จากพระวิสัยทัศน์สู่ความมั่นคงทางอาหารของคนไทย


จากพระวิสัยทัศน์สู่ความมั่นคงทางอาหารของคนไทย


จากพระวิสัยทัศน์สู่ความมั่นคงทางอาหารของคนไทย


“...เพราะว่ามีสารคาร์บอนขึ้นไปในอากาศมาก จะทำให้เหมือนเป็นตู้กระจกครอบ
แล้วโลกนี้ก็จะร้อนขึ้น เมื่อโลกนี้ร้อนขึ้นมีหวังว่าน้ำแข็งจะละลายลงทะเล
และรวมทั้งน้ำในทะเลนั้นจะพองขึ้น…
ถ้าเรามาศึกษาอย่างใจเย็น อย่างมีเหตุผลแล้วก็จะหาทางแก้ไขได้ หรืออย่างน้อยก็
ให้พยายามแก้ไขมันดีกว่าที่จะมาขัดแย้งกัน....”


(พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2532)


       พระราชดำรัสข้างต้นที่หยิบยกมากล่าวเกริ่นนำในครั้งนี้เป็นพระราชดำรัสความตอนหนึ่งที่ตรัสไว้มาก่อนหน้าที่กระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนจะถูกพูดถึงเป็นวงกว้างในปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว ไม่เพียงแต่การให้ความรู้แก่พสกนิกรชาวไทยเท่านั้น พระองค์ยังพระราชทานแนวทางที่สามารถช่วยปรับเปลี่ยนเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับมาสมดุลดังเดิม 

       ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า ‘ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง’ สามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพสกนิกรชาวไทยได้อย่างแท้จริง ด้วยแนวคิดการพัฒนาเพื่อพึ่งพาตนเอง (Self Reliance) และนอกเหนือจากการพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือตนเองเป็นหลักสำคัญแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังทรงพระวิริยะอุตสาหะ ทุ่มเทกำลังพระวรกายและพระสติปัญญา เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการพัฒนาให้พสกนิกรชาวไทยได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างร่มเย็นเป็นสุข


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

       “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด รวมถึงทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ประชาชนรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ต่าง ๆ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และวัฒนธรรมจากโลกภายนอก


“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...”


(พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517)



       นอกจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว แนวคิดและทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น ได้คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้พสกนิกรชาวไทยได้มีที่ดินประกอบอาชีพ เพื่อทำการเกษตรด้วยความเข้าใจถึงสภาวะของธรรมชาติตามฤดูกาล อีกทั้งยังช่วยให้คนไทยได้ตระหนักและรู้จักการอนุรักษ์พันธุ์พืชและผลไม้ไทยพันธุ์ดี เพื่อความเป็นอยู่ทางด้านอาหารที่มั่นคง
       ความมั่นคงทางอาหารนั้นไม่ได้หมายความถึงการการผลิตอาหารเพียงเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงไปถึงความเป็นอยู่ด้านอื่น ๆ ที่สอดคล้องกัน อาทิ การเข้าถึงแหล่งอาหารที่ปลอดภัย การทำการเกษตรให้ได้ผลผลิตในปริมาณสม่ำเสมอตลอดทั้งปีแม้จะอยู่ในฤดูแล้ง ซึ่งส่งผลดีในแง่ของการประกอบอาชีพแก่ประชาชนคนไทย ทั้งในเรื่องของการพัฒนาเพื่อลดปัญหาความยากจน การพึ่งพาตนเอง และนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านการเกษตร

       จากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สะท้อนให้เห็นถึงพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของการพัฒนาและที่เด่นชัดคือเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของราษฎรชาวไทยทุกคน
       สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้เป็นพระราชธิดา ทรงใส่พระราชหฤทัยในเรื่องความมั่นคงทางอาหารเช่นกัน โดยทรงให้ความสำคัญกับการผลิตและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชที่มีคุณภาพสำหรับการเก็บสำรองไว้ใช้ในยามวิกฤต

       ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ มูลนิธิชัยพัฒนา จึงได้ถือกำเนิดขึ้นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ผักสะสมสำรองไว้ สำหรับเป็นเมล็ดพันธุ์พระราชทานแก่ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนและราษฎรในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ รวมถึงการดำเนินงานปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืช ให้เกษตรกรได้มีพืชสายพันธุ์ที่ดีสำหรับการเพาะปลูก นับเป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ล่วงหน้า
       อีกทั้งทุกวันนี้การเกษตรของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทำให้ประชากรโลกต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบการผลิตอาหาร ราคาอาหารที่แพงมากขึ้น และปัจจัยอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการตลาด การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และปัจจัยทางสังคม รวมทั้งโรคระบาดที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน เป็นเหตุให้ผู้คนหันมาสนใจในเรื่องของความยั่งยืนด้านการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารมากขึ้น ความร่วมมือเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงจึงนับเป็นเรื่องสำคัญที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนได้ในที่สุด หลายประเทศได้ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงได้ให้ความสำคัญกับเมล็ดพันธุ์และหาสถานที่เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ในระยะยาว
       สวาลบาร์ด ตั้งอยู่ระหว่างประเทศนอร์เวย์และขั้วโลกเหนือ ด้วยสภาพอากาศที่โหดร้ายจึงไม่ง่ายนักสำหรับผู้คนที่จะใช้ชีวิตอยู่ในเกาะแห่งนี้ แต่สำหรับเมล็ดพันธุ์ สภาพอากาศแบบนี้เหมาะนักในการสร้างธนาคารเมล็ดพันธุ์ เหตุผลก็คือไม่ว่าจะเกิดสงครามหรือภัยพิบัติใดๆ หรือแม้แต่สภาพอากาศของโลกใบนี้จะเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด “คลังเมล็ดพันธุ์พืชโลกแห่งสวาลบาร์ด” แห่งนี้ ก็พร้อมรับมือกับสถานการณ์เหล่านั้นและพร้อมที่จะปกป้องเมล็ดพันธุ์ซึ่งเป็นแหล่งอาหารไว้ให้แก่ชาวโลก



       ในเดือนมีนาคม 2556 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรนอร์เวย์ และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการดำเนินงานของคลังแห่งสวาลบาร์ด ทั้งยังได้ทรงฝากเมล็ดพันธุ์ถั่วของไทยไว้ที่คลังแห่งนี้ด้วยพระองค์เอง เมื่อเสด็จกลับประเทศไทย ได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้มูลนิธิชัยพัฒนาส่งเมล็ดพันธุ์พืชที่ผลิตโดยศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริไปที่สวาลบาร์ดเพื่อนำไปเก็บรักษาไว้

       มูลนิธิชัยพัฒนาได้ส่งเมล็ดพันธุ์ไปรอบแรกในปี 2559 ซึ่งเมล็ดพันธุ์ทั้งหมด 20 ชนิดที่ส่งไปนั้นประกอบไปด้วยเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านของไทย เช่น โหระพา ผักชี พริกขี้หนู และข้าวหอมมะลิ ต่อมาในปี 2563 มูลนิธิชัยพัฒนาได้สนองพระราชดำริโดยได้จัดส่งเมล็ดพันธุ์เป็นครั้งที่สอง ในครั้งนี้มูลนิธิชัยพัฒนาร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาได้ปรับปรุงพันธุ์พืชที่ส่งไป จำนวน 14 ชนิด เช่น ถั่วฝักยาว ผักกาดหอม กะหล่ำปลี ซึ่งล้วนเป็นพันธุ์ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ของประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้มีเมล็ดพันธุ์พืชที่มีคุณภาพสำรองไว้สำหรับอนาคต
       เมื่อใดที่ประเทศต้องประสบภัยหรืออยู่ในภาวะวิกฤตขาดแคลนอาหาร พืชเหล่านี้ล้วนเป็นพืชอาหารของคนไทย ที่นิยมรับประทานกันโดยทั่วไป สามารถนำเมล็ดไปปลูกต่อได้ บางชนิดเป็นพืชที่ได้รับการพัฒนาขึ้นให้มีคุณค่าทางโภชนาการ หรือมีลักษณะที่โด่ดเด่น เหมาะสมกับการเพาะปลูก เช่น การทนทานต่อความแห้งแล้ง การให้ผลผลิตสูง เป็นต้น

       สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงใส่พระราชหฤทัยในเรื่องของ “ความมั่นคงทางอาหาร” มาโดยตลอด ทรงให้ความสำคัญกับการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพที่พร้อมเก็บสำรองไว้ใช้ในยามวิกฤต ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2556 ใจความว่า
“...ปัจจุบันสภาวะแวดล้อมมีความแปรปรวน เกิดภัยธรรมชาติขึ้นบ่อยครั้ง สร้างความเสียหายให้แก่ผลผลิต และชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร ดังนั้น เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) และเสริมสร้างการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ศูนย์ศึกษาฯ ทุกแห่งจึงควรพิจารณาจัดทำแหล่งปลูกและเก็บสำรองเมล็ดพันธุ์พืช อาทิ เมล็ดพันธุ์ข้าว เมล็ดพันธุ์ถั่ว ธัญพืชต่างๆ และเมล็ดพันธุ์ผัก เป็นต้น เพื่อสำรองพันธุ์พืชให้แก่เกษตรกรในยามวิกฤต...”
       ยังทรงเชื่อมั่นด้วยว่าการมีเมล็ดพันธุ์พืชเก็บรักษาไว้ที่คลังแห่งสวาลบาร์ด จะทำให้คนไทยมีความมั่นใจว่า หากประเทศไทยหรือโลกของเราเกิดวิกฤตขึ้น คนไทยสามารถเดินทางไปที่สวาลบาร์ดและนำเมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้านของเราที่ได้ฝากไว้ กลับมาปลูกและขยายพันธุ์ใหม่ได้

       ด้วยพระวิสัยทัศน์และสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อีกทั้งด้วยพระเมตตาและความใส่พระราชหฤทัยต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทย เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงทางอาหารสืบต่อไปภายภาคหน้า

ขอบคุณข้อมูลจาก :
- มูลนิธิชัยพัฒนา
- สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ เขียนโดย สัตวแพทย์หญิงธนิดา หรินทรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานการปศุสัตว์ระหว่างประเทศ
- สำนักงาน กศน.

จากพระวิสัยทัศน์สู่ความมั่นคงทางอาหารของคนไทย


“...เพราะว่ามีสารคาร์บอนขึ้นไปในอากาศมาก จะทำให้เหมือนเป็นตู้กระจกครอบ
แล้วโลกนี้ก็จะร้อนขึ้น เมื่อโลกนี้ร้อนขึ้นมีหวังว่าน้ำแข็งจะละลายลงทะเล
และรวมทั้งน้ำในทะเลนั้นจะพองขึ้น…
ถ้าเรามาศึกษาอย่างใจเย็น อย่างมีเหตุผลแล้วก็จะหาทางแก้ไขได้ หรืออย่างน้อยก็
ให้พยายามแก้ไขมันดีกว่าที่จะมาขัดแย้งกัน....”


(พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2532)


       พระราชดำรัสข้างต้นที่หยิบยกมากล่าวเกริ่นนำในครั้งนี้เป็นพระราชดำรัสความตอนหนึ่งที่ตรัสไว้มาก่อนหน้าที่กระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนจะถูกพูดถึงเป็นวงกว้างในปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว ไม่เพียงแต่การให้ความรู้แก่พสกนิกรชาวไทยเท่านั้น พระองค์ยังพระราชทานแนวทางที่สามารถช่วยปรับเปลี่ยนเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับมาสมดุลดังเดิม 

       ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า ‘ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง’ สามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพสกนิกรชาวไทยได้อย่างแท้จริง ด้วยแนวคิดการพัฒนาเพื่อพึ่งพาตนเอง (Self Reliance) และนอกเหนือจากการพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือตนเองเป็นหลักสำคัญแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังทรงพระวิริยะอุตสาหะ ทุ่มเทกำลังพระวรกายและพระสติปัญญา เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการพัฒนาให้พสกนิกรชาวไทยได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างร่มเย็นเป็นสุข


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

       “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด รวมถึงทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ประชาชนรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ต่าง ๆ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และวัฒนธรรมจากโลกภายนอก


“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...”


(พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517)



       นอกจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว แนวคิดและทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น ได้คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้พสกนิกรชาวไทยได้มีที่ดินประกอบอาชีพ เพื่อทำการเกษตรด้วยความเข้าใจถึงสภาวะของธรรมชาติตามฤดูกาล อีกทั้งยังช่วยให้คนไทยได้ตระหนักและรู้จักการอนุรักษ์พันธุ์พืชและผลไม้ไทยพันธุ์ดี เพื่อความเป็นอยู่ทางด้านอาหารที่มั่นคง
       ความมั่นคงทางอาหารนั้นไม่ได้หมายความถึงการการผลิตอาหารเพียงเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงไปถึงความเป็นอยู่ด้านอื่น ๆ ที่สอดคล้องกัน อาทิ การเข้าถึงแหล่งอาหารที่ปลอดภัย การทำการเกษตรให้ได้ผลผลิตในปริมาณสม่ำเสมอตลอดทั้งปีแม้จะอยู่ในฤดูแล้ง ซึ่งส่งผลดีในแง่ของการประกอบอาชีพแก่ประชาชนคนไทย ทั้งในเรื่องของการพัฒนาเพื่อลดปัญหาความยากจน การพึ่งพาตนเอง และนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านการเกษตร

       จากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สะท้อนให้เห็นถึงพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของการพัฒนาและที่เด่นชัดคือเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของราษฎรชาวไทยทุกคน
       สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้เป็นพระราชธิดา ทรงใส่พระราชหฤทัยในเรื่องความมั่นคงทางอาหารเช่นกัน โดยทรงให้ความสำคัญกับการผลิตและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชที่มีคุณภาพสำหรับการเก็บสำรองไว้ใช้ในยามวิกฤต

       ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ มูลนิธิชัยพัฒนา จึงได้ถือกำเนิดขึ้นตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ผักสะสมสำรองไว้ สำหรับเป็นเมล็ดพันธุ์พระราชทานแก่ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนและราษฎรในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ รวมถึงการดำเนินงานปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืช ให้เกษตรกรได้มีพืชสายพันธุ์ที่ดีสำหรับการเพาะปลูก นับเป็นการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ล่วงหน้า
       อีกทั้งทุกวันนี้การเกษตรของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทำให้ประชากรโลกต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบการผลิตอาหาร ราคาอาหารที่แพงมากขึ้น และปัจจัยอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการตลาด การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และปัจจัยทางสังคม รวมทั้งโรคระบาดที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน เป็นเหตุให้ผู้คนหันมาสนใจในเรื่องของความยั่งยืนด้านการเกษตรและความมั่นคงทางอาหารมากขึ้น ความร่วมมือเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงจึงนับเป็นเรื่องสำคัญที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนได้ในที่สุด หลายประเทศได้ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงได้ให้ความสำคัญกับเมล็ดพันธุ์และหาสถานที่เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ในระยะยาว
       สวาลบาร์ด ตั้งอยู่ระหว่างประเทศนอร์เวย์และขั้วโลกเหนือ ด้วยสภาพอากาศที่โหดร้ายจึงไม่ง่ายนักสำหรับผู้คนที่จะใช้ชีวิตอยู่ในเกาะแห่งนี้ แต่สำหรับเมล็ดพันธุ์ สภาพอากาศแบบนี้เหมาะนักในการสร้างธนาคารเมล็ดพันธุ์ เหตุผลก็คือไม่ว่าจะเกิดสงครามหรือภัยพิบัติใดๆ หรือแม้แต่สภาพอากาศของโลกใบนี้จะเปลี่ยนแปลงไปเท่าใด “คลังเมล็ดพันธุ์พืชโลกแห่งสวาลบาร์ด” แห่งนี้ ก็พร้อมรับมือกับสถานการณ์เหล่านั้นและพร้อมที่จะปกป้องเมล็ดพันธุ์ซึ่งเป็นแหล่งอาหารไว้ให้แก่ชาวโลก



