© 2025 Chaipattana. All rights reserved.
© 2025 Chaipattana. All rights reserved.
30 ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
“...มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการไปตอนแรกแป๊บเดียวก็มาถึง 30 ปีแล้ว ก็สมควรที่จะทบทวนดู เพราะไม่ทราบว่าเรื่องที่เล่าจะเล่าผิดเล่าถูก จริง ๆ ต้องช่วยกันคิด แล้วเดิมทีเรามีเอกสารต่าง ๆ ที่พิมพ์เป็นเล่ม ลงในเว็บไซต์ หรืออะไรที่เราคิดว่ารวบรวมได้ แล้วเราทำวารสารชัยพัฒนามอบให้แก่ผู้มีอุปการคุณแล้วก็ห้องสมุดตอนแรกทำปกอ่อนมันก็ขาด เลยมาสแกนเก็บไว้ ตอนนี้ในออฟฟิศเราก็มีครบแล้วซึ่งของอย่างนี้ต้องเก็บไว้ให้ครบถ้วน
เรื่องเกี่ยวกับการพัฒนานี้จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงงานเยี่ยมราษฎร ตอนแรกที่เห็นในหลาย ๆ แห่ง คือเสด็จฯ ไปทอดพระเนตร ที่พูดกันว่าเราไปเที่ยวกันแล้วก็ไปดูเผื่อมีปัญหาอะไรที่จะแก้ได้ก็แก้ไป ก็ผูกมิตรเป็นมิตรกับคนทั่ว ๆ ไป แต่ก่อนนี้ก็เป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ท่าน ก็ทรงแนะนำว่าให้หน่วยราชการต่าง ๆ ไปจัดทำ มีเรื่องที่ไปทำระบบเป็นเรื่องเป็นราว ก็เช่น การสำรวจ แก้ไขแผนที่ ซึ่งเราอาจจะเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่ไปจดปฏิบัติงานก็ต้องไปดู เดินถามกับบุคคลในพื้นที่ว่าตรงนั้นเป็นอย่างไร
บางทีแผนที่ที่ใช้อยู่ในราชการปัจจุบันก็มีปัญหา เช่น แผนที่ที่ทำจากภาพถ่ายทางอากาศจะมีส่วนที่เขียนวงไว้ว่าเมฆปกคลุม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นซึ่งตรงนี้ก็ค่อย ๆ แก้ไขไป หรือว่าบางที่เคยเห็นติดกับชายแดนมาเลเชีย ระบบที่ใช้ในมาเลเซียนี้เป็นระบบอังกฤษ ส่วนที่ไทยใช้เป็นระบบเมตริก แต่เอาตัวเลขของระบบอังกฤษไปใส่ในระบบเมตริก และเอาตัวเลขเมตริกไปใส่ในระบบอังกฤษก็วุ่น ๆ วาย ๆ กัน สรุปว่าไม่ถูก ก็ต้องแก้ไขให้พร้อม และให้เขาไปดูไปพิมพ์ใหม่ พร้อมกับเรื่องที่สำคัญมากในตอนนั้นก็คือ เรื่องน้ำ ซึ่งเรื่องนี้ทำแล้วต้องใช้งบประมาณค่อนข้างมาก จะใช้งบประมาณส่วนพระองค์ก็ไม่ค่อยไหวก็ต้องมีการสนองงบประมาณแบบปกติ
เรื่องน้ำนี้ก็เป็นเรื่องที่พูดยาก ถ้าพบแล้วเราควรจะทำอย่างไร เช่น ไม่กั้นน้ำเสียทันทีที่จะเอาน้ำมาใช้ในการเกษตรกรรม หรืออุปโภคบริโภคได้ น้ำก็จะถูกปล่อยลงทะเลไปโดยที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรก่อน เรื่องน้ำถูกปล่อยทิ้งลงในทะเลไป ก่อนนี้พระมหากษัตริย์ก่อน ๆ รู้สึกจะไม่ค่อยพอพระทัย เช่น ไปเที่ยวที่ศรีลังกาก็ไปพิพิธภัณฑ์ เห็นศิลาจารึกอยู่หลักหนึ่งสมัยเป็นพันปี หรือสองพันปีก็ไม่ทราบ แต่มีกษัตริย์องค์หนึ่งเขียนไว้ว่า ท่านทำอ่างเก็บน้ำเพื่อเก็บน้ำที่ไหลลงมาไว้ ท่านบอกว่าน้ำหยดหนึ่งก็อย่าให้ไหลลงทะเลไปโดยที่ไม่ใช้ กษัตริย์เมื่อเป็นพันปีก็ยังว่าอย่างนี้ กษัตริย์สมัยใหม่ก็ต้องว่าแบบเดียวกัน แล้วก็ต้องดูว่ากษัตริย์ใบราณท่านบังคับได้กษัตริย์สมัยใหม่ได้แต่ชักชวนเพราะสั่งใครก็ไม่ได้ แต่หลักการเดียวกันคือไม่อยากให้ปล่อยลงทะเลโดยไม่ใช้ประโยชน์
แต่ว่าในระบบงบประมาณในระบบปกตินี้บางทีทำไม่ทันหรอก เพราะฉะนั้นในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งจะมีประจำทุกปี เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปท้องสนามหลวงจะมีพระยาแรกนามาหว่านและไถไปรอบ ๆ มีวิธีหลายอย่าง และรัชกาลที่ 9 นี้เป็นรัชกาลแรก ที่เริ่มให้ทางฝ่ายกรมศิลปากรคิดว่าเวลาเดินไปนี้ควรจะมีเพลงอะไรประกอบ พอหลังจากพิธีที่ท้องสนามหลวงซึ่งจะมีการพระราชทานรางวัลแก่เกษตรกรดีเด่น แต่สมัยก่อนจะเป็นเกษตรกรผู้ทำนาที่ได้ผลสูงสุดในภาคเหนือ สูงสุดในภาคกลาง แต่ตอนหลังเขาจะกระจายไปในกิจกรรมการเกษตรต่าง ๆ พอหลังจากพิธีที่ท้องสนามหลวงแล้ว ก็จะมาที่นาส่วนพระองค์ที่ตำหนักจิตรลดา จะมีนาผืนเล็ก ๆ ที่ทรงทำไว้แล้วก็โปรดให้พระยาแรกนานี้ไปหว่านข้าว ซึ่งข้าวนั้นส่วนหนึ่งก็เคยเป็นข้าวมงคลที่เคยพระราชทานแก่เกษตรกร
แต่ก่อนนี้ก็ใช้แรงงานเด็กเอานักศึกษามานั่งกรอกมือ แต่ตอนนี้เราก็มีเครื่องที่จะกรอก แล้วเราก็สามารถให้ได้เป็นล้าน ๆ ถุง แล้วเราก็ตัดถนนไป พยายามเพื่อที่จะพัฒนาทั้งสองฟากไม่ให้มีดินถล่ม ก็ใช้วิธีต่าง ๆ เช่น ใช้หญ้าแฝกแทนหญ้าต่าง ๆ ใช้การใส่ท่อ ใช้การทำทางน้ำที่จะระบายได้ และก็มีการปลูกพืช เช่น ไม้ผลต่าง ๆ ก็เกิดโครงการ "ทางนี้มีผลผู้คนรักกัน" และก็ยังเพื่อนช่วยเพื่อนอยู่ แต่ในเรื่องพันธุ์ข้าวนี้จะทีหลังเรื่องพันธุ์ผัก เพราะว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และซับซ้อนมาก
