© 2025 Chaipattana. All rights reserved.
© 2025 Chaipattana. All rights reserved.
“นับตั้งแต่ต้นปี 2563 มีข่าวของเจ้าโคโรนาไวรัสแพร่ระบาดในมณฑลอู่ฮั่น มณฑณหูเป่ย สาธารณะรัฐประชาชนจีน ณ ตอนนั้นหลายคนยังคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว อาจจะยังไม่รู้จักกับไวรัสชนิดนี้มากนัก แต่อีกเพียงไม่กี่เดือนต่อมา คนไทยและคนทั่วโลกได้ยินชื่อไวรัสโคโรนามากขึ้น ใกล้ตัวเข้ามาทุกขณะ จำนวนผู้ติดเชื้อ และเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นโดยที่ไม่มีท่าทีจะลดลง ทำให้องค์การอนามัยโลกได้ระบุชื่ออย่างเป็นทางการของโคโรนาไวรัสว่า ‘โควิด-19’ ซึ่งมาจาก “Coronavirus disease starting in 2019” นับจากนั้นเป็นต้นมาไม่มีใครที่จะไม่รู้จักไวรัสโควิด-19 และพิษสงของเจ้าไวรัสตัวนี้”
เบื้องหลังการจัดตั้ง “กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่าง ๆ)”
วันที่ 26 มีนาคม 2563 พอได้ยินรัฐบาลประกาศ "ภาวะฉุกเฉิน" จิตใจเกิดกระตือรือร้นขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูก พอนึก ๆ แล้วก็คิดขึ้นมาได้ว่าใช้ชีวิตก่อนมาถวายงานพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ในปี 2524 นั้น ผมดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองวางแผนเตรียมพร้อม ทำแผนเตรียมพร้อมระดับชาติ ตอนช่วงปี 2512 - 2524 ระยะนั้นประเทศเข้าสู่ภาวะสงคราม การก่อการร้ายกับคอมมิวนิสต์ แต่ตอนหลังก็ผนวกภัยธรรมชาติเข้าไปด้วยเพราะการเตรียมการเหมือนกัน และแผนดังกล่าวจะนำออกมาใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีการประกาศภาวะฉุกเฉินขึ้นในประเทศ เมื่อสิ้นสุดสงครามในปี 2524 ผมก็จบงานที่กองวางแผนเตรียมพร้อมมาทำงานเป็นเลขาธิการ กปร. (คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
หลักการของงานวางแผนเตรียมพร้อมมี 3 ขั้นตอน คือ
1. ระดมสรรพกำลัง อาวุธ ยุทโธปกรณ์ คน ฯลฯ
2. จัดระเบียบระบบข้าวของทั้งหมดและพิจารณาจัดอันดับความต้องการ
3. การแจกจ่ายปัจจัยต่าง ๆ และก่อนอะไรทั้งสิ้นต้องตั้งศูนย์บัญชาการบริหารขึ้น ในระดับประเทศก็ต้องตั้ง War Cabinet
วันที่ 2 เมษายน 2563 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้มีรับสั่งให้จัดตั้ง “กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่าง ๆ)” ขึ้น
ในฐานะเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาก็เตรียมการต่าง ๆ เพื่อให้มีความพร้อมปฏิบัติการอย่างรวดเร็ว เนื่องจากตรงกับปลายสัปดาห์พอดี ก็เลยเตรียมระบบบริหารไว้ก่อน โดยมีคณะปฏิบัติการ ประกอบด้วย ผมเป็นประธาน รองเลขาธิการดูแลพื้นที่ทั้งหมดเป็นกรรมการ รวมเหรัญญิก และรองเหรัญญิก ดูแลเรื่องเงิน และทรัพย์สินต่าง ๆ
ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์มีหน้าที่ชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชน ผู้อำนวยการสารสนเทศจัดระบบ IT จัดทำ Barcode กำกับสิ่งของทั้งหมด ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศในกรณีต้องมีภารกิจติดต่อต่างประเทศ และมีผู้อำนวยการกองกลางเป็นเลขานุการคอยประสานงาน กลั่นกรองทั้งหมด เพื่อประมวลเรื่องถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์นายกกิตติมศักดิ์และองค์ประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนาเพื่อทรงอนุมัติต่อไป
พอองค์กรบริหารพร้อม ในวันจันทร์ที่ 6 เมษายน 2563 เราก็ออกสื่อให้ทราบถึงการจัดตั้งกองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 เอาฤกษ์เอาชัยกันเพราะเป็นวันจักรีพอดี พอประกาศผลตอบรับจากสาธารณะก็ตอบรับกลับมาในทันทีทันใด การบริจาคเริ่มพรั่งพรูเข้ามามากมายทั้งรายใหญ่ และรายเล็ก ตลอดจนกลุ่มเด็กนักเรียนหลายโรงเรียน น่ารักมาก ทุกคนมา "ให้" เพื่อช่วยเหลือส่วนรวม ทำให้นึกถึงพระราชกระแสพระเจ้าอยู่หัว ร. 9 ครั้งหนึ่งว่า "ใครเขาว่าไทยจะล้มตามกฎ Domino แต่ทุกอย่างมาหยุดที่เมืองไทย เรารอดมาเพราะอะไรรู้ไหม? เรารอดมาได้เพราะเมืองไทย คนไทย เรายัง "ให้" กันอยู่" คำสั้น ๆ แต่มีความหมายยิ่งนัก ทุกครั้งที่มีปัญหา คนไทยจะให้กัน ช่วยกัน และเผื่อแผ่ไปยังประเทศที่ประสบเคราะห์กรรมต่าง ๆ ด้วย
ขั้นตอนแรก คือ ระดมเงินได้สำเร็จอย่างรวดเร็ว
ขั้นตอนถัดไป คือ เตรียมสรรพกำลัง เครื่องมือ เครื่องไม้ต่าง ๆ และจัดเตรียมเป้าหมายการแจกจ่าย โดยเบื้องต้นมุ่งไปในเรื่องรักษาความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ด่านหน้าก่อน และมุ่งไปในพื้นที่ที่ถูกจัดอันดับความสำคัญก่อนด้วย คือ ชายแดนภาคใต้ เพราะการเคลื่อนย้ายผู้คน ควบคุมค่อนข้างจะยุ่งยาก เพราะเขตแดนยาว เข้าทางเครื่องบินจะคัดกรองง่ายกว่า เพราะสามารถทำที่สนามบินได้สะดวก
วัสดุปัจจัยที่ต้องการมีตั้งแต่หน้ากาก ชุด PPE ห้องตรวจเชื้อปรับระดับความดันลบ ฯลฯ ปัญหายุ่งยาก คือ ต้องหาของที่ได้คุณภาพและคุณลักษณะตรงกับความต้องการของแต่ละภารกิจ ต้องพิถีพิถันในเรื่องนี้มาก และในยามนี้ทุกหนทุกแห่งในทุกประเทศมีความต้องการพร้อมกันหมด แหล่งผลิตก็มีน้อยแต่ก็แก้ไขไปทีละขั้นทีละตอน ผลสุดท้ายก็คลี่คลายไปได้
นอกจากบุคลากรสาธารณสุขที่เราเน้นเป็นพิเศษแล้ว เราก็เริ่มงานเกี่ยวกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้วย ทางมูลนิธิฯ มีศูนย์ฝึกอาชีพที่นครปฐม ก็เริ่มฝึกอาชีพหลากหลายผ่านการสื่อสารสนเทศ มีผู้เข้ามาติดตามด้วยความสนใจมากมาย เพราะบางคนอาจจะต้องเปลี่ยนอาชีพ การฝึกอบรมก็อาจจะให้ทางเลือกด้านใดด้านหนึ่งได้
