างบรรยากาศในการทำงานให้ครึกครื้นสนุกสนาน…”
(พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร)


27. ชัยชนะของการพัฒนา
          การแก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นเหมือนการเข้าสู่สงครามที่ไม่ใช้อาวุธในการแก้ไขปัญหาแต่ใช้การพัฒนาเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และทุกครั้งที่สามารถแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ จึงถือเป็นการได้รับชัยชนะโดยการพัฒนาอย่างแท้จริง

“....ประโยชน์อันพึงประสงค์ของการพัฒนานั้น
ก็คือ ความผาสุกสงบ ความเจริญมั่นคง
ของประเทศชาติและประชาชน
แต่การที่จะพัฒนาให้บรรลุผลเป็นประโยชน์ดังกล่าวได้
จำเป็นที่จะต้องพัฒนาฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน
ให้อยู่ดีกินดีเป็นเบื้องต้นก่อน
เพราะฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนนั้น
คือ รากฐานอย่างสำคัญของความสงบและความเจริญมั่นคง
ถ้าประชาชนทุกคน มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีแล้ว
ความสงบ และความเจริญ
ย่อมจะเป็นผลก่อเกิดต่อตามมาอย่างแน่นอน
จึงอาจพูดได้ว่า การพัฒนาก็คือการทำสงครามกับความยากจน
เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนโดยตรง
เมื่อใดก็ตาม ที่ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี 
และประเทศชาติมีความสงบ มีความเจริญ
เมื่อนั้นการพัฒนาจึงจะถือได้ว่าประสบความสำเร็จ
เป็นชัยชนะของการพัฒนาอย่างแท้จริง…”
(พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2539)