ตอนที่เกิดเหตุภัยพิบัติดินถล่มทางเหนือของประเทศไทยนี้ แต่เดิมเราก็ขอความอนุเคราะห์ คือเราออกไปใช้แรงงาน แต่ออกไปใช้พันธุ์ข้าวจากกรมการข้าว ทีนี้ข้าวของกรมการข้าวมีใครต่อใครต้องการ ยิ่งในเวลานั้นต้องการไปพัฒนากันหลายคน แย่งเขาก็ไม่ค่อยทัน และอีกอย่างในที่ที่เราไปทำนี้ เราก็ไปร้องเพลง "รักกับพี่ดีแน่ นาดี ๆ ต้องใช้ข้าวปลูกพันธุ์ดี" เสร็จแล้วนาดี ๆ กรมพัฒนาที่ดินเขาก็ทำนาจนดี เราก็ไปหาข้าวพันธุ์ดีมาปลูกซึ่งมันก็น่าจะแค่นั้น แต่พอปลูก ปักดำลงไป ปรากฏว่าถล่มซ้ำลงมาอีก คราวนี้จะเที่ยวขอใครมันก็ลำบาก เราเลยทำเองดีกว่า แต่ก็ไม่ใช่ว่ากรรมการช่วยกันไปปลูก แต่ใช้เกษตรกรที่มีความชำนาญอยู่
ข้าวนี้ก็มีหลายพันธุ์หลายแบบก็ใช้ปลูกกันไป ส่วนที่เพาะพันธุ์สัตว์เราก็มีอยู่แล้วแห่งแรกก็คือที่ด่านซ้าย จังหวัดเลย แต่ว่าตอนนี้ก็พยายามเพิ่มที่ร่วมมือกับเกษตรกรด้วย แล้วผลผลิตก็มีมากขึ้นที่จะดำเนินการให้ประชาชน แต่ว่าอยากจะเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชอะไรก็ตาม ก็มีปัญหาหลายอย่างซึ่งเราจะต้องสู้กันไปหลายตั้งตอนนี้ เช่น มีโรคพืช โรคสัตว์ ที่เราจะต้องคอยดูวิธีการทำอย่างไรให้สะอาดที่สุด หรือแม้แต่เราไม่ได้เพาะพันธุ์ควาย แต่เราก็มีโรงเรียนสอนควายอยู่ในมูลนิธิชัยพัฒนา
มูลนิธิชัยพัฒนามีหลายอย่าง สุสานยังมีเลย แต่เราก็ไม่ได้ไปทำพิธีอะไรเอง แต่เราก็มีผลประโยชน์กับสุสานด้วยที่มีคนบริจาค แต่ว่าเรื่องของโรงเรียนสอนควาย "กาสรกสิวิทย์" นี้ ที่ตอนได้มาก็ธรรมดา ๆ แต่อยู่ต่อไปก็มีแต่น้ำโคลนเฉอะแฉะเลยนั่งคิดกันว่าโครงการในที่แบบนี้เราน่าจะทำได้ 2 กิจกรรม คือ ทำกับควาย กับอีกอย่างคือ ปลูกกระจับ แต่ก็เกิดปัญหามีควายเป็นโรคแล้วมาลงปลักของเรา ทำให้ควายที่อยู่ในปลักของเราป่วยก็เลยแย่เหมือนกัน ทีนี้ก็เป็นบทเรียนที่ต้องระวังทีละอย่างสองอย่าง
โรงเรียนสอนควายนี้ก็สอนร่วมกับคน แต่ส่วนมากพอวัดผลออกมาควายสอบได้แต่คนสอบไม่ได้ แล้วก็จะทำแบบที่เขาบอกว่าการสอบทำให้เครียดก็ไม่ได้อีก เพราะจะไม่ได้ผลตามที่เราต้องการ ถ้าไม่ได้เราจะได้รู้ว่ามีข้อขัดข้องตรงไหนเราจะได้แก้ไข บางทีมีภัยพิบัติเราก็ร่วมมือกับบุคคลอื่น ๆ เช่น ชัยพัฒนาสภากาชาด อันนี้ก็เกิดจากภัยพิบัติ และเราก็ร่วมมือกับโรงเรียน จปร. มานานมากเลย เพราะว่าเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ว่าไม่ใช่เฉพาะหน่วยราชการ หน่วยงานใหญ่ ๆ บริษัทใหญ่ ๆ ท่านก็ทรงไปขายความคิด และบริษัทนั้น ๆ มีที่ มีพนักงาน ก็ให้ทำโรงสี แล้วก็ให้ดำเนินการโรงสี ทำให้ได้ข้าวเป็นสวัสดิการให้แก่พนักงานด้วย ที่โรงเรียนนายร้อยก็โปรดว่าอย่างนั้น เราก็เลยมีโรงสีของโรงเรียนนายร้อย ซึ่งตอนแรกพระราชทานเงินยืมให้มาทำก่อน และตอนนี้โรงเรียนนายร้อยก็ถวายเงินคืนครบแล้ว
ซึ่งก็ดำเนินการไปโดยทางมูลนิธิฯ ก็ยังร่วมอยู่ เวลามีการปลูกข้าวหรือมีการเก็บเกี่ยวข้าวมีการปลูกพืชหลังนาหรือพืชอื่น ๆ ในบริเวณนั้น มีกิจกรรมนั้น ลงบันทึกให้นักเรียนนายร้อยศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการสีข้าว เรื่องการทำการเกษตร และก็การแปรรูปการเกษตร ก็เป็นความรู้ให้นักเรียนทหาร ซึ่งต่อไปถ้าปฏิบัติราชการในที่บางที่ก็อาจจะได้ใช้ความรู้นี้ในการเผยแพรให้ประชาชน และเราก็มีโครงการที่ความร่วมมือกับทหารและตำรวจในการใช้พื้นที่ของทหารตำรวจในการฝึกอบรมและมีเมล็ดพันธุ์พระราชทานให้พวกทหารที่เคยทำแล้วออกไป นอกจากอบรมแล้ว ทำแล้วเขาจะไปเป็นปราชญ์ท้องถิ่น ปราชญ์หมู่บ้าน คือทำขยายที่ออกไปในหลายหมู่บ้านมากขึ้น ทหารเองระหว่างที่ประจำการอยู่ก็ใช้เป็นการปฏิบัติการพลเรือนให้ช่วยเหลือประชาชนที่อยู่ในเขตปฏิบัติใกล้ ๆ ซึ่งโครงการเป็นที่รู้จักเขาเรียกว่า "ทหารพันธุ์ดี" จริง ๆ ทางเราไม่ได้ตั้งนะ ทหารเขาตั้งเอง แล้วก็ตามรอยเท้าพ่อ อะไรมันก็ปน ๆ กันหมด ตอนหลังก็เลยแก้ไข