เรื่องใหญ่อีกเรื่องคือ เมื่อ Lockdown ธุรกิจต่าง ๆ หยุดลง ประชากรส่วนหนึ่งก็เดินทางกลับบ้านเป็นจำนวนมาก จุดมุ่งหมายของกองทุน คือ พยายามสร้างสิ่งสำคัญที่สุด คือแหล่งอาหารในพื้นที่ของตนเองให้ได้ มีการแจกเมล็ดพันธุ์พืชผักต่าง ๆ ซึ่งทางมูลนิธิชัยพัฒนามีศูนย์ผลิตใหญ่ที่เชียงราย คือ ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ก็แจกจ่ายไปยังผู้ที่สนใจ ซึ่งได้การตอบรับ และร้องขอมามากมาย
อนึ่ง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงริเริ่มโครงการหนึ่งมาระยะหนึ่งแล้ว คือ ฝึกทหารเกณฑ์ตามค่ายทหารต่าง ๆ เรียกว่าโครงการทหารพันธุ์ดี ฝึกให้ปลูกพืชพันธุ์ต่าง ๆ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงแพะ แล้วแต่จะชอบสิ่งใด
ค่ายทหารหลายแห่งในเขตกองทัพภาคต่าง ๆ ก็เลยเป็นแหล่งผลิตอาหารโดยปริยาย ก็พระราชทานพระราโชบายให้ทหารนำออกจำหน่ายในราคาถูกเพื่อช่วยเหลือประชาชน และทำให้ทหารในโครงการได้เรียนรู้การบรรจุหีบห่อและการจำหน่ายไปพร้อมกันด้วย
สิ่งที่ต้องพิถีพิถันอีกประการหนึ่งคือ การจัดหาสิ่งของและเวชภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน จึงต้องตรวจสอบอยู่ตลอดเวลากับฝ่ายการแพทย์ที่ทราบเรื่องดีอยู่แล้ว จะได้จัดหาของที่ต้องกับความประสงค์ของผู้ใช้
อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องการขนส่ง เนื่องจากในภาวะดังกล่าวนี้ การคมนาคมขนส่งค่อนข้างลำบาก บางอย่างจึงส่งทางไปรษณีย์ และอาศัยเครือข่ายการขนส่งของสินค้าบางประการซึ่งดำเนินการอยู่แล้ว ต้องขอบคุณกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย และบริษัทกระทิงแดงที่ได้อำนวยความสะดวกในการขนส่งให้ข้าวของถึงมือผู้ใช้อย่างรวดเร็ว
เรื่องประชาสัมพันธ์ ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะการทำงานต้องโปร่งใส ต้องรายงานให้ผู้บริจาคได้รับทราบอยู่ตลอดเวลาว่า เงินถูกใช้ไปในเรื่องอะไรบ้าง ก็อาศัยระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเมื่อสิ้นสุดโครงการก็ต้องมีรายงานฉบับสมบูรณ์รายงานให้สาธารณชนได้รับทราบการปฏิบัติงานของมูลนิธิฯ ด้วย
หลายคนพอได้รับทราบการจัดตั้งกองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่างๆ) อดสงสัยถามมาว่า ทำไมต้องวงเล็บข้างหลังด้วย นั่นคือสายพระเนตรยาวไกลขององค์ประธานมูลนิธิฯ ที่มองอนาคตไปก่อนเลยว่าเรื่องลักษณะนี้คงจะเกิดขึ้นอีก ก็ไม่จำเป็นต้องตั้งกองทุนขึ้นใหม่ เงินคงเหลือก็ใช้กองทุนนี้ปฏิบัติงานได้ทันที ทันควันเลย เหมือนกับกองทุนน้ำท่วมซึ่งตั้งรับกรณีน้ำท่วมใหญ่ ปี 2554 กองทุนนี้ก็ยังอยู่ เกิดเหตุเกี่ยวกับน้ำท่วมก็ใช้กองทุนนี้ออกปฏิบัติการได้เลย