       ในเดือนมีนาคม 2556 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรนอร์เวย์ และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรการดำเนินงานของคลังแห่งสวาลบาร์ด ทั้งยังได้ทรงฝากเมล็ดพันธุ์ถั่วของไทยไว้ที่คลังแห่งนี้ด้วยพระองค์เอง เมื่อเสด็จกลับประเทศไทย ได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้มูลนิธิชัยพัฒนาส่งเมล็ดพันธุ์พืชที่ผลิตโดยศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริไปที่สวาลบาร์ดเพื่อนำไปเก็บรักษาไว้

       มูลนิธิชัยพัฒนาได้ส่งเมล็ดพันธุ์ไปรอบแรกในปี 2559 ซึ่งเมล็ดพันธุ์ทั้งหมด 20 ชนิดที่ส่งไปนั้นประกอบไปด้วยเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านของไทย เช่น โหระพา ผักชี พริกขี้หนู และข้าวหอมมะลิ ต่อมาในปี 2563 มูลนิธิชัยพัฒนาได้สนองพระราชดำริโดยได้จัดส่งเมล็ดพันธุ์เป็นครั้งที่สอง ในครั้งนี้มูลนิธิชัยพัฒนาร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาได้ปรับปรุงพันธุ์พืชที่ส่งไป จำนวน 14 ชนิด เช่น ถั่วฝักยาว ผักกาดหอม กะหล่ำปลี ซึ่งล้วนเป็นพันธุ์ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ของประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้มีเมล็ดพันธุ์พืชที่มีคุณภาพสำรองไว้สำหรับอนาคต
       เมื่อใดที่ประเทศต้องประสบภัยหรืออยู่ในภาวะวิกฤตขาดแคลนอาหาร พืชเหล่านี้ล้วนเป็นพืชอาหารของคนไทย ที่นิยมรับประทานกันโดยทั่วไป สามารถนำเมล็ดไปปลูกต่อได้ บางชนิดเป็นพืชที่ได้รับการพัฒนาขึ้นให้มีคุณค่าทางโภชนาการ หรือมีลักษณะที่โด่ดเด่น เหมาะสมกับการเพาะปลูก เช่น การทนทานต่อความแห้งแล้ง การให้ผลผลิตสูง เป็นต้น

       สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงใส่พระราชหฤทัยในเรื่องของ “ความมั่นคงทางอาหาร” มาโดยตลอด ทรงให้ความสำคัญกับการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพที่พร้อมเก็บสำรองไว้ใช้ในยามวิกฤต ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทาน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2556 ใจความว่า
“...ปัจจุบันสภาวะแวดล้อมมีความแปรปรวน เกิดภัยธรรมชาติขึ้นบ่อยครั้ง สร้างความเสียหายให้แก่ผลผลิต และชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร ดังนั้น เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) และเสริมสร้างการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ศูนย์ศึกษาฯ ทุกแห่งจึงควรพิจารณาจัดทำแหล่งปลูกและเก็บสำรองเมล็ดพันธุ์พืช อาทิ เมล็ดพันธุ์ข้าว เมล็ดพันธุ์ถั่ว ธัญพืชต่างๆ และเมล็ดพันธุ์ผัก เป็นต้น เพื่อสำรองพันธุ์พืชให้แก่เกษตรกรในยามวิกฤต...”
       ยังทรงเชื่อมั่นด้วยว่าการมีเมล็ดพันธุ์พืชเก็บรักษาไว้ที่คลังแห่งสวาลบาร์ด จะทำให้คนไทยมีความมั่นใจว่า หากประเทศไทยหรือโลกของเราเกิดวิกฤตขึ้น คนไทยสามารถเดินทางไปที่สวาลบาร์ดและนำเมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้านของเราที่ได้ฝากไว้ กลับมาปลูกและขยายพันธุ์ใหม่ได้

       ด้วยพระวิสัยทัศน์และสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อีกทั้งด้วยพระเมตตาและความใส่พระราชหฤทัยต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทย เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงทางอาหารสืบต่อไปภายภาคหน้า

ขอบคุณข้อมูลจาก :
- มูลนิธิชัยพัฒนา
- สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ เขียนโดย สัตวแพทย์หญิงธนิดา หรินทรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานการปศุสัตว์ระหว่างประเทศ
- สำนักงาน กศน.