เรื่องน้ำมันที่ใช้ก็มีทั้งน้ำมันปาล์ม น้ำมันเมล็ดชา และน้ำมันที่ใช้แล้วจากการทำอาหารหากนำมาใช้อีกก็อาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ทำให้ป่วยไข้แต่ว่าถ้าเอามาทำใช้กับรถ หรือใช้กับอุปกรณ์ทางการเกษตรนี้ก็จะทำให้เครื่องสะอาด และก็ใช้ได้ต่อไปอีกก็ทดลองร่วมกับทางมหาวิทยาลัย ทีนี้เรื่องชาน้ำมันอาจารย์มหาวิทยาลัยก็ถามว่ารู้จักเมล็ดชาไหม และมีสารที่อยู่ภายในเปลือกเมล็ดชานี้ใช้เป็นยาฆ่าแมลง ถ้าเราทำได้ก็จะทดแทนการนำเข้าจากประเทศจีน เราเองไม่รู้จักเลยต้องไปดูที่ประเทศจีน ซึ่งในที่สุดจีนก็ร่วมมือด้วย เราก็ทำชาน้ำมันกันเป็น 10-20 ปีแล้ว ก็ค่อย ๆ ไป บางทีก็ใช้ได้ บางทีก็มีปัญหา บางทีทำน้อยไปคนเรียกร้องจะเอาอาจจะเป็นเรื่องของการตลาดที่ต้องทำ นอกจากนั้นเราก็ขุดบ่อบาดาล ขุดสระน้ำ หรือสระน้ำของชุมชน และบางทีก็สูบน้ำ เราก็ใช้ทั้งสูบน้ำ สูบน้ำมัน แล้วเดี๋ยวนี้เขาก็ใช้โซลาร์เซลล์ ของเราก็เป็นแบบย้ายได้ด้วย สูบให้บ่อนี้เสร็จก็ย้ายไปบ่อนู้นตอนแรกก็มีคนไม่ค่อยอยากได้ เราก็เห็นใจ เพราะว่าถ้าขุดบ่อก็ต้องเสียที่ตรงนั้นไป แต่ตอนหลัง ๆ พอแล้งขึ้นมาก็จะมาเข้าคิวกันอยากได้บ่อ
ถ้าพูดถึงกังหันน้ำชัยพัฒนาก็เป็นพระราชดำริที่ทำมานาน ก็มีเป็นแบบใหม่ ๆ ขึ้นมาเรื่อย ใช้เพื่อที่จะตีน้ำให้ออกชิเจนเข้ามาทำให้น้ำสะอาดไม่เน่า และเรามีพื้นที่เพาะปลูกเป็นตัวอย่าง บางที่ก็อาจจะยังไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ แต่บางที่ที่เป็นศูนย์ใหญ่ ๆ ที่เก็บเมล็ดพืชมีการสาธิตการเพาะปลูก หากใครสนใจก็เข้าไปเรียนไปศึกษา และนอกจากศูนย์ศึกษาของ กปร. แล้วก็มาศึกษาในพื้นที่พวกนี้แล้วก็เอากลับไปทำ และพยายามเพาะปลูกโดยใช้สารเคมีให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ เพราะมันเป็นการประหยัดด้วย และสารเคมีบางอย่างจะเป็นโทษหรือเป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแล้ง เราก็อาจจัดเป็นหาอาชีพเสริมให้ เช่น ทอผ้า ซึ่งเราก็พยายามให้ทอผ้าโดยใช้สีธรรมชาติย้อม อย่างตัวครั่งนี้ไปโดนไอควันของสารฆ่าแมลง หรือสารปราบศัตรูพืชก็ร่วงกราวลงมาตายกันหมด หรือผ้าอะไรต่าง ๆ หม่อนเลี้ยงไหมก็ต้องเกณฑ์กันเองไปช่วยกันซื้อ เพราะว่าผ้าไหมทำยากและราคาค่อนข้างสูง ก็ถ้าช่วยได้ก็ช่วยกันทำ
หรืออย่างกกนี้ทอเป็นเสื่อเฉย ๆ ก็ราคาค่อนข้างต่ำ แต่ทีนี้มีการช่วยกันโดยทางมหาวิทยาลัยมาช่วยออกแบบ ส่วนการเย็บบริษัทเอกชนก็ช่วยแนะนำ ซึ่งการออกแบบก็จะมีลวดลายสวยงามประกอบกับส่วนประกอบอื่น ๆ จะดูเก๋มาก ซึ่งงานนี้เรามีวางจำหน่ายทั่วไป แต่เราก็ประสบปัญหาอีก เพราะว่ามันฮิตมากคนต้องการเยอะเราผลิตไม่ทัน เหมือนเราเป็นลูกหนี้ที่ต้องคอยวิ่งหนีลูกหนี้ที่จะเอากระเป๋า และไม่ใช่จะเอาฟรี ๆ แต่จะให้ตังค์ และให้ค่อนข้างเยอะด้วย แต่เราก็ทำของค่อนข้างช้า ฉะนั้นเราต้องพยายามแก้ไขหาคนทำเพิ่มมากขึ้น อย่างที่ศูนย์จักรพันธ์เพ็ญศิริที่ว่าเป็นที่ที่คนมาศึกษาเยอะ มีที่เชียงราย สุรินทร์ เป็นที่สะสมเมล็ดพันธุ์ต้นพืช ที่เชียงรายนี้ใช้เป็นที่อบรมและเป็นที่ท่องเที่ยว เป็นที่ศึกษา มีร้านอาหาร ที่เราเอาผักที่เราปลูกไว้มาทำกับข้าว ใคร ๆ ก็จะบอกอร่อย และมีไอศกรีม แล้วเราก็ใช้ไอทีในการศึกษาพื้นที่ขุดบ่อน้ำ เราก็จะรู้ได้ว่าที่แบบนี้บางทีที่อยู่ติด ๆ กันพอขุดบ่อน้ำที่ดีจะมีน้ำดีขึ้นมา ที่ติดกันน้ำขุ่น อีกที่น้ำไม่ขึ้นเลย เราก็จะศึกษาและวิเคราะห์ได้ว่าที่แบบไหนจะดี เราก็ใช้ข้อมูลเชิงตัวเลขและข้อมูลทางเนื้อหาด้วย ข้อมูลจากแผนที่ด้วยว่าที่ตรงไหนใครอยู่
และการทำเมล็ดพันธุ์ข้าวนี้ เราก็ต้องเข้มงวดหน่อยว่าถ้ามีข้าวแดงปนศูนย์เม็ดก็ให้ราคาสูง หนึ่งเม็ดก็ต่ำลงมา สองถึงสี่เม็ดนี้เตรียมสีขายได้แล้ว และตอนนี้เราก็กำลังทดลองอีกโครงการหนึ่งโดยใช้ไอทีพยากรณ์อากาศในช่วงที่สั้นกว่าเดิม ซึ่งตอนนี้เพิ่งทดลองก็ยังไม่ดี 100% แต่อาจจะมีดีกว่าที่มันมีอยู่ในคอมฯ หรือในมือถือ เพราะพื้นที่มันจะแคบลงไปอีกเราก็จะทำเฉพาะไป แต่มันไม่ใช่เฉพาะกลุ่มอย่างเดียว เช่น จะจัดกิจกรรมต่าง ๆ จะจัดงานแห่ หรือจัดประกวดอะไรก็จะใช้พยากรณ์อากาศอันนี้ได้
เราเคยมีอบรมหลักสูตรผู้นำไปหนึ่งชุด ตอนแรกว่าจะอบรมกันเองอย่างพวกรุ่นเก่า ๆ ก็จะอายุเยอะแล้ว อยากได้ผู้บริหารรุ่นใหม่ ๆ มาทำ เราก็ลองรับคนนอกมูลนิธิฯ มา โดยที่มีพื้นฐานต่าง ๆ กันซึ่งปรากฎว่าได้ผลดี เพราะทุกคนก็สามัคคีกัน ช่วยงานกัน ทีนี้เราก็มีร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เช่น ภัทรพัฒน์ หรือที่โรงงานชาน้ำมัน เราก็ได้น้ำมันเมล็ดชามาแล้วก็นำมาแปรรูปเป็นสิ่งต่าง ๆ หรือเช่นที่โรงพยาบาลจุฬา โครงการชัยพัฒนาประชาเกษม โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ ก็จำหน่ายของที่มีเฉพาะ และเขตพวกนี้ก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ อย่างอัมพวานี้ก็พิเศษ ในเรื่องของการทำเกี่ยวกับมะพร้าว และความร่วมมือจากต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย ลาว เวียดนาม บังกลาเทศ พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ เราก็ส่งคนไปอบรมที่เขา หรือบางทีเขาก็มาอบรมที่เรา หรือว่าเราไปทำโครงการที่เขา เขามาทำโครงการที่บ้านเรา เป็นต้น