ทั้งหลายทั้งปวงนี้ ก็ปฏิบัติตามพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้รับสั่งเกี่ยวกับมูลนิธิชัยพัฒนาที่ทรงมีพะราชดำริให้จัดตั้งขึ้นในปี 2531 ว่า
“...งานของมูลนิธิชัยพัฒนานั้นต้องทำเร็ว คิดเร็ว แก้ปัญหาเร็ว
....เรื่องเช่นนี้ไม่อาจทำได้ในระบบ ระเบียบราชการ
เนื่องจากราชการมีขั้นตอนระเบียบแบบแผนยุ่งยากพอสมควร จะไม่ทันกับเวลา
และปัญหาที่ต้องใช้ความรวดเร็ว ... มูลนิธิฯ ดำเนินการเป็นตัวอย่างก่อน
หากรัฐบาลเห็นสมควรว่ามีประโยชน์ก็นำไปทำต่อ
หรือจะนำแบบอย่างไปทดลองที่อื่นก็ได้…”
ทางมูลนิธิชัยพัฒนาได้รับพระราชกระแสที่พระราชทานไว้ตั้งแต่ปี 2539
และทุกคนปฏิบัติหน้าที่ตามที่พระองค์ตั้งพระทัยไว้ในวันเสด็จขึ้นครองราชย์ว่า
"เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม"
สแกน QR CODE เพื่ออ่านหนังสือ
จากพระมหากรุณาธิคุณ สู่ “กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่าง ๆ)
สแกน QR CODE เพื่อรับชมวิดีทัศน์แนะนำ
“กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่าง ๆ)
“นับตั้งแต่ต้นปี 2563 มีข่าวของเจ้าโคโรนาไวรัสแพร่ระบาดในมณฑลอู่ฮั่น มณฑณหูเป่ย สาธารณะรัฐประชาชนจีน ณ ตอนนั้นหลายคนยังคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว อาจจะยังไม่รู้จักกับไวรัสชนิดนี้มากนัก แต่อีกเพียงไม่กี่เดือนต่อมา คนไทยและคนทั่วโลกได้ยินชื่อไวรัสโคโรนามากขึ้น ใกล้ตัวเข้ามาทุกขณะ จำนวนผู้ติดเชื้อ และเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นโดยที่ไม่มีท่าทีจะลดลง ทำให้องค์การอนามัยโลกได้ระบุชื่ออย่างเป็นทางการของโคโรนาไวรัสว่า ‘โควิด-19’ ซึ่งมาจาก “Coronavirus disease starting in 2019” นับจากนั้นเป็นต้นมาไม่มีใครที่จะไม่รู้จักไวรัสโควิด-19 และพิษสงของเจ้าไวรัสตัวนี้”
เบื้องหลังการจัดตั้ง “กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่าง ๆ)”
วันที่ 26 มีนาคม 2563 พอได้ยินรัฐบาลประกาศ "ภาวะฉุกเฉิน" จิตใจเกิดกระตือรือร้นขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูก พอนึก ๆ แล้วก็คิดขึ้นมาได้ว่าใช้ชีวิตก่อนมาถวายงานพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ในปี 2524 นั้น ผมดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองวางแผนเตรียมพร้อม ทำแผนเตรียมพร้อมระดับชาติ ตอนช่วงปี 2512 - 2524 ระยะนั้นประเทศเข้าสู่ภาวะสงคราม การก่อการร้ายกับคอมมิวนิสต์ แต่ตอนหลังก็ผนวกภัยธรรมชาติเข้าไปด้วยเพราะการเตรียมการเหมือนกัน และแผนดังกล่าวจะนำออกมาใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีการประกาศภาวะฉุกเฉินขึ้นในประเทศ เมื่อสิ้นสุดสงครามในปี 2524 ผมก็จบงานที่กองวางแผนเตรียมพร้อมมาทำงานเป็นเลขาธิการ กปร. (คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