เดิมมูลนิธิฯ ถือว่าดำเนินการอย่างรัดกุม คือมีกรรมการมาดูแล ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ แล้วก็มีคนมาตรวจก่อสร้าง การเงินก็มีการตรวจบัญชีอย่างถูกต้อง คราวนี้ก็เป็นหัวใจของการทำงานเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริจาค ผู้ร่วมมือ และผู้ได้รับความช่วยเหลือ ถึงบางทีอาจจะหวาดเสียวนิดหน่อย ที่อ่านบัญชีดูทำไมรายจ่ายมากกว่ารายได้ในหลาย ๆ เดือนที่ผ่านมา แต่บางอย่างก็ไม่ได้ซีเรียสถึงขนาดที่ว่าเราจะต้องทำโครงการน้อยลง หรือตัดงานออก เพราะจริง ๆ ยิ่งทำงานมากผู้บริจาคก็รู้สึกประทับใจที่บริจาค อีกอย่างหลักใหญ่ของท่านที่ทำคือ ไม่ได้ต้องการให้เงินงอกชนิดที่ว่ามากองอยู่ในบัญชี แต่หลักของเราคือการสร้างความสุข ความเจริญให้แก่คนไทย และพลเมืองโลก อีกเรื่องที่สังคมโลกพูดกันมากในตอนนี้คือความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งจะมั่นคงไม่มั่นคงนี้มันก็เกี่ยวกับอากาศที่เปลี่ยนแปลงหรือแปรปรวนไป ซึ่งเราก็รู้สึกว่าบางทีนี้ฝนไม่มาสักทีทั้งที่เราควรจะปักดำ ครั้นตอนที่ทุกอย่างมันผ่านไปแล้วก็ตกมาใหญ่เลยจนกระทั่งทำให้ข้าวเราเน่า ก็ต้องมาถามกันว่าเราควรจะต้องทำอย่างไร จะเลื่อนเวลาปลูกให้มันสายไป ซึ่งบางพันธุ์ก็ไม่ได้ต้องปลูกตรงนั้น และปลูกได้ปีละหนเดียว อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ขัดข้องใจอยู่
ในเรื่อง Food Security นี้ เราต้องระวัง จริง ๆ ก็เป็นเรื่องเคราะห์ดีนะ ใคร ๆ บอกว่าไม่ดีแต่เราคิดว่าดี คือเรามีเกษตรกรรายย่อยที่ยังทำงานอยู่มากกว่าที่อื่น ทำแบบพอเพียงจะกินอะไรก็ทำอย่างนั้น มันก็เลยไม่มีคนในลักษณะที่กำลังจะอดตาย หรืออาจจะมีบ้างแต่ก็น้อยมากกว่าที่อื่น ๆ ซึ่งมันเป็นเคราะห์ดี แต่ปัญหาพวกนี้เราก็ต้องค่อย ๆ คิดกันต่อไปเพราะเดี๋ยวนี้หลายคนเขาก็คิดจะปลูกแพลงก์ตอนในทะเลแล้วก็ให้มันดูดคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป หรือว่าใช้กระจกสะท้อนให้มันขึ้นกลับไปในอากาศหรือวิธีอะไรแปลก ๆ ไม่ใช่อย่างที่เราเห็น ๆ กันอยู่ หรือในโครงการเราก็มีเรื่องของที่ชาวบ้านทำกันเอง เช่น ไม่ทิ้งขยะเกลื่อนกลาด นำขยะมาใช้ใหม่ หรือขายได้ ซึ่งทุกคนก็เริ่มช่วยกันและคิดกันไป และเรื่องที่ต้องพยายามมากที่สุดคือ เรื่องเกษตรและพัฒนาคุณภาพชีวิต นอกจากวิชาชีพ เกษตรอุตสาหกรรม เราก็มีส่วนที่เราให้ทุนในด้านการศึกษาแก่นักศึกษาวิชาชีพต่าง ๆ เช่น ตอนเหตุการณ์สึนามิที่ภาคใต้เราก็ไปบูรณะโรงพยาบาล และให้ทุนนักศึกษาแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่ไปทำงานในนั้น ก็ได้หลายโรงและประสบความสำเร็จ คือเราพัฒนาจนกระทั่งดี ก็รู้สึกว่างานเราก็ครอบคลุมไปหมดทุกอย่าง
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาณบพิตร ก็ไม่เคยสั่งเสียอะไรมากมาย แต่สั่งเสียอยู่เรื่องเดียวที่เป็นเรื่องค่อนข้างจะหนักคือ "ต้องดำเนินการมูลนิธิชัยพัฒนาให้ไปได้ตลอดรอดฝั่งต่อไปไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ไม่ว่าท่านจะอยู่หรือไม่ ซึ่งก็ต้องอาศัยความช่วยเหลือความร่วมมือ ทั้งผู้ที่อยู่ในมูลนิธิฯ และผู้ที่อยู่นอกมูลนิธิฯ" มาช่วยอย่างที่รับของที่ระลึกวันนี้
ซึ่งวันนี้ก็ต้องขอขอบคุณทุก ๆ คน ที่มาถึงวันนี้ครบ 30 ปี คิดว่ายังทำงานได้ และจะต้องไม่ให้พระองค์ทรงผิดหวัง และขยายงานไปสู่สิ่งต่าง ๆ อย่างเมล็ดพันธุ์ก็ถามตามโรงเรียน ทหาร ตำรวจ ว่าใครอยากรับเมล็ดพันธุ์ ซึ่งคนที่มาสนใจมากที่สุดคือตำรวจใกล้ปลดเกษียณ ท่านคิดจะผันอาชีพใหม่ก็มาสนใจทำกับเรามาก ก็คิดว่าต่อไปเราจะได้ร่วมกับคนหลากหลายชาติมากขึ้น ก็ทำไปเถอะ ช่วย ๆ กัน ทำถวายพระองค์ท่านด้วย ก็ขอขอบคุณทุก ๆ ท่าน…”
30 ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
“...มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการไปตอนแรกแป๊บเดียวก็มาถึง 30 ปีแล้ว ก็สมควรที่จะทบทวนดู เพราะไม่ทราบว่าเรื่องที่เล่าจะเล่าผิดเล่าถูก จริง ๆ ต้องช่วยกันคิด แล้วเดิมทีเรามีเอกสารต่าง ๆ ที่พิมพ์เป็นเล่ม ลงในเว็บไซต์ หรืออะไรที่เราคิดว่ารวบรวมได้ แล้วเราทำวารสารชัยพัฒนามอบให้แก่ผู้มีอุปการคุณแล้วก็ห้องสมุดตอนแรกทำปกอ่อนมันก็ขาด เลยมาสแกนเก็บไว้ ตอนนี้ในออฟฟิศเราก็มีครบแล้วซึ่งของอย่างนี้ต้องเก็บไว้ให้ครบถ้วน
เรื่องเกี่ยวกับการพัฒนานี้จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงงานเยี่ยมราษฎร ตอนแรกที่เห็นในหลาย ๆ แห่ง คือเสด็จฯ ไปทอดพระเนตร ที่พูดกันว่าเราไปเที่ยวกันแล้วก็ไปดูเผื่อมีปัญหาอะไรที่จะแก้ได้ก็แก้ไป ก็ผูกมิตรเป็นมิตรกับคนทั่ว ๆ ไป แต่ก่อนนี้ก็เป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ท่าน ก็ทรงแนะนำว่าให้หน่วยราชการต่าง ๆ ไปจัดทำ มีเรื่องที่ไปทำระบบเป็นเรื่องเป็นราว ก็เช่น การสำรวจ แก้ไขแผนที่ ซึ่งเราอาจจะเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่ไปจดปฏิบัติงานก็ต้องไปดู เดินถามกับบุคคลในพื้นที่ว่าตรงนั้นเป็นอย่างไร
บางทีแผนที่ที่ใช้อยู่ในราชการปัจจุบันก็มีปัญหา เช่น แผนที่ที่ทำจากภาพถ่ายทางอากาศจะมีส่วนที่เขียนวงไว้ว่าเมฆปกคลุม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นซึ่งตรงนี้ก็ค่อย ๆ แก้ไขไป หรือว่าบางที่เคยเห็นติดกับชายแดนมาเลเชีย ระบบที่ใช้ในมาเลเซียนี้เป็นระบบอังกฤษ ส่วนที่ไทยใช้เป็นระบบเมตริก แต่เอาตัวเลขของระบบอังกฤษไปใส่ในระบบเมตริก และเอาตัวเลขเมตริกไปใส่ในระบบอังกฤษก็วุ่น ๆ วาย ๆ กัน สรุปว่าไม่ถูก ก็ต้องแก้ไขให้พร้อม และให้เขาไปดูไปพิมพ์ใหม่ พร้อมกับเรื่องที่สำคัญมากในตอนนั้นก็คือ เรื่องน้ำ ซึ่งเรื่องนี้ทำแล้วต้องใช้งบประมาณค่อนข้างมาก จะใช้งบประมาณส่วนพระองค์ก็ไม่ค่อยไหวก็ต้องมีการสนองงบประมาณแบบปกติ
เรื่องน้ำนี้ก็เป็นเรื่องที่พูดยาก ถ้าพบแล้วเราควรจะทำอย่างไร เช่น ไม่กั้นน้ำเสียทันทีที่จะเอาน้ำมาใช้ในการเกษตรกรรม หรืออุปโภคบริโภคได้ น้ำก็จะถูกปล่อยลงทะเลไปโดยที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรก่อน เรื่องน้ำถูกปล่อยทิ้งลงในทะเลไป ก่อนนี้พระมหากษัตริย์ก่อน ๆ รู้สึกจะไม่ค่อยพอพระทัย เช่น ไปเที่ยวที่ศรีลังกาก็ไปพิพิธภัณฑ์ เห็นศิลาจารึกอยู่หลักหนึ่งสมัยเป็นพันปี หรือสองพันปีก็ไม่ทราบ แต่มีกษัตริย์องค์หนึ่งเขียนไว้ว่า ท่านทำอ่างเก็บน้ำเพื่อเก็บน้ำที่ไหลลงมาไว้ ท่านบอกว่าน้ำหยดหนึ่งก็อย่าให้ไหลลงทะเลไปโดยที่ไม่ใช้ กษัตริย์เมื่อเป็นพันปีก็ยังว่าอย่างนี้ กษัตริย์สมัยใหม่ก็ต้องว่าแบบเดียวกัน แล้วก็ต้องดูว่ากษัตริย์ใบราณท่านบังคับได้กษัตริย์สมัยใหม่ได้แต่ชักชวนเพราะสั่งใครก็ไม่ได้ แต่หลักการเดียวกันคือไม่อยากให้ปล่อยลงทะเลโดยไม่ใช้ประโยชน์
แต่ว่าในระบบงบประมาณในระบบปกตินี้บางทีทำไม่ทันหรอก เพราะฉะนั้นในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งจะมีประจำทุกปี เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปท้องสนามหลวงจะมีพระยาแรกนามาหว่านและไถไปรอบ ๆ มีวิธีหลายอย่าง และรัชกาลที่ 9 นี้เป็นรัชกาลแรก ที่เริ่มให้ทางฝ่ายกรมศิลปากรคิดว่าเวลาเดินไปนี้ควรจะมีเพลงอะไรประกอบ พอหลังจากพิธีที่ท้องสนามหลวงซึ่งจะมีการพระราชทานรางวัลแก่เกษตรกรดีเด่น แต่สมัยก่อนจะเป็นเกษตรกรผู้ทำนาที่ได้ผลสูงสุดในภาคเหนือ สูงสุดในภาคกลาง แต่ตอนหลังเขาจะกระจายไปในกิจกรรมการเกษตรต่าง ๆ พอหลังจากพิธีที่ท้องสนามหลวงแล้ว ก็จะมาที่นาส่วนพระองค์ที่ตำหนักจิตรลดา จะมีนาผืนเล็ก ๆ ที่ทรงทำไว้แล้วก็โปรดให้พระยาแรกนานี้ไปหว่านข้าว ซึ่งข้าวนั้นส่วนหนึ่งก็เคยเป็นข้าวมงคลที่เคยพระราชทานแก่เกษตรกร
แต่ก่อนนี้ก็ใช้แรงงานเด็กเอานักศึกษามานั่งกรอกมือ แต่ตอนนี้เราก็มีเครื่องที่จะกรอก แล้วเราก็สามารถให้ได้เป็นล้าน ๆ ถุง แล้วเราก็ตัดถนนไป พยายามเพื่อที่จะพัฒนาทั้งสองฟากไม่ให้มีดินถล่ม ก็ใช้วิธีต่าง ๆ เช่น ใช้หญ้าแฝกแทนหญ้าต่าง ๆ ใช้การใส่ท่อ ใช้การทำทางน้ำที่จะระบายได้ และก็มีการปลูกพืช เช่น ไม้ผลต่าง ๆ ก็เกิดโครงการ "ทางนี้มีผลผู้คนรักกัน" และก็ยังเพื่อนช่วยเพื่อนอยู่ แต่ในเรื่องพันธุ์ข้าวนี้จะทีหลังเรื่องพันธุ์ผัก เพราะว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และซับซ้อนมาก