หลักการของงานวางแผนเตรียมพร้อมมี 3 ขั้นตอน คือ
1. ระดมสรรพกำลัง อาวุธ ยุทโธปกรณ์ คน ฯลฯ
2. จัดระเบียบระบบข้าวของทั้งหมดและพิจารณาจัดอันดับความต้องการ
3. การแจกจ่ายปัจจัยต่าง ๆ และก่อนอะไรทั้งสิ้นต้องตั้งศูนย์บัญชาการบริหารขึ้น ในระดับประเทศก็ต้องตั้ง War Cabinet
วันที่ 2 เมษายน 2563 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้มีรับสั่งให้จัดตั้ง “กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่าง ๆ)” ขึ้น
ในฐานะเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาก็เตรียมการต่าง ๆ เพื่อให้มีความพร้อมปฏิบัติการอย่างรวดเร็ว เนื่องจากตรงกับปลายสัปดาห์พอดี ก็เลยเตรียมระบบบริหารไว้ก่อน โดยมีคณะปฏิบัติการ ประกอบด้วย ผมเป็นประธาน รองเลขาธิการดูแลพื้นที่ทั้งหมดเป็นกรรมการ รวมเหรัญญิก และรองเหรัญญิก ดูแลเรื่องเงิน และทรัพย์สินต่าง ๆ
ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์มีหน้าที่ชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชน ผู้อำนวยการสารสนเทศจัดระบบ IT จัดทำ Barcode กำกับสิ่งของทั้งหมด ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศในกรณีต้องมีภารกิจติดต่อต่างประเทศ และมีผู้อำนวยการกองกลางเป็นเลขานุการคอยประสานงาน กลั่นกรองทั้งหมด เพื่อประมวลเรื่องถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์นายกกิตติมศักดิ์และองค์ประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนาเพื่อทรงอนุมัติต่อไป
พอองค์กรบริหารพร้อม ในวันจันทร์ที่ 6 เมษายน 2563 เราก็ออกสื่อให้ทราบถึงการจัดตั้งกองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 เอาฤกษ์เอาชัยกันเพราะเป็นวันจักรีพอดี พอประกาศผลตอบรับจากสาธารณะก็ตอบรับกลับมาในทันทีทันใด การบริจาคเริ่มพรั่งพรูเข้ามามากมายทั้งรายใหญ่ และรายเล็ก ตลอดจนกลุ่มเด็กนักเรียนหลายโรงเรียน น่ารักมาก ทุกคนมา "ให้" เพื่อช่วยเหลือส่วนรวม ทำให้นึกถึงพระราชกระแสพระเจ้าอยู่หัว ร. 9 ครั้งหนึ่งว่า "ใครเขาว่าไทยจะล้มตามกฎ Domino แต่ทุกอย่างมาหยุดที่เมืองไทย เรารอดมาเพราะอะไรรู้ไหม? เรารอดมาได้เพราะเมืองไทย คนไทย เรายัง "ให้" กันอยู่" คำสั้น ๆ แต่มีความหมายยิ่งนัก ทุกครั้งที่มีปัญหา คนไทยจะให้กัน ช่วยกัน และเผื่อแผ่ไปยังประเทศที่ประสบเคราะห์กรรมต่าง ๆ ด้วย
ขั้นตอนแรก คือ ระดมเงินได้สำเร็จอย่างรวดเร็ว