ตอนที่เกิดเหตุภัยพิบัติดินถล่มทางเหนือของประเทศไทยนี้ แต่เดิมเราก็ขอความอนุเคราะห์ คือเราออกไปใช้แรงงาน แต่ออกไปใช้พันธุ์ข้าวจากกรมการข้าว ทีนี้ข้าวของกรมการข้าวมีใครต่อใครต้องการ ยิ่งในเวลานั้นต้องการไปพัฒนากันหลายคน แย่งเขาก็ไม่ค่อยทัน และอีกอย่างในที่ที่เราไปทำนี้ เราก็ไปร้องเพลง "รักกับพี่ดีแน่ นาดี ๆ ต้องใช้ข้าวปลูกพันธุ์ดี" เสร็จแล้วนาดี ๆ กรมพัฒนาที่ดินเขาก็ทำนาจนดี เราก็ไปหาข้าวพันธุ์ดีมาปลูกซึ่งมันก็น่าจะแค่นั้น แต่พอปลูก ปักดำลงไป ปรากฏว่าถล่มซ้ำลงมาอีก คราวนี้จะเที่ยวขอใครมันก็ลำบาก เราเลยทำเองดีกว่า แต่ก็ไม่ใช่ว่ากรรมการช่วยกันไปปลูก แต่ใช้เกษตรกรที่มีความชำนาญอยู่
ข้าวนี้ก็มีหลายพันธุ์หลายแบบก็ใช้ปลูกกันไป ส่วนที่เพาะพันธุ์สัตว์เราก็มีอยู่แล้วแห่งแรกก็คือที่ด่านซ้าย จังหวัดเลย แต่ว่าตอนนี้ก็พยายามเพิ่มที่ร่วมมือกับเกษตรกรด้วย แล้วผลผลิตก็มีมากขึ้นที่จะดำเนินการให้ประชาชน แต่ว่าอยากจะเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชอะไรก็ตาม ก็มีปัญหาหลายอย่างซึ่งเราจะต้องสู้กันไปหลายตั้งตอนนี้ เช่น มีโรคพืช โรคสัตว์ ที่เราจะต้องคอยดูวิธีการทำอย่างไรให้สะอาดที่สุด หรือแม้แต่เราไม่ได้เพาะพันธุ์ควาย แต่เราก็มีโรงเรียนสอนควายอยู่ในมูลนิธิชัยพัฒนา
มูลนิธิชัยพัฒนามีหลายอย่าง สุสานยังมีเลย แต่เราก็ไม่ได้ไปทำพิธีอะไรเอง แต่เราก็มีผลประโยชน์กับสุสานด้วยที่มีคนบริจาค แต่ว่าเรื่องของโรงเรียนสอนควาย "กาสรกสิวิทย์" นี้ ที่ตอนได้มาก็ธรรมดา ๆ แต่อยู่ต่อไปก็มีแต่น้ำโคลนเฉอะแฉะเลยนั่งคิดกันว่าโครงการในที่แบบนี้เราน่าจะทำได้ 2 กิจกรรม คือ ทำกับควาย กับอีกอย่างคือ ปลูกกระจับ แต่ก็เกิดปัญหามีควายเป็นโรคแล้วมาลงปลักของเรา ทำให้ควายที่อยู่ในปลักของเราป่วยก็เลยแย่เหมือนกัน ทีนี้ก็เป็นบทเรียนที่ต้องระวังทีละอย่างสองอย่าง
โรงเรียนสอนควายนี้ก็สอนร่วมกับคน แต่ส่วนมากพอวัดผลออกมาควายสอบได้แต่คนสอบไม่ได้ แล้วก็จะทำแบบที่เขาบอกว่าการสอบทำให้เครียดก็ไม่ได้อีก เพราะจะไม่ได้ผลตามที่เราต้องการ ถ้าไม่ได้เราจะได้รู้ว่ามีข้อขัดข้องตรงไหนเราจะได้แก้ไข บางทีมีภัยพิบัติเราก็ร่วมมือกับบุคคลอื่น ๆ เช่น ชัยพัฒนาสภากาชาด อันนี้ก็เกิดจากภัยพิบัติ และเราก็ร่วมมือกับโรงเรียน จปร. มานานมากเลย เพราะว่าเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ว่าไม่ใช่เฉพาะหน่วยราชการ หน่วยงานใหญ่ ๆ บริษัทใหญ่ ๆ ท่านก็ทรงไปขายความคิด และบริษัทนั้น ๆ มีที่ มีพนักงาน ก็ให้ทำโรงสี แล้วก็ให้ดำเนินการโรงสี ทำให้ได้ข้าวเป็นสวัสดิการให้แก่พนักงานด้วย ที่โรงเรียนนายร้อยก็โปรดว่าอย่างนั้น เราก็เลยมีโรงสีของโรงเรียนนายร้อย ซึ่งตอนแรกพระราชทานเงินยืมให้มาทำก่อน และตอนนี้โรงเรียนนายร้อยก็ถวายเงินคืนครบแล้ว
ซึ่งก็ดำเนินการไปโดยทางมูลนิธิฯ ก็ยังร่วมอยู่ เวลามีการปลูกข้าวหรือมีการเก็บเกี่ยวข้าวมีการปลูกพืชหลังนาหรือพืชอื่น ๆ ในบริเวณนั้น มีกิจกรรมนั้น ลงบันทึกให้นักเรียนนายร้อยศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการสีข้าว เรื่องการทำการเกษตร และก็การแปรรูปการเกษตร ก็เป็นความรู้ให้นักเรียนทหาร ซึ่งต่อไปถ้าปฏิบัติราชการในที่บางที่ก็อาจจะได้ใช้ความรู้นี้ในการเผยแพรให้ประชาชน และเราก็มีโครงการที่ความร่วมมือกับทหารและตำรวจในการใช้พื้นที่ของทหารตำรวจในการฝึกอบรมและมีเมล็ดพันธุ์พระราชทานให้พวกทหารที่เคยทำแล้วออกไป นอกจากอบรมแล้ว ทำแล้วเขาจะไปเป็นปราชญ์ท้องถิ่น ปราชญ์หมู่บ้าน คือทำขยายที่ออกไปในหลายหมู่บ้านมากขึ้น ทหารเองระหว่างที่ประจำการอยู่ก็ใช้เป็นการปฏิบัติการพลเรือนให้ช่วยเหลือประชาชนที่อยู่ในเขตปฏิบัติใกล้ ๆ ซึ่งโครงการเป็นที่รู้จักเขาเรียกว่า "ทหารพันธุ์ดี" จริง ๆ ทางเราไม่ได้ตั้งนะ ทหารเขาตั้งเอง แล้วก็ตามรอยเท้าพ่อ อะไรมันก็ปน ๆ กันหมด ตอนหลังก็เลยแก้ไข
เรื่องน้ำมันที่ใช้ก็มีทั้งน้ำมันปาล์ม น้ำมันเมล็ดชา และน้ำมันที่ใช้แล้วจากการทำอาหารหากนำมาใช้อีกก็อาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ทำให้ป่วยไข้แต่ว่าถ้าเอามาทำใช้กับรถ หรือใช้กับอุปกรณ์ทางการเกษตรนี้ก็จะทำให้เครื่องสะอาด และก็ใช้ได้ต่อไปอีกก็ทดลองร่วมกับทางมหาวิทยาลัย ทีนี้เรื่องชาน้ำมันอาจารย์มหาวิทยาลัยก็ถามว่ารู้จักเมล็ดชาไหม และมีสารที่อยู่ภายในเปลือกเมล็ดชานี้ใช้เป็นยาฆ่าแมลง ถ้าเราทำได้ก็จะทดแทนการนำเข้าจากประเทศจีน เราเองไม่รู้จักเลยต้องไปดูที่ประเทศจีน ซึ่งในที่สุดจีนก็ร่วมมือด้วย เราก็ทำชาน้ำมันกันเป็น 10-20 ปีแล้ว ก็ค่อย ๆ ไป บางทีก็ใช้ได้ บางทีก็มีปัญหา บางทีทำน้อยไปคนเรียกร้องจะเอาอาจจะเป็นเรื่องของการตลาดที่ต้องทำ นอกจากนั้นเราก็ขุดบ่อบาดาล ขุดสระน้ำ หรือสระน้ำของชุมชน และบางทีก็สูบน้ำ เราก็ใช้ทั้งสูบน้ำ สูบน้ำมัน แล้วเดี๋ยวนี้เขาก็ใช้โซลาร์เซลล์ ของเราก็เป็นแบบย้ายได้ด้วย สูบให้บ่อนี้เสร็จก็ย้ายไปบ่อนู้นตอนแรกก็มีคนไม่ค่อยอยากได้ เราก็เห็นใจ เพราะว่าถ้าขุดบ่อก็ต้องเสียที่ตรงนั้นไป แต่ตอนหลัง ๆ พอแล้งขึ้นมาก็จะมาเข้าคิวกันอยากได้บ่อ
ถ้าพูดถึงกังหันน้ำชัยพัฒนาก็เป็นพระราชดำริที่ทำมานาน ก็มีเป็นแบบใหม่ ๆ ขึ้นมาเรื่อย ใช้เพื่อที่จะตีน้ำให้ออกชิเจนเข้ามาทำให้น้ำสะอาดไม่เน่า และเรามีพื้นที่เพาะปลูกเป็นตัวอย่าง บางที่ก็อาจจะยังไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ แต่บางที่ที่เป็นศูนย์ใหญ่ ๆ ที่เก็บเมล็ดพืชมีการสาธิตการเพาะปลูก หากใครสนใจก็เข้าไปเรียนไปศึกษา และนอกจากศูนย์ศึกษาของ กปร. แล้วก็มาศึกษาในพื้นที่พวกนี้แล้วก็เอากลับไปทำ และพยายามเพาะปลูกโดยใช้สารเคมีให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ เพราะมันเป็นการประหยัดด้วย และสารเคมีบางอย่างจะเป็นโทษหรือเป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแล้ง เราก็อาจจัดเป็นหาอาชีพเสริมให้ เช่น ทอผ้า ซึ่งเราก็พยายามให้ทอผ้าโดยใช้สีธรรมชาติย้อม อย่างตัวครั่งนี้ไปโดนไอควันของสารฆ่าแมลง หรือสารปราบศัตรูพืชก็ร่วงกราวลงมาตายกันหมด หรือผ้าอะไรต่าง ๆ หม่อนเลี้ยงไหมก็ต้องเกณฑ์กันเองไปช่วยกันซื้อ เพราะว่าผ้าไหมทำยากและราคาค่อนข้างสูง ก็ถ้าช่วยได้ก็ช่วยกันทำ
หรืออย่างกกนี้ทอเป็นเสื่อเฉย ๆ ก็ราคาค่อนข้างต่ำ แต่ทีนี้มีการช่วยกันโดยทางมหาวิทยาลัยมาช่วยออกแบบ ส่วนการเย็บบริษัทเอกชนก็ช่วยแนะนำ ซึ่งการออกแบบก็จะมีลวดลายสวยงามประกอบกับส่วนประกอบอื่น ๆ จะดูเก๋มาก ซึ่งงานนี้เรามีวางจำหน่ายทั่วไป แต่เราก็ประสบปัญหาอีก เพราะว่ามันฮิตมากคนต้องการเยอะเราผลิตไม่ทัน เหมือนเราเป็นลูกหนี้ที่ต้องคอยวิ่งหนีลูกหนี้ที่จะเอากระเป๋า และไม่ใช่จะเอาฟรี ๆ แต่จะให้ตังค์ และให้ค่อนข้างเยอะด้วย แต่เราก็ทำของค่อนข้างช้า ฉะนั้นเราต้องพยายามแก้ไขหาคนทำเพิ่มมากขึ้น อย่างที่ศูนย์จักรพันธ์เพ็ญศิริที่ว่าเป็นที่ที่คนมาศึกษาเยอะ มีที่เชียงราย สุรินทร์ เป็นที่สะสมเมล็ดพันธุ์ต้นพืช ที่เชียงรายนี้ใช้เป็นที่อบรมและเป็นที่ท่องเที่ยว เป็นที่ศึกษา มีร้านอาหาร ที่เราเอาผักที่เราปลูกไว้มาทำกับข้าว ใคร ๆ ก็จะบอกอร่อย และมีไอศกรีม แล้วเราก็ใช้ไอทีในการศึกษาพื้นที่ขุดบ่อน้ำ เราก็จะรู้ได้ว่าที่แบบนี้บางทีที่อยู่ติด ๆ กันพอขุดบ่อน้ำที่ดีจะมีน้ำดีขึ้นมา ที่ติดกันน้ำขุ่น อีกที่น้ำไม่ขึ้นเลย เราก็จะศึกษาและวิเคราะห์ได้ว่าที่แบบไหนจะดี เราก็ใช้ข้อมูลเชิงตัวเลขและข้อมูลทางเนื้อหาด้วย ข้อมูลจากแผนที่ด้วยว่าที่ตรงไหนใครอยู่
และการทำเมล็ดพันธุ์ข้าวนี้ เราก็ต้องเข้มงวดหน่อยว่าถ้ามีข้าวแดงปนศูนย์เม็ดก็ให้ราคาสูง หนึ่งเม็ดก็ต่ำลงมา สองถึงสี่เม็ดนี้เตรียมสีขายได้แล้ว และตอนนี้เราก็กำลังทดลองอีกโครงการหนึ่งโดยใช้ไอทีพยากรณ์อากาศในช่วงที่สั้นกว่าเดิม ซึ่งตอนนี้เพิ่งทดลองก็ยังไม่ดี 100% แต่อาจจะมีดีกว่าที่มันมีอยู่ในคอมฯ หรือในมือถือ เพราะพื้นที่มันจะแคบลงไปอีกเราก็จะทำเฉพาะไป แต่มันไม่ใช่เฉพาะกลุ่มอย่างเดียว เช่น จะจัดกิจกรรมต่าง ๆ จะจัดงานแห่ หรือจัดประกวดอะไรก็จะใช้พยากรณ์อากาศอันนี้ได้
เราเคยมีอบรมหลักสูตรผู้นำไปหนึ่งชุด ตอนแรกว่าจะอบรมกันเองอย่างพวกรุ่นเก่า ๆ ก็จะอายุเยอะแล้ว อยากได้ผู้บริหารรุ่นใหม่ ๆ มาทำ เราก็ลองรับคนนอกมูลนิธิฯ มา โดยที่มีพื้นฐานต่าง ๆ กันซึ่งปรากฎว่าได้ผลดี เพราะทุกคนก็สามัคคีกัน ช่วยงานกัน ทีนี้เราก็มีร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เช่น ภัทรพัฒน์ หรือที่โรงงานชาน้ำมัน เราก็ได้น้ำมันเมล็ดชามาแล้วก็นำมาแปรรูปเป็นสิ่งต่าง ๆ หรือเช่นที่โรงพยาบาลจุฬา โครงการชัยพัฒนาประชาเกษม โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ ก็จำหน่ายของที่มีเฉพาะ และเขตพวกนี้ก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ อย่างอัมพวานี้ก็พิเศษ ในเรื่องของการทำเกี่ยวกับมะพร้าว และความร่วมมือจากต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย ลาว เวียดนาม บังกลาเทศ พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ เราก็ส่งคนไปอบรมที่เขา หรือบางทีเขาก็มาอบรมที่เรา หรือว่าเราไปทำโครงการที่เขา เขามาทำโครงการที่บ้านเรา เป็นต้น