ขั้นตอนถัดไป คือ เตรียมสรรพกำลัง เครื่องมือ เครื่องไม้ต่าง ๆ และจัดเตรียมเป้าหมายการแจกจ่าย โดยเบื้องต้นมุ่งไปในเรื่องรักษาความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ด่านหน้าก่อน และมุ่งไปในพื้นที่ที่ถูกจัดอันดับความสำคัญก่อนด้วย คือ ชายแดนภาคใต้ เพราะการเคลื่อนย้ายผู้คน ควบคุมค่อนข้างจะยุ่งยาก เพราะเขตแดนยาว เข้าทางเครื่องบินจะคัดกรองง่ายกว่า เพราะสามารถทำที่สนามบินได้สะดวก
วัสดุปัจจัยที่ต้องการมีตั้งแต่หน้ากาก ชุด PPE ห้องตรวจเชื้อปรับระดับความดันลบ ฯลฯ ปัญหายุ่งยาก คือ ต้องหาของที่ได้คุณภาพและคุณลักษณะตรงกับความต้องการของแต่ละภารกิจ ต้องพิถีพิถันในเรื่องนี้มาก และในยามนี้ทุกหนทุกแห่งในทุกประเทศมีความต้องการพร้อมกันหมด แหล่งผลิตก็มีน้อยแต่ก็แก้ไขไปทีละขั้นทีละตอน ผลสุดท้ายก็คลี่คลายไปได้
นอกจากบุคลากรสาธารณสุขที่เราเน้นเป็นพิเศษแล้ว เราก็เริ่มงานเกี่ยวกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้วย ทางมูลนิธิฯ มีศูนย์ฝึกอาชีพที่นครปฐม ก็เริ่มฝึกอาชีพหลากหลายผ่านการสื่อสารสนเทศ มีผู้เข้ามาติดตามด้วยความสนใจมากมาย เพราะบางคนอาจจะต้องเปลี่ยนอาชีพ การฝึกอบรมก็อาจจะให้ทางเลือกด้านใดด้านหนึ่งได้
เรื่องใหญ่อีกเรื่องคือ เมื่อ Lockdown ธุรกิจต่าง ๆ หยุดลง ประชากรส่วนหนึ่งก็เดินทางกลับบ้านเป็นจำนวนมาก จุดมุ่งหมายของกองทุน คือ พยายามสร้างสิ่งสำคัญที่สุด คือแหล่งอาหารในพื้นที่ของตนเองให้ได้ มีการแจกเมล็ดพันธุ์พืชผักต่าง ๆ ซึ่งทางมูลนิธิชัยพัฒนามีศูนย์ผลิตใหญ่ที่เชียงราย คือ ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ก็แจกจ่ายไปยังผู้ที่สนใจ ซึ่งได้การตอบรับ และร้องขอมามากมาย
อนึ่ง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงริเริ่มโครงการหนึ่งมาระยะหนึ่งแล้ว คือ ฝึกทหารเกณฑ์ตามค่ายทหารต่าง ๆ เรียกว่าโครงการทหารพันธุ์ดี ฝึกให้ปลูกพืชพันธุ์ต่าง ๆ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงแพะ แล้วแต่จะชอบสิ่งใด
ค่ายทหารหลายแห่งในเขตกองทัพภาคต่าง ๆ ก็เลยเป็นแหล่งผลิตอาหารโดยปริยาย ก็พระราชทานพระราโชบายให้ทหารนำออกจำหน่ายในราคาถูกเพื่อช่วยเหลือประชาชน และทำให้ทหารในโครงการได้เรียนรู้การบรรจุหีบห่อและการจำหน่ายไปพร้อมกันด้วย
สิ่งที่ต้องพิถีพิถันอีกประการหนึ่งคือ การจัดหาสิ่งของและเวชภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน จึงต้องตรวจสอบอยู่ตลอดเวลากับฝ่ายการแพทย์ที่ทราบเรื่องดีอยู่แล้ว จะได้จัดหาของที่ต้องกับความประสงค์ของผู้ใช้
อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องการขนส่ง เนื่องจากในภาวะดังกล่าวนี้ การคมนาคมขนส่งค่อนข้างลำบาก บางอย่างจึงส่งทางไปรษณีย์ และอาศัยเครือข่ายการขนส่งของสินค้าบางประการซึ่งดำเนินการอยู่แล้ว ต้องขอบคุณกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย และบริษัทกระทิงแดงที่ได้อำนวยความสะดวกในการขนส่งให้ข้าวของถึงมือผู้ใช้อย่างรวดเร็ว