เดิมมูลนิธิฯ ถือว่าดำเนินการอย่างรัดกุม คือมีกรรมการมาดูแล ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ แล้วก็มีคนมาตรวจก่อสร้าง การเงินก็มีการตรวจบัญชีอย่างถูกต้อง คราวนี้ก็เป็นหัวใจของการทำงานเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริจาค ผู้ร่วมมือ และผู้ได้รับความช่วยเหลือ ถึงบางทีอาจจะหวาดเสียวนิดหน่อย ที่อ่านบัญชีดูทำไมรายจ่ายมากกว่ารายได้ในหลาย ๆ เดือนที่ผ่านมา แต่บางอย่างก็ไม่ได้ซีเรียสถึงขนาดที่ว่าเราจะต้องทำโครงการน้อยลง หรือตัดงานออก เพราะจริง ๆ ยิ่งทำงานมากผู้บริจาคก็รู้สึกประทับใจที่บริจาค อีกอย่างหลักใหญ่ของท่านที่ทำคือ ไม่ได้ต้องการให้เงินงอกชนิดที่ว่ามากองอยู่ในบัญชี แต่หลักของเราคือการสร้างความสุข ความเจริญให้แก่คนไทย และพลเมืองโลก อีกเรื่องที่สังคมโลกพูดกันมากในตอนนี้คือความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งจะมั่นคงไม่มั่นคงนี้มันก็เกี่ยวกับอากาศที่เปลี่ยนแปลงหรือแปรปรวนไป ซึ่งเราก็รู้สึกว่าบางทีนี้ฝนไม่มาสักทีทั้งที่เราควรจะปักดำ ครั้นตอนที่ทุกอย่างมันผ่านไปแล้วก็ตกมาใหญ่เลยจนกระทั่งทำให้ข้าวเราเน่า ก็ต้องมาถามกันว่าเราควรจะต้องทำอย่างไร จะเลื่อนเวลาปลูกให้มันสายไป ซึ่งบางพันธุ์ก็ไม่ได้ต้องปลูกตรงนั้น และปลูกได้ปีละหนเดียว อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ขัดข้องใจอยู่
ในเรื่อง Food Security นี้ เราต้องระวัง จริง ๆ ก็เป็นเรื่องเคราะห์ดีนะ ใคร ๆ บอกว่าไม่ดีแต่เราคิดว่าดี คือเรามีเกษตรกรรายย่อยที่ยังทำงานอยู่มากกว่าที่อื่น ทำแบบพอเพียงจะกินอะไรก็ทำอย่างนั้น มันก็เลยไม่มีคนในลักษณะที่กำลังจะอดตาย หรืออาจจะมีบ้างแต่ก็น้อยมากกว่าที่อื่น ๆ ซึ่งมันเป็นเคราะห์ดี แต่ปัญหาพวกนี้เราก็ต้องค่อย ๆ คิดกันต่อไปเพราะเดี๋ยวนี้หลายคนเขาก็คิดจะปลูกแพลงก์ตอนในทะเลแล้วก็ให้มันดูดคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป หรือว่าใช้กระจกสะท้อนให้มันขึ้นกลับไปในอากาศหรือวิธีอะไรแปลก ๆ ไม่ใช่อย่างที่เราเห็น ๆ กันอยู่ หรือในโครงการเราก็มีเรื่องของที่ชาวบ้านทำกันเอง เช่น ไม่ทิ้งขยะเกลื่อนกลาด นำขยะมาใช้ใหม่ หรือขายได้ ซึ่งทุกคนก็เริ่มช่วยกันและคิดกันไป และเรื่องที่ต้องพยายามมากที่สุดคือ เรื่องเกษตรและพัฒนาคุณภาพชีวิต นอกจากวิชาชีพ เกษตรอุตสาหกรรม เราก็มีส่วนที่เราให้ทุนในด้านการศึกษาแก่นักศึกษาวิชาชีพต่าง ๆ เช่น ตอนเหตุการณ์สึนามิที่ภาคใต้เราก็ไปบูรณะโรงพยาบาล และให้ทุนนักศึกษาแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่ไปทำงานในนั้น ก็ได้หลายโรงและประสบความสำเร็จ คือเราพัฒนาจนกระทั่งดี ก็รู้สึกว่างานเราก็ครอบคลุมไปหมดทุกอย่าง
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาณบพิตร ก็ไม่เคยสั่งเสียอะไรมากมาย แต่สั่งเสียอยู่เรื่องเดียวที่เป็นเรื่องค่อนข้างจะหนักคือ "ต้องดำเนินการมูลนิธิชัยพัฒนาให้ไปได้ตลอดรอดฝั่งต่อไปไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ไม่ว่าท่านจะอยู่หรือไม่ ซึ่งก็ต้องอาศัยความช่วยเหลือความร่วมมือ ทั้งผู้ที่อยู่ในมูลนิธิฯ และผู้ที่อยู่นอกมูลนิธิฯ" มาช่วยอย่างที่รับของที่ระลึกวันนี้
ซึ่งวันนี้ก็ต้องขอขอบคุณทุก ๆ คน ที่มาถึงวันนี้ครบ 30 ปี คิดว่ายังทำงานได้ และจะต้องไม่ให้พระองค์ทรงผิดหวัง และขยายงานไปสู่สิ่งต่าง ๆ อย่างเมล็ดพันธุ์ก็ถามตามโรงเรียน ทหาร ตำรวจ ว่าใครอยากรับเมล็ดพันธุ์ ซึ่งคนที่มาสนใจมากที่สุดคือตำรวจใกล้ปลดเกษียณ ท่านคิดจะผันอาชีพใหม่ก็มาสนใจทำกับเรามาก ก็คิดว่าต่อไปเราจะได้ร่วมกับคนหลากหลายชาติมากขึ้น ก็ทำไปเถอะ ช่วย ๆ กัน ทำถวายพระองค์ท่านด้วย ก็ขอขอบคุณทุก ๆ ท่าน…”
เรื่องเล่าของ “ดิน”
นวัตกรรมการบำบัดน้ำเสีย
กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่าง ๆ)
ภูมิสังคมแนวพระราชดำริ ที่เป็นหลักการสำคัญในการพัฒนาแต่ละพื้นที่
เรื่องเล่าของ “ดิน”
นวัตกรรมการบำบัดน้ำเสีย
กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่าง ๆ)
ภูมิสังคมแนวพระราชดำริ ที่เป็นหลักการสำคัญในการพัฒนาแต่ละพื้นที่
© 2025 Chaipattana. All rights reserved.
© 2025 Chaipattana. All rights reserved.