เรื่องประชาสัมพันธ์ ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะการทำงานต้องโปร่งใส ต้องรายงานให้ผู้บริจาคได้รับทราบอยู่ตลอดเวลาว่า เงินถูกใช้ไปในเรื่องอะไรบ้าง ก็อาศัยระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเมื่อสิ้นสุดโครงการก็ต้องมีรายงานฉบับสมบูรณ์รายงานให้สาธารณชนได้รับทราบการปฏิบัติงานของมูลนิธิฯ ด้วย
หลายคนพอได้รับทราบการจัดตั้งกองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่างๆ) อดสงสัยถามมาว่า ทำไมต้องวงเล็บข้างหลังด้วย นั่นคือสายพระเนตรยาวไกลขององค์ประธานมูลนิธิฯ ที่มองอนาคตไปก่อนเลยว่าเรื่องลักษณะนี้คงจะเกิดขึ้นอีก ก็ไม่จำเป็นต้องตั้งกองทุนขึ้นใหม่ เงินคงเหลือก็ใช้กองทุนนี้ปฏิบัติงานได้ทันที ทันควันเลย เหมือนกับกองทุนน้ำท่วมซึ่งตั้งรับกรณีน้ำท่วมใหญ่ ปี 2554 กองทุนนี้ก็ยังอยู่ เกิดเหตุเกี่ยวกับน้ำท่วมก็ใช้กองทุนนี้ออกปฏิบัติการได้เลย
ทั้งหลายทั้งปวงนี้ ก็ปฏิบัติตามพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้รับสั่งเกี่ยวกับมูลนิธิชัยพัฒนาที่ทรงมีพะราชดำริให้จัดตั้งขึ้นในปี 2531 ว่า
“...งานของมูลนิธิชัยพัฒนานั้นต้องทำเร็ว คิดเร็ว แก้ปัญหาเร็ว
....เรื่องเช่นนี้ไม่อาจทำได้ในระบบ ระเบียบราชการ
เนื่องจากราชการมีขั้นตอนระเบียบแบบแผนยุ่งยากพอสมควร จะไม่ทันกับเวลา
และปัญหาที่ต้องใช้ความรวดเร็ว ... มูลนิธิฯ ดำเนินการเป็นตัวอย่างก่อน
หากรัฐบาลเห็นสมควรว่ามีประโยชน์ก็นำไปทำต่อ
หรือจะนำแบบอย่างไปทดลองที่อื่นก็ได้…”
ทางมูลนิธิชัยพัฒนาได้รับพระราชกระแสที่พระราชทานไว้ตั้งแต่ปี 2539
และทุกคนปฏิบัติหน้าที่ตามที่พระองค์ตั้งพระทัยไว้ในวันเสด็จขึ้นครองราชย์ว่า
"เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม"
สแกน QR CODE เพื่ออ่านหนังสือ
จากพระมหากรุณาธิคุณ สู่ “กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่าง ๆ)
สแกน QR CODE เพื่อรับชมวิดีทัศน์แนะนำ
“กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่าง ๆ)
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (6 ศูนย์ทั่วประเทศ)
30 ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืช จักรพันธ์เพ็ญศิริ
นวัตกรรมการบำบัดน้ำเสีย
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (6 ศูนย์ทั่วประเทศ)
30 ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืช จักรพันธ์เพ็ญศิริ
นวัตกรรมการบำบัดน้ำเสีย
© 2025 Chaipattana. All rights reserved.
© 2025 Chaipattana. All rights reserved.